ReadyPlanet.com


สิทธิในการดูแลบุตร


 ผมและภรรยามีบุตรด้วยกัน 1 คน ตอนนี้ก็อายุ 1ขวบ 9 เดือน โดยเราไม่ได้แต่งงานกันตามประเพณีครับ ผมได้ให้ภรรยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร เพราะผมต้องทำงานหาเงิน ให้ค่าใช้จ่ายค่านมต่างๆ รวมทั้งให้ภรรยาใช้ส่วนตัว แต่พักหลังภรรยาผมมักหนีเที่ยวกลางคืนเป็นประจำ ทิ้งลูกให้ญาติเลี้ยง  และเริ่มมีปัญหากันมาตลอด (เธอมีชู้ครับแต่ผมไม่มีหลักฐาน) ภรรยาผมเสนอขอเงิน 45000 บาท และจะมอบบุตรให้ผมแต่ผมได้ให้ไป 25000 บาท และพอจะจ่ายส่วนที่เหลือ 20000 บาท เพื่อรับบุตรมาเลี้ยง แต่ภรรยาผมกลับเรียกเพิ่มเป็น 1 แสนบาท ผมอยากได้ลูกมาอยู่กับผม ผมจะทำไงได้บ้างครับ ผมมีสิทธิที่จะฟ้องเอาลูกมาอยู่กับผมได้หรือไม่ โอกาศมีกี่เปอร์เซ็นครับ



ผู้ตั้งกระทู้ รักลูกครับ :: วันที่ลงประกาศ 2013-06-07 23:12:08


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2372188)

ตามที่เล่ามาว่าไม่ได้แต่งงานกันตามประเพณี พอสรุปได้ว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันด้วย บุตรที่เกิดมาย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดา แต่เพียงผู้เดียว การจัดงานแต่งงานตามประเพณีไม่ใช่เงื่อนไขที่กฎหมายต้องการ ไม่ว่าคุณจะจัดงานแต่งงานใหญ่โตเพียงใด หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส กฎหมายไม่รับรองว่าคุณเป็นสามี ภริยาชอบด้วยกฎหมายต่อกัน การที่คุณให้ภรรยาเลี้ยงดูบุตรไม่ทำให้ความเป็นบิดา ของคุณชอบด้วยกฎหมายขึ้นมา เนื่องจากกฎหมายกำหนดวิธีการเอาแล้วว่าเด็กที่เกิดมาจากบิดา มารดา ไม่จดทะเบียนสมรสนั้น จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมี 3 วิธี คือ 1. บิดา มารดา จดทะเบียนกันในภายหลัง 2. จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ซึ่งบุตรต้องให้ความยินยอมด้วย หากบุตรยังอายุน้อยเกินไปไม่สามารถให้ความยินยอมได้ เช่นกรณีของคุณคือ อายุเพียง 1 ปี 9 เดือน สามารถทำได้วิธีสุดท้ายคือ 3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

การที่คุณกล่าวอ้างว่า ภรรยามีชู้ ประพฤติตนไม่ดีก็ไม่ทำให้คุณมีสิทธิในทางปกครองบุตรขึ้นมาเช่นกันครับ

ภรรยาเสนอเงิน 45,000 บาท และตกลงกันจะมอบบุตรให้คุณเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะกฎหมายไม่รับรองให้ทำได้ การให้เงินดังกล่าวเป็นการให้โดยอำเภอใจ เรียกคืนไม่ได้ด้วย

แนะนำให้ฟ้องศาลครับ ให้ศาลมีคำสั่งว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนครับ

มาตรา 1457  การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น

มาตรา 1547  เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-06-17 10:09:43



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล