ReadyPlanet.com


เคยทำร้ายร่างกายภรรยาแต่ไม่ร้ายแรงเป็นเหตุฟ้องหย่าได้มั๊ย


 เคยทำร้ายร่างกายภรรยาแต่ไม่ร้ายแรงและภรรยาเป็นคนไม่ยอมด้วยและก็ทำร้ายสามีด้วยในบางครั้งเป็นเหตุฟ้องหย่าได้มั๊ยครับ



ผู้ตั้งกระทู้ สุร :: วันที่ลงประกาศ 2013-06-24 23:48:05


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2384481)

กฎหมายระบุเหตุฟ้องหย่าไว้ในเรื่องทำร้ายร่างกายว่า - ทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ ถ้าเป็นการร้ายแรง ฟ้องหย่าได้ แต่ขนาดไหนจะเรียกว่าเป็นการร้ายแรงกฎหมายไม่ได้ขยายความไว้ แต่ศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ในทำนองว่า เป็นอันตรายแก่กายและจิตใจก็ถือว่าร้ายแรง แต่แม้ว่าไม่ร้ายแรงแต่เป็นอาจิณ ก็ถือว่าเป็นการทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

มาตรา 1516  เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนาย ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ 0859604258 วันที่ตอบ 2013-07-10 20:31:38


ความคิดเห็นที่ 2 (2384486)

 

ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้
สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ถ้าเป็นการร้ายแรงอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ แต่การที่ศาลพิพากษาลงโทษปรับเพียง 1,000 บาท แสดงว่าบาดแผลที่โจทก์ได้รับไม่เป็นอันตรายร้ายแรงอันเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(3)
http://www.peesirilaw.com/การสิ้นสุดแห่งการสมรส/ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้.html

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2013-07-10 20:43:47


ความคิดเห็นที่ 3 (2384525)

การเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
สามียกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาย่อมเป็นสิทธิของภริยาที่จะหึงหวง สามีเห็นดีเห็นชอบให้หญิงอื่นแสดงตนเทียบฐานะเสมอภริยาโดยใช้สรรพนามแทนตนว่า"แม่"ต่อบุตรทั้งสอง การที่ภริยากีดกันหลบเลี่ยงมิให้สามีพบปะบุตรจึงมีเหตุผลที่จะกระทำได้ สามีจะอ้างว่าเป็นกรณีที่ภริยากระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงไม่ได้
http://www.peesirilaw.com/การสิ้นสุดแห่งการสมรส/กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา.html

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2013-07-10 21:11:03



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล