ReadyPlanet.com


สัญญาก่อนสมรส คืออะไร


สัญญาก่อนสมรส คืออะไร การเปลี่ยนแปลงเพิกถอนต้องทำอย่างไร และมีผลอย่างไรกับบุคคลภายนอก

 



ผู้ตั้งกระทู้ ดีน :: วันที่ลงประกาศ 2008-09-28 10:20:49


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1843041)

สัญญาก่อนสมรส การเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรส

ก่อนการสมรสกัน คู่สมรสจะทำสัญญาก่อนสมรสก็ได้ โดยกำหนดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามี ภริยา ในเรื่องทรัพย์สินได้ ซึ่งหากไม่มีสัญญาก่อนสมรส ความสัมพันธ์ในเรื่องทรัพย์สิน ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้

สินสมรสที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจจัดการได้โดยลำพัง แต่อสังหาริมทรัพย์ได้แก่บ้าน ที่ดิน คอนโด ที่เป็นการขาย จำหน่าย จำนองที่กฎหมายบังคับให้คู่สมรสจะต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง แต่สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นการได้มา คู่สมรสย่อมจัดการได้โดยลำพัง ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ในเรื่องการจัดการทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส คู่สมรสใดที่ต้องการที่จะจัดการเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์โดยลำพัง โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง จึงอาจทำได้โดยการทำสัญญาก่อนสมรส แล้วสัญญาก่อนสมรสทำได้อย่างไร ก็โดยการจดแจ้งสัญญาก่อนสมรสไว้ในทะเบียนสมรส พร้อมกันไปกับ การจดทะเบียนสมรส หรือจะทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคน แนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส พร้อมทั้งจดไว้ในทะเบียนสมรส ในขณะจดทะเบียนสมรสว่า ได้มีสัญญาดังกล่าวแนบไว้ สัญญาก่อนสมรสใดที่ตกลงกันไว้ถ้าไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนดแนบไว้ สัญญาก่อนสมรสนั้นจะตกเป็นโมฆะ ตาม มาตรา 1466 "สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็นสัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือ มิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคนแนบไว้ ท้ายทะเบียนสมรส และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียน สมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้ "

อย่างไรก็ตาม การทำสัญญาก่อนสมรส จะต้องเป็นเรื่องของการจัดทรัพย์สิน การที่จะมีข้อตกลงว่าเมื่อหย่าขาดจากกันแล้ว ให้สินสมรสทั้งหมดตกเป็นของภริยาฝ่ายเดียว โดยสามีไม่มีสิทธิในสินสมรสนั้น สัญญาก่อนสมรสที่มีเงื่อนไขดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้ เพราะไม่ใช่สัญญาที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน แต่เป็นสัญญาเกี่ยวกับ การแบ่งทรัพย์สินหลังจากการหย่า ดังนั้นเงื่อนไขดังกล่าวถึงแม้จะเขียนไว้ก่อน เป็นสัญญาก่อนสมรสในทะเบียนสมรสก็ไม่อาจใช้บังคับได้ โดยปกติสัญญาก่อนสมรส เมื่อได้ทำขึ้นตามแบบที่กฎหมายกำหนดคือ บันทึกไว้ในทะเบียนสมรส ในขณะที่มีการจดทะเบียนสมรสแล้ว จะทำให้ผูกพันคู่สมรสตลอดไป การจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสที่ทำไว้จะทำไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล และแม้จะมีข้อความในสัญญาก่อนสมรสไว้ให้สามีภริยามีสิทธิที่จะตกลงเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสได้ ข้อตกลงเช่นนี้บังคับไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรส ต้องร้องขอต่อศาลให้อนุญาตเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกันแล้วต่อไปในภายภาคหน้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด คู่สมรสฝ่ายที่เสียประโยชน์อาจถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรส โดยไม่เต็มใจก็ได้ เพื่อให้ความคุ้มครองในเรื่องดังกล่าว จึงต้องให้ศาลอนุญาตเท่านั้น ตาม มาตรา 1467 "เมื่อสมรสแล้วจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสนั้น ไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล
เมื่อได้มีคำสั่งของศาลถึงที่สุดให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสแล้ว ให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนสมรสเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส "

บุคคลภายนอกกับสัญญาก่อนสมรส

ถ้ามีบุคคลภายนอกกระทำการใดเกี่ยวกับสินสมรสของคู่สมรสแตกต่างไปจากข้อความที่ได้ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส จะทำให้การกระทำระหว่างคู่สมรสฝ่ายใดกับบุคคลภายนอกเสียไปหรือไม่ ในเรื่องนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 บัญญัติไว้ว่า “ข้อความในสัญญาก่อนสมรสไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ไม่ว่าจะได้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนโดยคำสั่งของศาลหรือไม่ก็ตาม”

ดังนั้น ถ้าบุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริต เช่น ไม่ทราบว่าได้มีการทำสัญญาก่อนสมรสกันไว้หรือทราบว่ามีสัญญาก่อนสมรสอย่างหนึ่งแต่ไม่ทราบว่าได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรสเป็นอีกอย่างหนึ่งในภายหลัง ถือว่าสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งได้มาจากการกระทำนั้นมีผลสมบูรณ์

อย่างเช่น มีสัญญาก่อนสมรสตกลงกันไว้ว่าให้สามีเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้ภริยาเป็นผู้จัดการแต่ผู้เดียว แต่บุคคลภายนอกได้เคยทำนิติกรรมเกี่ยวกับสินสมรสกับสามีแต่ผู้เดียวมาตลอด และไม่ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และต่อมาในภายหลังการเปลี่ยนแปลงแล้ว บุคคลภายนอกยังคงทำนิติกรรมร่วมกับสามีเรื่อยมา เช่นนี้ถือว่าบุคคลภายนอกทำการโดยสุจริต ถือว่านิติกรรมที่ได้กระทำทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงแล้วนั้นสมบูรณ์ ดังนั้น กรณีที่ ที่ดินและบ้านเป็นของภริยามาก่อนทำสัญญาก่อนสมรส และได้ทำสัญญาก่อนสมรสว่า สามีจะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของภริยาก็ตาม แต่การที่ภริยายินยอมให้สามีได้ลงชื่อในใบไต่สวนเพื่อขอออกโฉนดที่ดินว่าที่ดินเป็นของสามี แล้วสามีเอาที่ดินนี้ไปจำนองเอาเงินมาใช้ในกิจการของครอบครัว ถือได้ว่าผู้รับจำนองกระทำการโดยสุจริตโดยเข้าใจว่าที่ดินเป็นของสามีผู้เป็นลูกหนี้ การจำนองจึงสมบูรณ์สามารถใช้บังคับได้และย่อมผูกพันภริยาด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-09-28 11:20:32



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล