ReadyPlanet.com


ซื้อขายที่ดิน


นาง ก มีที่ดินห้าไร่ ได้โอนให้ลูกสาวคือนาง ข หลังจากนั้นนาง ข ได้แบ่งขายให้นาง ค เป็นจำนวนสองงาน แต่ก่อนโอนได้มีนาง ง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของนาง ก มาบอกนาง ค  ว่าอย่าได้ซื้อที่ดินผืนนั้นเพราะกำลังมีเรื่องฟ้องร้องกัน เหตุเพราะนาง ก ไม่ยอมชำระหนี้ หลังจากนั้นนาง ก เลยไปอธิบายให้นาง ค ฟังว่าที่ดินผืนดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหนี้ที่ค้างชำระนาง ง คือไม่ได้นำที่ดินดังกล่าวไปค้ำประกัน นาง ค เลยตกลงซื้อพร้อมโอนเรียบร้อย 


 เจ้าหนี้ของนาง ก บอกว่าจะฟ้องยึดที่ดินทั้งหมดเพราะนาง ก ได้ทำสัญญาว่าถ้าไม่สามารถชำระหนี้ได้จะยกที่ดินผืนนี้ให้นาง ง

นาง ง สามารถฟ้องยึดทรัพย์ส่วนที่นาง ข แบ่งขายได้มั้ยคะ เพราะที่นาง ค ซื้อเพราะนาง ข บอกว่าที่ดินดังกล่าวไม่มีพันธะใดๆ ในหนี้สินที่นาง ก มี อย่างนี้ นาง ค ควรจะทำอย่างไร ที่จะไม่เสียที่ดินที่ได้ซื้อมา



ผู้ตั้งกระทู้ ping :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-22 23:12:49


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1854316)

นาง ก. โอนที่ดินให้ลูกสาว ทั้ง ๆ ที่ รู้ดีว่า การโอนดังกล่าวเป็นการหนีหนี้ คือไม่ให้เจ้าหนี้มายึดทรัพย์ได้ ดังนั้นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิขอเพิกถอนได้ เพราะการโอนให้ลูกสาวเป็นการโอนให้โดยเสน่หา

เมื่อลูกสาวผู้ที่รับโอน ได้โอนที่ดินของไปให้นาง ค  ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ถ้ารับโอนไปโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอะไร

ตามข้อเท็จจริงที่ให้มา นาง ง. เจ้าหนี้มาบอกแล้วว่าที่ดินที่นาง ค. ซื้อนั้นมีปัญหาอยู่ แต่นาง ค ก็ไม่เชื่อเจ้าหนี้

ดังนี้หากเจ้าหนี้ได้ทำการฟ้องร้องขอให้เพิกถอนจริง ก็ต้องต่อสู้คดีว่า ตนเองรับโอนมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ส่วนศาลจะเชื่อหรือไม่ประการใด ก็เป็นข้อเท็จจริง

ความเห็นของผม เห็นว่า การที่นาง ค. รับโอนมาโดยรู้ว่าที่ดินที่รับโอนมานั้นมีปัญหาจึงไม่ถือว่า นาง ค รับโอนมาโดยสุจริต ครับ

ส่วนที่ นาง ก หรือ นาง ข จะบอกอย่างไรนั้นก็ไม่ทำให้การรับโอนเป็นการโอนโดยสุจริต ถ้าเจ้าหนี้พิสูจน์ได้ว่า ได้บอกกล่าว นาง ค ผู้รับโอนแล้ว

ปัญหาอยู่ที่ว่า นาง ค รับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่

มาตรา 237    เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หาท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้

มาตรา 238    การเพิกถอนดังกล่าวมาในบทมาตรา ก่อนนั้นไม่อาจกระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-23 18:49:55


ความคิดเห็นที่ 2 (1854410)

เพิ่มเติม

การเพิกถอนต้องกระทำภายใน 1 ปีครับนับแต่วันที่เจ้าหนี้ทราบ

มาตรา 240    การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้อง เมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-23 23:42:03


ความคิดเห็นที่ 3 (1854597)

นาง ก ได้โอนที่ดินให้นาง ข ซึ่งเป็นลูกสาว น่าจะเกินหนึ่งปีแล้วค่ะ

เหตุที่โอนเพราะว่านาง ก อยากเอาฉโนดที่ดินจำนองกับธนาคารเพื่อที่จะนำเงินมาชำระหนี้นาง ง

แต่เครดิตไม่ผ่าน เลยโอนให้เป็นชื่อนาง ข เพราะคิดว่านาง ข น่าจะเครดิตดีกว่า แต่ว่าก็ไม่ผ่าน

ซึ่งตามที่กล่าวมาข้างต้น เจ้าหนี้คือนาง ง ได้รับรู้ทุกอย่าง อย่างนี้นาง งก็ไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนใช่มั้ยค่ะ เพราะนาง ง ได้รับรู้เรื่องการโอนกรรมสิทธิระหว่างนาง ก และนาง ข มาตั้งแต่ต้น แต่ก็ไม่ได้ กระทำการใดๆ จนเวลาล่วงเลยมาเกินหนึ่งปี

 

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Ping วันที่ตอบ 2008-10-24 13:05:24


ความคิดเห็นที่ 4 (1854616)

นาง ก ได้โอนที่ดินให้นาง ข ซึ่งเป็นลูกสาว น่าจะเกินหนึ่งปีแล้วค่ะ

เหตุที่โอนเพราะว่านาง ก อยากเอาฉโนดที่ดินจำนองกับธนาคารเพื่อที่จะนำเงินมาชำระหนี้นาง ง

แต่เครดิตไม่ผ่าน เลยโอนให้เป็นชื่อนาง ข เพราะคิดว่านาง ข น่าจะเครดิตดีกว่า แต่ว่าก็ไม่ผ่าน

ซึ่งตามที่กล่าวมาข้างต้น เจ้าหนี้คือนาง ง ได้รับรู้ทุกอย่าง อย่างนี้นาง งก็ไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนใช่มั้ยค่ะ เพราะนาง ง ได้รับรู้เรื่องการโอนกรรมสิทธิระหว่างนาง ก และนาง ข มาตั้งแต่ต้น แต่ก็ไม่ได้ กระทำการใดๆ จนเวลาล่วงเลยมาเกินหนึ่งปี

 

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Ping วันที่ตอบ 2008-10-24 13:33:11


ความคิดเห็นที่ 5 (1854832)

มาตรา 240    การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้อง เมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น

เมื่อเจ้าหนี้รู้เหตุว่า นาง ก โอนให้นาง ข. โดยรู้ว่าตัวเอง (นาง ก.) มีหนี้ที่จะต้องชำระ ย่อมแสดงให้เห็นว่า เมื่อได้โอนกรรมสิทธิไป ไม่ว่าด้วยเหตุใด ก็เป็นการโอนไปเพื่อให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ เมื่อทราบแล้วไม่ดำเนินการเพิกถอนภายในหนึ่งปี ย่อมขาดอายุความ ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-24 21:34:50


ความคิดเห็นที่ 6 (1854890)

ขอถามต่ออีกนิดนะคะ ในเมื่อขาดอายุความการเพิกถอนแล้ว นาง ค ผู้รับโอนมา ถือว่ารับโอนมาโดยสุจริตใช่มั้ยคะ

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Ping วันที่ตอบ 2008-10-24 23:43:09


ความคิดเห็นที่ 7 (1855073)

การรับโอนมาถ้ามีการรับโอนมาโดยไม่สุจริตมาตั้งแต่แรก แม้คดีจะขาดอายุความไปแล้ว ก็ไม่ทำให้การโอนโดยไม่สุจริต กลับเป็นสุจริตได้

แต่ผู้รับโอนมีข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความครับ หมายความว่า เมื่อถูกฟ้องเพิกถอนก็ต่อสู้เรื่องอายุความ ถ้าไม่ไปศาลหรือไม่ต่อสู้คดี ศาลยกขึ้นเอง มายกฟ้องโจทก์ไม่ได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-25 15:49:10



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล