ReadyPlanet.com


เกี่ยวกับบุตร


มีบุตร 2 คน หย่ากันโดยยินยอม ตกลงเรื่องอำนาจปกครองบุตรคนละหนึ่ง บิดารับราชการ มารดาเป็นลูกจ้างเอกชนใช้สิทธิประกันสังคม ขอเรียนถามว่า

1.การใช้สิทธิเบิกเงินจากทางราชการต่างๆเช่นค่าเทอม ค่ารักษาพยาบาลของบุตรทั้ง 2 คน (บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ)จะเป็นอย่างไร

2.ความเป็นทายาทของบุตรที่อยู่ในความปกครองของมารดา ที่มีต่อบิดา เป็นอย่างไร  สิ้นสุดลงทันทีหลังจากจดทะเบียนหย่าหรือไม่

3.ถ้าบิดามีบุตรกับภรรยาคนใหม่อีก 1 คน (จดทะเบียนถูกต้อง)บุตรคนดังกล่าวจะได้รับสิทธิ หรือสวัสดิการจากบิดาอย่างไรบ้าง

ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบ...จากผู้รอคอย



ผู้ตั้งกระทู้ กร :: วันที่ลงประกาศ 2008-09-29 14:52:40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1843863)

1. สิทธิของบุตรที่เคยมีอย่างไร ก็จะมีต่อไปโดยการหย่าของบิดามารดาไม่มีผลถึงสิทธิของบุตรครับ เพราะการสิ้นสุดแห่งการสมรสมีผลระหว่างคู่สมรส แต่บุตรยังเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาเสมอ ส่วนเรื่องการใช้อำนาจปกครองเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับสิทธิของบุตรครับ

2. ไม่สิ้นสุดครับ ตามคำอธิบายตามข้อ 1 เช่นกันครับ

3. เมื่อบิดาจดทะเบียนสมรสใหม่หรือจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดานั้น ย่อมมีสิทธิและหน้าที่เหมือนกับบุตรที่เกิดจากมารดาอื่นเช่นกันครับ

มีคำถามเพิ่มเติมถามมาใหม่ครับเพราะผมอาจตอบไม่ครบถ้วนตามที่คุณอยากรู้ก็ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-09-30 10:00:36


ความคิดเห็นที่ 2 (4326665)

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7900/2561

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรลำดับที่ 4 และที่ 5 เนื่องจากจำเลยไม่มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินและรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรดังกล่าว เพราะขัดต่อ พ.ร.ฎ.เงินสวัสดิการเกี่ยวกับ
 
การศึกษาของบุตร พ.ศ.2523 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 6 ซึ่งการที่จำเลยใช้สิทธิเบิกและรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรดังกล่าวเป็นผลจากนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐกับจำเลยซึ่งเป็นข้า
 
ราชการของหน่วยงานในสังกัดของโจทก์ มิใช่นิติสัมพันธ์ในทางแพ่ง และเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยไปดังกล่าวก็มิใช่กรณีโจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่โจทก์ที่มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงินดังกล่าว
 
ทราบว่าจำเลยเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเกินสามคน ทำให้เจ้าหน้าที่โจทก์จ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรของจำเลยลำดับที่ 4 และที่ 5 เกินกว่าสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมาย จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับ
 
เงินไปยึดถือโดยไม่ชอบ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยไป จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม 
 
ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ การเรียกร้องเงินที่จำเลยได้รับไปโดยไม่ชอบดังกล่าว หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยคืนทรัพย์ในฐานลาภมิควรได้ซึ่งต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยอายุ
 
ความตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
 
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2561)
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2019-08-27 09:30:35



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล