ReadyPlanet.com


มูลหนี้


จำเลยออกเช็คฉบับแรกไปแลกเงินสดจากโจทก์ เช็คฉบับแรกมิได้ออกเพื่อชำระหนี้ จึงไม่เป็นความผิด ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน มีผลก่อให้เกิดหนี้ระหว่างจำเลยผู้ออกเช็คกับโจทก์ผู้ทรงตามจำนวนเงินในเช็คฉบับนั้นแล้วตาม ปพพ.มาตรา 914 ต่อมาจำเลยออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ถือว่าเช็คฉบับหลังออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับหลัง จำเลยจึงมีความผิดทางอาญา(อันนี้ลอกมาจากอินเตอร์เน็ต)

  แต่กรณีของข้าคล้ายกับเหตุการณ์ตัวอย่าง  ต่างกันตรงที่หลังจากเช็คเด้งครั้งแรกแล้ว  ครั้งต่อมาสามีของจำเลยมาทำหนังสือรับสภาพหนี้  เว้นวันก็นำเช็คที่สามีจำเลยเป็นคนเขียนและเซ็น  มาจ่ายชำระหนี้ให้  แล้วตอนนี้เช็คก็เด้งอีกเป็นรอบที่2เหตุการณ์นี้ตามความเห็นคุณลีนนท์ผิดอาญาหรือไม่

ถ้าเจ้าหนี้ปล่อยเงิน***้ร้อยละ10 ต่อเดือน(ซึ่งก็รู้ว่าเกินกฎหมายกำหนด)แล้วลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยร้อยละ10มาสักพักหนึ่งแล้วหยุดการชำระ หากกำหนดชำระในสัญญาคือวันที่ 30 พ.ค.2546 อยากทราบว่าเวลาเจ้าหนี้ฟ้องร้องจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ คิดจากวันไหนถึงวันไหนคะ แล้วมีโอกาสที่ลูกหนี้จะฟ้องกลับเรื่องคิดดอกเบี้ยเกินกำหนดหรือไม่ ถ้าลูกหนี้ฟ้องกลับมาเจ้าหนี้ควรตอบว่าอย่างไรให้ชนะคดีคะ ขอบคุณมากค่ะ






ผู้ตั้งกระทู้ ชนะ :: วันที่ลงประกาศ 2008-09-22 08:10:49


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1840319)

การที่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดไปจากโจทก์ เมื่อ ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่าง จำเลยกับโจทก์ตามจำนวนเงินในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 898,900 ต่อมาจำเลยออกเช็คพิพาทสองฉบับแทนเช็คฉบับเดิม จึงเป็นการที่จำเลย ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ดังกล่าว ข้างต้น เช็คที่จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็ค ที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 ฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนไม่ได้ขอให้พิพากษานับโทษจำเลย ติดต่อกัน จึงนับโทษต่อกันไม่ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษา เกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกา ก็มีอำนาจยกขึ้น วินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

 

คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษารวมกันโดยเรียกโจทก์และจำเลยทั้งสองสำนวนว่าโจทก์และจำเลยตามเดิม

โจทก์ฟ้องทั้งสองสำนวนและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4(3) จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวมสองกระทงจำคุก 2 เดือน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีนี้จำเลยฎีกาแต่ในปัญหาข้อกฎหมายในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกานั้น ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่าเดิมเมื่อปี 2531 จำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ สั่งจ่ายเงินรวม600,000 บาท เพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ เมื่อเช็คทั้งสองฉบับถึงกำหนด โจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยออกเช็คฉบับใหม่มอบให้โจทก์แทนเช็คดังกล่าว โจทก์จึงถอนฟ้อง แต่เช็คฉบับใหม่คงเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยอีกครั้งหนึ่ง จำเลยนำเงินสดมาชำระบางส่วนและออกเช็คฉบับใหม่มอบให้แทน โจทก์ถอนฟ้องอีก แต่เช็คฉบับใหม่ก็ยังเรียกเก็บเงินไม่ได้เช่นเดิมหลังจากนั้นจำเลยออกเช็คฉบับใหม่มาแลกเช็คฉบับเดิมคืนไปจากโจทก์หลายครั้ง จนถึงปี 2537 จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับแลกเช็คฉบับเดิมไปจากโจทก์อีก เมื่อถึงกำหนดโจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย และยังไม่มีข้อตกลงกับธนาคารตามเช็คและใบคืนเช็คเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ของคดีทั้งสองสำนวน จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า การกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 นั้น จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แต่เช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่ออกเพื่อแลกเปลี่ยนเช็คฉบับเดิมที่เป็นเช็คแลกเงินสดจำเลยจึงไม่มีความผิดพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า การที่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดไปจากโจทก์ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ตามจำนวนเงินในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 898, 900 ต่อมาจำเลยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับแทนเช็คฉบับเดิมดังกล่าว จึงเป็นการที่จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ดังกล่าวข้างต้น เช็คที่จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามาชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง จำเลยออกเช็ครวมสองฉบับ เมื่อเช็คแต่ละฉบับธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องโดยแยกสำนวนเป็นสองสำนวน การบรรยายฟ้องแต่ละสำนวนว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 1 ฉบับ คำขอท้ายฟ้องแต่ละสำนวนไม่ขอให้นับโทษจำเลยต่อเห็นว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนไม่ได้ขอให้พิพากษานับโทษจำเลยติดต่อกัน จึงนับโทษต่อกันไม่ได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน รวมสองกระทงจำคุก 2 เดือนจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225"

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ให้จำคุกกระทงละ 1 เดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2541

 

กรณีดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะเรียกไม่ได้

ดอกเบี้ยผิดนัดคิดตั้งแต่ผิดนัดคือ30 พ.ค. 2546 จนกว่าจะชำระเสร็จ (เท่าไรคิดเอาเองครับ)

ส่วนเรื่องลูกหนี้จะฟ้องกลับหรือไม่ ผมตอบไม่ได้หรอกครับเพราะเป็นสิทธิของลูกหนี้ ส่วนคำถามต่อเนื่องว่าถ้าโดยฟ้องกลับทำอย่างไรจะชนะคดีนั้น ขอแสดงความเห็นดังนี้ครับ

กฎหมายกำหนดการกระทำใดเป็นความผิดถ้าได้ทำความผิดจริงจะไม่ต้องรับโทษเลยหรือครับ คิดดูดีๆ

ขอสงวนสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นทางเทคนิคในการว่าความครับ

สำหรับคำถามของคุณชนะ  ผมไม่เข้าใจครับกรุณาถามมาใหม่นะครับ

ในกรณีที่มีนักกฎหมายท่านอื่นแสดงความเห็นไว้แล้ว ขอเป็นว่าผมจะของดความเห็นนะครับ เป็นการให้เกียรติ์ผู้ที่ตอบแล้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-09-22 19:50:27


ความคิดเห็นที่ 2 (1840674)

การคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา  หากลูกหนี้ได้มีการชำระมาด้วย ถือว่า มีส่วนร่วมกับเจ้าหนี้ ในการกระทำความผิดฐาน เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราครับ ลูกหนี้ไม่ถึอว่า เป็นผู้เสียหาย ที่จะมีสิทธดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ได้ครับ


ขอขอบคุณ  คุณลีนนท์เป็นอย่างสูงที่กรุณาตอบคำถามข้อที่ 1 หายสงสัยแล้ว   แต่ข้อที่ 2  ที่พิมพ์มาให้ดูข้างบนยังไม่เข้าใจ  อยากถามว่าคำถามที่ 2 ถูกต้องหรือผิด  และมีฏีกาคำพิพากษาตัวอย่างหรือไม่

ขอขอบคุณ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนะ วันที่ตอบ 2008-09-23 12:55:17



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล