ReadyPlanet.com


ช่วยด้วยครับ...ด่วน!


แม่ผมต้องการที่จะเปลี่ยนไต พอดีว่าญาติห่างๆเค้ามีเลือดกรุ๊ปเดียวกันจึงจะทำการเปลี่ยนไตให้แม่ผม แล้วแม่ผมก็จะให้เงินตอบแทนเขา200000 บาท อย่างนี้ต้องเขียนหนังสือยินยอมหรือป่าวครับ และถ้าในอนาคตข้างหน้ามีปัญหา ทางฝ่ายผมจะใช้ยันกับผู้ที่คู่กรณีได้ไหม..และถ้าลูกๆของคู่กรณีเรียกร้องเงินหรือค่าเสียหายเราจะใช้หนังสือนี้ยันกับพวกลูกๆได้หรือไม่ครับ


ผู้ตั้งกระทู้ solo :: วันที่ลงประกาศ 2008-08-29 08:45:54


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1827958)

การบริจากสามารถทำได้ครับ โดยก่อนมีการผ่าตัดต้องให้ความยินยอมกับแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดให้ครับ

ส่วนเรื่องสัญญาซื้อขายไต เป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จะใช้ยันกับใครก็ไม่ได้ครับ

ส่วนเรื่องญาติของเจ้าของไตคงจะเรียกค่าเสียหายอะไรไม่ได้เพราะให้ความยินยอมกับแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดแล้ว

ถ้าตอบไม่ตรงคำถามกรุณาถามมาใหม่นะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-08-29 11:37:15


ความคิดเห็นที่ 2 (1828036)

ขอบคุณท่านมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น solo วันที่ตอบ 2008-08-29 13:57:54


ความคิดเห็นที่ 3 (1828083)

โรคไต: บริจาคไต……เป็นอะไรมั๊ย?


โดย น.พ. เมธี ลิมป์กุลวัฒนพร
ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์และโรคไต

การเตรียมตัวเพื่อบริจาคไต เป็นการเอาไตของคนปกติไปเปลี่ยนให้กับผู้ป่วยโรคไตเป็นการให้ทานที่มีอานิสงส์
มากๆ ถือว่าเป็นการเสียสละอวัยวะเพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญของชีวิตที่ผู้บริจาคไตจะ
ต้องตัดสินใจ โดยทั่วไปผู้บริจาคไตเพื่อช่วยเหลือญาติพี่น้องจะมีความสุขและภูมิใจในตัวเองสูงมาก แต่จะเกิด
วิตกกังวลว่าอาจจะเกิดผลเสียกับตนเองและบุคคลใกล้ชิด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้บริจาคไตมักจะมีชีวิตที่
ยืนยาวเนื่องจากให้ความเอาใจใส่กับสุขภาพของตนเองเป็นพิเศษ และได้มีการติดตามการรักษาระยะยาวกับ
แพทย์เป็นประจำ มีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันชัดเจนว่ามนุษย์เรามีไตข้างเดียวสามารถใช้ชีวิตปกติสุข

แพทย์จะให้ความสำคัญกับผู้บริจาคไตมาก หากพบว่าผู้บริจาคไตมีสภาพร่างกายและจิตใจไม่พร้อมจะไม่
แนะนำให้บริจาคไตเพราะนอกจากจะเป็นการทำให้คนปกติ ต้องเสี่ยงกับความเจ็บป่วยที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วยัง
เป็นการเพิ่มภาระให้บุคคลใกล้ชิดอีกด้วย ในทางปฏิบัติแพทย์จะสัมภาษณ์ ประวัติสุขภาพโดยละเอียด ได้แก่
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ประวัติพัฒนาการตั้งแต่เล็กจนโต มีการซักถามครอบ
คลุมไปถึงความสัมพันธ์ภายในบ้าน ชีวิตสังคม การศึกษา การทำงาน ประวัติทางเพศ การสมรส ความคิด
รวมทั้งการสัมภาษณ์คนใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตร เป็นต้น มีการตรวจร่างกายอย่างละเอียด
ตรวจสุขภาพจิตและตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจพิเศษเพื่อดูโครงสร้างทางกายภาพ และการทำงาน
ของไต เพื่อเป็นการยืนยันความพร้อม และความปลอดภัยของผู้บริจาคไต

แต่ … การผ่าตัดไต ถือเป็นการผ่าตัดชนิดหนึ่งชึ่งจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้

ผลแทรกซ้อนในระยะแรก

ผลแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัด การผ่าตัดปลูกถ่ายไตจะต้องมีการวางยาสลบทั้งผู้ให้และผู้รับ ภาวะ
แทรกซ้อนจากการวางยาสลบจะมีประมาณร้อยละ 0.06 ซึ่งจะพอๆ กับความเสี่ยงของสตรีมีครรภ์ที่
จะคลอดบุตร หรือผู้ป่วยที่จะผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น โดยเฉลี่ยผู้บริจาคไตจะพักอยู่ในโรงพยาบาล
ประมาณ 7 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้านอีก 2-4 สัปดาห์ สามารถทำงานเบาๆ ได้ และประมาณ 4-6
สัปดาห์ต่อมาจนกระทั่งหลังผ่าตัดประมาณ 2-3 เดือนจึงทำงานได้ในระดับเดิมก่อนผ่าตัด

ผลแทรกซ้อนที่เกิดจากการตรวจพิเศษ เอ็กซเรย์ ฉีดสี เพื่อประเมินระบบหลอดเลือดไตและระบบทาง
เดินปัสสาวะเพื่อวางแผนการผ่าตัด ซึ่งอาจจะมีการแพ้สารทึบรังสีได้ *** ความเสี่ยงที่เกิดจากการ
ผ่าตัดพบว่ามีน้อยมาก

ผลแทรกซ้อนในระยะยาว

ได้แก่ รอยแผลเป็นไม่สวย อาจจะมีการปวด ไส้เลื่อนบริเวณผ่าตัด ไตที่เหลือข้างเดียวจะมี
การทำงานทดแทน โดยไตจะขยายโตขึ้นเล็กน้อย โดยที่การทำงานของไตเป็นปกติและ
พบว่าไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไตใดๆ ในภายหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้
บริจาคไต ซึ่งก็หมายความว่า ผู้บริจาคไตจะไม่มีความผิดปกติหรือแตกต่างจากคนธรรมดา

คำถามยอดฮิต ของผู้คิดจะเปลี่ยนไต

ถาม : เปลี่ยนไต กับ ฟอกเลือด อย่างไหนดีกว่า?

ตอบ : อย่างที่รู้กันว่าการเปลี่ยนไตเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายถือ
เป็นข้อปฏิบัติสำหรับแพทย์ที่จะต้องแนะนำให้กับผู้ป่วยบางรายที่มีข้อบ่งชี้สำหรับการเปลี่ยนไต และไม่มี
ข้อห้าม แพทย์จะตอบได้ก็ต่อเมื่อพิจารณาจากปัจัยของผู้ป่วยแต่ละรายในด้านต่างๆเช่น อายุ สภาพร่างกาย
และจิตใจ รวมถึงโรคประจำตัวอื่นๆ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดอื่นๆอีกด้วย เช่นผู้ป่วยบางราย
เหมาะสำหรับที่จะรับการผ่าตัดเปลี่ยนไตแต่หาไตเปลี่ยนไม่ได้ ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายมีสุขภาพไม่แข็งแรง
มีโรคประจำตัวร้ายแรง อยากเปลี่ยนไต และญาติพี่น้องลูกหลาน ยินดีที่จะบริจาคไตให้ แต่สภาพร่างกาย
ไม่พร้อม ไม่เหมาะที่จะรับการเปลี่ยนไต ในกรณีนี้การผ่าตัดเปลี่ยนไตอาจจะเป็นอันตรายและมีโทษมาก
กว่าการฟอกเลือด

ถาม: ผู้บริจาคไตให้แก่ญาติพี่น้องทำให้อายุสั้นกว่าคนปกติจริงหรือไม่?

ตอบ: ไม่จริง จากบทความข้างต้น มนุษย์เรามีไตอยู่2 ข้าง บางคนเกิดมามีไตเพียงข้างเดียว บางคน
ประสบอุบัติเหตุ เช่นถูกรถชนทำให้ต้องเสียไตไปข้างหนึ่ง บางคนโดนแทง หรือถูกกระสุนปืนที่ไต ทำให้
เสียไตไป 1 ข้าง บุคคลเหล่านี้ถึงแม้จะมีไตเพียงข้างเดียวก็สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เหมือนคนปกติ
จะไม่มีอาการใดๆของโรคไตทั้งสิ้น ร่างกายสมบูรณ์แข็งเเรงและมีความรู้สึกเหมือนคนปกติทุกประการ
เพราะไตเพียงข้างเดียวก็สามารถรับภาระขจัดของเสียออกจากร่างกายตลอดจนทำหน้าที่อื่นๆได้เพียงพอ
ในขณะเดียวกัน ผู้บริจาคไตให้กับญาติพี่น้อง หลังจากบริจาคไตไปแล้วบุญกุศลที่ได้ชุบชีวิตใหม่กับ
ผู้ป่วยโรคไตวาย ทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้เป็นปกติสุข สามารถทำมาหาเลี้ยงครอบครัว เป็นที่พึ่ง
ของสมาชิกในครอบครัว ไม่เพียงแต่ให้ชีวิตใหม่แก่ผู้ป่วยเพียงคนเดียว ยังเป็นการช่วยให้ความหวัง
ใหม่ ชีวิตใหม่แก่ครอบครัวทั้งหมด ผู้ที่บริจาคอวัยวะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จึงเป็นบุคคลที่ควรยกย่อง
สรรเสริญจากญาติมิตร ตลอดจนสังคมตลอดไป

แหล่งข้อมูล

http://www.praram9.com/showarticle.php?essayID=72

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-08-29 15:37:58



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล