ReadyPlanet.com


การฟ้องหย่า


ดิฉันอายุ 31 ปี (ภรรยาใหม่) สามีอายุ 47 ปี เรื่องมีว่า เมื่อก่อนตอนนี้ที่คบกันทางสามี และภรรยาเก่าเค้าทะเลาะกันในเรื่องเงินทอง ตัวภรรยาเค้าก้อเลยขอหย่ามาตลอดแต่สามีดิฉันคิดว่าลูกยังเด็กเลยไม่หย่าจนทะเลาะกันเรื่องลุกต่าง ๆ หลายเรื่องจนฝ่ายสามีทนไม่โดยเฉพาะเรื่องลูกเป็นลูกสาวไม่ยอมเรียนหนังสือเอาแต่เที่ยวและอื่นๆ  จนสามีทนไม่ไหวจึงไล่ลูกออกจากบ้าน แต่สามีคิดว่าการไล่ลูกออกจากบ้าน เป้นทางเลือกที่ผิดคิดว่าถ้าลูกออกไปเผชิญข้างนอกไม่ได้และจะกลับมาอยุ่บ้านไม่ได้เลยเป็นห่วง สามีดิฉันจึงคิดออกมาเอง โดยได้เงินจากการออกจากงานมาประมาณ แสนกว่าๆ เลยให้ทางภรรยาเก่าไว้ แต่วันนั้นเค้าไม่อยู่เลยฝากแม่ภรรยาไว้ 50000 บาท และบอกแม่ภรรยาไว้ให้เลี้ยงลุกแล้วกัน และสามีดิฉันออกมาแค่เสื้อผ้า 3 ชุด และรถเก่า ๆ 1 คัน วันที่เอาเงินไปก้อตกลงว่าจะหย่า แต่ทางภรรยาเก่ากลับคำไม่ยอมก้อเลยไม่ติดต่อกันอีกเลย ส่วนเงินที่เหลือ เอาไปให้พ่อแม่สามีคนละ 15000 รวมแล้วเป็น 30000 และให้พี่น้องสามีอีก เหลือไม่เท่าไหร่เลยคิดจะค้าขายเท่านั้นที่ต่างจังหวัด จนมีเรื่องการซื้อบ้านขึ้นมาทางสามีดิฉันไดโทรไปคุยกับภรรยาเก่าว่าจะบอหย่า ทางภรรยาเก่ายอมและเคยคุยกันว่ามีอะไรจะแบ่งอีกไหม ทางสามีบอกไม่มีอะไรจะแบ่งแล้ว เค้าตกลงกัน แต่มีเหตุที่ลุกไม่ยอมทางภรรยาเก่าเค้าก้อเลยไม่ยอมหย่า เรื่องผ่านไปหลายปีมากแล้ว ทางภรรยาเก่าเค้าติดต่อไปทางบ้านสามีดิฉันว่าเมื่อไหร่จะมาหย่าซักที เค้าก้อติดต่อกลับมาว่าให้มาหย่า เพราะลุกยอมแล้ว แต่ต้องการเงิน 1 แสน ถึงจะบอมหย่าให้ ดิฉันอยากทราบว่า คนไม่ได้อยู่กัยจะ 10 ปี แล้ว เค้าสามารถที่จะเรียกร้องเงิน 1 แสนได้หรือไม่ เพราะดิฉันไม่เข้าใจว่าตอนที่คุยกันก่อนหน้านั้นได้ตกลงกันว่าไม่มีอะไรจะแบ่งแล้ว แต่เหมือนเค้าจะแกล้งว่ายังไงก้อต้องหาเงินมาให้ได้ 1 แสน ไม่งั้นก้อไปฟ้องหย่าเอา ดิฉันเลยไม่เข้าใจว่าเค้าสามารถที่จะเรียกร้องได้เพราะคำพูดที่ว่า ( เป็นผู้หญิงตัวคเดียวต้องเลี้ยงลูกคนเดียวลำบาก) ทั้งที่ตกลงให้ไปแล้ว และตอนนี้สามีดิฉันมีแต่หนี้สินแล้วจะมาเอาเงินอีก สามีดิฉันหาไม่ได้ (ดิฉันอยากถามว่าถ้าฟ้องหย่ากันจิง ๆ เค้าจะได้เงินไหมค่ะ) และถ้าไม่มีให้เค้าจะเป็นยังไงค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ kae :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-20 10:02:20


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1852638)

ลืมบอกไปค่ะ สามีดิฉันเงินเดือน แค่ 15000 ผ่อนรถก้อประมาณ 10000 ให้พ่อ 1000 พ่อแมทางดิฉัน 3000 ที่เหลือ ใช้เงินดิฉัน เงินเดือน 10000 เท่านั้นเอง เค้าจะฟ้องชนะไหมค่ะ แล้วสามรดิฉันไม่มีเงินให้เค้าจะเป้นยังไงค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-20 11:55:00


ความคิดเห็นที่ 2 (1852690)

ตอบตามที่คุณเล่ามาก็เข้าเหตุหย่าตามกฏหมายมาตรา1516 (4)ได้แล้วครับ

ปัญหาอยู่ที่ว่าหย่าแล้วใครจะเป็นผู้ปกครองบุตรตามกฎหมายมาตรา1598/38 กล่าวไว้ว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภรรยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี

ที่ภรรยาเก่าของสามีคุณบอกว่าต้องการเงิน 100,000 ถึงจะหย่าให้นั้นทางกฏหมายเรียกว่า ( ค่าอุปการะเลี้ยงดู)และสามีคุณจะต้องให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ดุลพินิจของศาลว่าจะให้ชำระเดือนละเท่าไหร่โดยศาลจะนำมาตรา1598/38 มาเป้นเหตุผลประกอบในการวินิจฉัย

ถ้าวันขึ้นศาลสามีคุณสามารถเอาเหตุผลในกระทู้ที่สองมาแถลงศาลเพื่อประกอบการวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเลี้ยงดูได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สวัสดิ์ ทีมงาน (sawaddee19-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-10-20 13:59:08


ความคิดเห็นที่ 3 (1852700)

ถามต่อนิดนึงนะค่ะ คำว่าผู้เยาว์ ถึงเมื่อไหร่ค่ะ ถึงจะไม่เรียกผู้เยาว์ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-20 14:21:35


ความคิดเห็นที่ 4 (1852705)

ขอความเข้าใจนิดนึงค่ะ และถ้าเด็กอายุ 24 ปี แล้วมีแฟนแล้วอย่างนี้

ถ้าใช้คำว่าผู้เยาว์ที่ผ่านมาหรือเปล่าถึงต้องใช้คำว่าอุปการะเลี้ยงดูค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-20 14:39:57


ความคิดเห็นที่ 5 (1852715)

มาตรา 19 บุคลย่อมพ้นจากวาภะผู้เยาว์ละบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์

มาตรา20 ผู้เยาย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448

มาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นก็ได้

ตอบ 1)เมื่ออายุยี่สิบปีบริบูรณ์

2) เมื่อทำการสมรสตามมาตรา1448ดังกล่าวครับผม

ผู้แสดงความคิดเห็น สวัสดิ์ทีมงาน วันที่ตอบ 2008-10-20 14:53:43


ความคิดเห็นที่ 6 (1852726)

ตอบ อายุ 24 ก็แสดงว่าบรรลุนิติภาวะแล้วครับแต่ก็ยังอยู่ในความหมายของคำว่า"ค่าอุปการะเลียงดูตามมาตรา1598/38 หมายความว่า ฐานะของภรรยาเก่าและบุตรนั้นยากจนตลอดจนสภาพแห่งความเป็นอยู่นั้นด้อยกว่าสามีเขาก็มีสิทธิขอค่าอุปการะเลี้ยงดูตาม1589/38ได้ครับ และส่วนนี้ก็ต้องอยู่ในดุลพินิจของศาลครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สวัสดิ์ ทีมงาน วันที่ตอบ 2008-10-20 15:08:57


ความคิดเห็นที่ 7 (1852818)

ในกรณีเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

กฎหมายกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดาและบุตรว่า บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรระหว่างที่บุตรเป็นผู้เยาว์ อยู่ หรือบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วแต่พิการ (ทุพพลภาพ) หาเลี้ยงตนเองไม่ได้

ตามที่บอกว่า บุตรอายุ 24 ปีแล้วนั้น บิดามารดาย่อมหมดหน้าที่ที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย ดังนั้นบุตรจึงฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาไม่ได้

แต่ในกรณีสามีภริยา ที่ยังไม่ได้หย่ากัน ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน และฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าอุปการะตามมาตรา 1598/38 ได้ครับ

มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควร แก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะ ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้

มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและ ฐานะของตน

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-20 18:08:39


ความคิดเห็นที่ 8 (1853592)

สรุปก้อคือ ทั้งหมดที่ตอบมาทางดิฉันต้องยอมจ่ายให้เค้าที่ทั้งที่เค้าคือภรรยาเก่าไม่ได้เลี้ยงดูบุตร แต่บุตรออกไปอยู่กับผู้ชายอื่นหลายปี เที่ยว แล้วไม่เคยกลับบ้านเลยประมาณเกือบ 5 ปี หลังจากที่สามีดิฉันได้ให้เงิน 50000 บาทกับภรรยาเก่าตั้งแต่วันนั้นเป็นการขาดกันอย่างสิ้นเชิ้ง แต่เค้าไม่ยอมหย่า เพราะถ้าเค้าไม่ยอมเค้าต้องตามหาแล้วถูกไหมค่ะ แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าการเลี้ยงดูบุตรได้อย่างไร (ขอโทษจิง ๆ นะค่ะ ไม่เข้าใจค่ะ)

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-22 07:43:10


ความคิดเห็นที่ 9 (1853690)

1. ค่าเลี้ยงดูบุตร ถ้าเขาไม่ได้เลี้ยงดู ก็เรียกไม่ได้ครับ

2. ค่าอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันตามกฎหมาย เมื่อเขายังเป็นสามีภริยากันอยู่ก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันครับ

3. คุณเป็นบุคคลภายนอกซึ่งเขาจะมาเรียกร้องอะไรจากคุณไม่ได้ แต่ที่ตอบไปทั้งหมดเป็นเรื่องระหว่างสามีภริยาและบุตร แต่คุณเป็นบุคคลภายนอกไม่ต้องจ่ายอะไรเลยครับ

3. ที่บอกว่าบุตรไปอยู่กับชายอื่น นั้นชายอื่นคือใครครับ ถ้าเป็นบิดา ไม่ใช่ชายอื่นครับ บิดามีหน้าที่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อยู่แล้วครับ

4. สามีจะให้เงินเท่าใดก็ตาม เมื่อไม่มีการหย่ากันตามกฎหมายย่อมยังมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายครับ

5. เขาจะตามหาสามีเขาหรือไม่ก็ยังเป็นสามีภริยาตามกฎหมายอยู่ เว้นแต่สามีจะเป็นผู้ฟ้องหย่าเสียเอง และอาจเป็นผู้เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากภริยาก็ได้ ส่วนศาลจะมีคำสั่งอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

ไม่เข้าใจอะไร ถามเป็นข้อ ๆ มาใหม่นะครับจะอธิบายให้ฟัง คุณถามมากว้าง ๆ ก็ตอบตามข้อเท็จจริงซึ่งคุณอาจรู้และเข้าใจเอง แต่คนอื่นอ่านแล้วอาจไม่เข้าใจประเด็นได้ทั้งหมดครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-22 11:15:16


ความคิดเห็นที่ 10 (1853713)

เข้าใจค่ะที่ตอบ แต่

1. เด็กไม่ได้อยู่กับพ่อและแม่เลย อยู่บ้านแฟนเค้าอยู่ประมาณ 5 ปี ได้ ก้อคือพอเลิกกับแฟนเค้า ก้อเข้าออกบ้านบ้าง แต่ส่วนมากจะไปอยู่กับผู้ชายอื่นที่ไม่ใช่พ่อค่ะ เพราะว่าเค้าทำตัวไม่ดีตั้งแต่อายุ 20 พ่อเค้าเลยตัดไปสนใจเลยค่ะ เพราะเคยคุยกันแล้ว แล้วยังทำอีก

2.เก๋ทราบค่ะว่าเค้ามาเอาอะไรกับเก๋ไม่ได้ แต่ที่เก๋ไม่เข้าใจก้อคือ การที่สามีภรรยาไม่ได้อยู่กัยเกินจะ 10ปี แล้ว และก้อไม่ได้เลี้ยงดูบุตรทั้งคู่ อาจมีบางที่เค้าเลิกกับแฟนแล้วกลับเข้าบ้าน แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าขอค่าเลี้ยงดูอุปการะได้อย่างไร

ขอโทษนะค่ะที่ถามมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-22 11:44:21


ความคิดเห็นที่ 11 (1853800)

1. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ได้ตอบไปแล้วใน คคห ที่ 7 แล้ว ว่า เมื่อบุตร มีอายุบรรลุนิติภาวะแล้ว บิดามารดาก็หมดหน้าที่ที่จะจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูครับ  ในกรณีเรื่องนี้จึงเป็นอันยุติ

2. ที่เขาเรียกคงไม่ได้เรียกค่าเลี้ยงดูบุตร แต่เป็นการเรียกค่าตอบแทนในการหย่าให้โดยความยินยอม หากตราบใดที่ไม่มีการหย่าตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เขาก็ยังเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ไม่ว่าจะแยกกันอยู่เป็นเวลา 20 ปีก็ตาม ในสายตาของกฎหมาย เขายังมีสิทธิและหน้าที่ต่อกัน ส่วนในทางปฏิบัติก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ

ไม่เข้าใจอย่างไรก็ถามเข้ามาใหม่นะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-22 14:10:47


ความคิดเห็นที่ 12 (1853849)

เข้าใจแล้วค่ะ แต่พี่จะให้เก๋ทำยังไงค่ะ งั้นไม่ต้องหย่าดีกว่าไหมค่ะ เพราะถ้าหย่าแล้วเค้าต้องได้เงินทั้งที่ฝั่งเค้าเป็ยคนสร้างหนี้กันเอง แล้วให้ฝั่งเก๋รับผิดชอบ อันนี้คงไม่ไหวค่ะ

พี่ช่วยบอกเก๋หน่อยได้ไหมค่ะว่าเก๋ควรทำยังไงค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-22 15:24:21


ความคิดเห็นที่ 13 (1854067)

1. ตามกฎหมายนะครับ

มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามี มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น

สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้

ถ้าสามีหรือภริยายินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตาม มาตรา 1516 (1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะ เรียกค่าทดแทนไม่ได้        

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

ดังนั้นถ้าตามกฎหมายที่ยกมาให้ดูนั้น หมายถึงคุณอาจถูกฟ้องเรียกค่าทดแทนตามกฎหมายได้เหมือนกัน แต่เขาจะฟ้องหรือไม่เป็นสิทธิของเขา

ประเด็นต่อมาเมื่อเขาฟ้องแล้วเราจะมีให้เขาหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

การดำเนินการบังคับคดี อาจไม่บรรลุเป้าหมายหากจำเลยไม่มีทรัพย์สินอะไรให้ยึดภายในสิบปี

ก็คงต่างคนต่างอยู่ไปก่อนจนกว่าเขาจะเป็นฝ่ายรุก คือเขาฟ้องเรามาก่อนก็ได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-22 22:48:32


ความคิดเห็นที่ 14 (1854471)

พี่เก๋ งง  ตกลงว่า

1. เค้าสามาถฟ้องเก๋ได้ด้วยเหรอทั้งที่เก๋คบกับสามีเก่าเค้าหลังจากเค้าแยกกันเกิน 3 ปีเค้าฟ้องเก๋ได้ด้วยเหรอค่ะ เพราะเก๋ไม่ได้เป็นชู้นะค่ะ ถ้าเก๋อยู่ตอนเค้ายังไม่แยกจากกันอันนั้นเรียกชู้ไม่ใช่เหรอค่ะ

2. ชื่อทรัพย์สิ้นที่งหมดเป็นชื่อของเก๋ เค้าจะมีส่วนได้ด้วยเหรอ ซึ่งไม่ใช่ของสามีเค้าซะหน่อย

3. อยากถามว่าพวกที่สามีเก๋ทำประกันชีวิต อบัติเหตุ และถ้าเป็นอะไรไปเค้าระบุชื่อ เก๋กับพ่อแม่เค้าเท่านั้น เค้าจะได้รับด้วยหรือเปล่า

ขอโทษนะค่ะเก๋ยังเด็กไม่ค่อยเข้าใจกฎหมาย ตอนนี้เรื่องพวกนี้ทำให้กลุ้มใจมาก ๆ เลย ไม่เป็นอันทำงานแล้วค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-24 08:18:54


ความคิดเห็นที่ 15 (1855576)

ยังไม่เห็นตอบเลยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-27 07:51:20


ความคิดเห็นที่ 16 (1856247)

พี่ค่ะยังไม่ตอบความเห็นที่ 14 เลยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-28 11:08:25


ความคิดเห็นที่ 17 (1856854)

จากความเห็นที่ 14 ข้อ 3นะค่ะ

ประกันชีวิตแบบมีเงินออมแบบนี้ เค้าสามารถที่จะเอาจากสามีเก๋ได้ไหมค่ะ เพราะว่าเค้าทำประกันแบบเงินออมรายเจ้าอ่ะค่ะ พี่หายไปไม่เห็นตอบเลยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-29 11:23:52


ความคิดเห็นที่ 18 (1857104)

ตอบตามความเห็นที่ 14

1. เข้าเหตุตามกฎหมายตามมาตรา 1516 เหตุยกย่อมหญิงอื่นฉันภริยา

อธิบายดังนี้ คือ สามีคุณยังมีทะเบียนสมรสอยู่ จึงมีฐานะที่ชายมีคู่สมรสอยู่เมื่อยกย่อมคุณเป็นภริยาอีก ดังนั้นภริยาเดิมจึงมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามเหตุที่กฎหมายบัญญัติไว้ครับ

เขาจะแยกกันอยู่30 ปี ถ้ายังมีทะเบียนสมรสอยู่ก็ยังมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันตามที่กฎหมายกำหนดครับ   ดังนั้นเมื่อมีการฟ้องหย่ากันตามมาตรา 1516(1) อีกฝ่ายหนึ่งหรือฝ่ายที่ฟ้องมีมีสิทธิเรียกค่าทดแทนตาม มาตรา 1523 ที่ได้ยกมาให้อ่านอ่านข้างบนนั้นเลย แม้ไม่ใช่ชู้ตามความหมายของคุณก็ตาม

2.  ซื้อทรัพย์ในชื่อของใครก็ตามถ้าผู้ฟ้องหรือภริยานำสืบได้ว่าเงินที่ซื้อเป็นของสามีและคุณเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ทรัพย์สินนั้นย่อมเป็นของสามีและเป็นสินสมรสครับ

3.  ผู้ที่ระบุชื่อเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์เท่านั้นเพราะไม่ใช่สินสมรสครับ

 

เหตุตอบให้ช้าเพราะกระทู้ตกขอบไปแล้วบางที่ก็ไม่เห็นครับต้องขออภัยที่ตอบช้าไปหน่อยนะครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-29 17:14:05


ความคิดเห็นที่ 19 (1857307)

พี่ค่ะ ถ้าเก๋จะให้พี่เป็นทนายฟ้องหย่า พี่คิดเงินยังไงค่ะ เพราะเก๋ดูแล้วยังไงเค้าก้อต้องแบ่งเป็นสินสมรสอยู่ดี สามีเก๋ซื้อรถและโอนเป็นชื่อเก๋เค้าก้อได้ แล้วอย่างนี้จะให้ทำยังไงค่ะ ยังไงภรรยาเก่าเค้าอยากจะได้เงินอยู่แล้วค่ะ แล้วพี่จะช่วยเก๋ได้ไหมค่ะเก๋เครียดมากเลยค่ะ เพราะตอนแรกคิดว่าช่างเถอะไม่หย่าก้ออย่า หย่า แต่อ่านตามที่พี่บอกแล้วเก๋ว่ายังไงเค้าก้อได้ เก๋เหนื่อยค่ะพี่ ทำอะไรแล้วเป็นของเรา และต้องแบ่งเป็นสินสมรสอีก ไม่ไหวค่ะ เหนื่อยเกือบตายกว่าจะผ่อนหมดแต่ละอย่าง พี่คิดเงินแพงมากไหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-30 05:26:17


ความคิดเห็นที่ 20 (1857311)

ลืมบอกไปค่ะพี่ รถที่ซื้อมีชื่อหลักเป็นชื่อสามี ชื่อรองเป็นชื่อเก๋ และแม่เก่เป็นคนค้ำประกัน อย่างนี้เค้าจะเรียกเป็นสินสมรสอีกเหรอค่ะ

อีกข้อตอนนี้เอารถเค้ากู้เพื่อเก๋เข้า รพ เป็นหนี้อีก 200000 บาท ถ้าเค้าจะฟ้องเอาจิง ๆ เค้าต้องจ่ายหนี้ด้วยกันหรือเปล่าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-30 06:23:59


ความคิดเห็นที่ 21 (1857848)

พี่ค่ะยังไม่ตอบเลยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-31 09:11:19


ความคิดเห็นที่ 22 (1858102)

1. รถยนต์ที่ยังผ่อนผู้ให้เช่าซื้อไม่ครบ  กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ จึงยังไม่เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายหรือสามีคุณ ดังนั้นจึงไม่สามารถเป็นสินสมรสได้

2. เมื่อยังไม่เป็นสินรส เขาก็คงยังไม่บังคับคดีเอากับรถ หรือถ้าเขาบังคับเอากับรถเขาก็ต้องรับผิดในหนี้นั้นด้วยเหมือนกัน เว้นแต่คุณจะร้องขัดทรัพย์ว่าเงินที่เหลือจากการขายรถยนต์นั้นคุณมีส่วนร่วมอยู่ในนั้นด้วยครับ

3. ค่าดำเนินการฟ้องหย่ากรุณาติดต่อ 085-960-4258

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-31 16:08:14


ความคิดเห็นที่ 23 (1858124)

ขอคุณมากนะค่ะพี่ทนาย ที่ตอบคำถามเด็กอย่างเก๋ไม่ทราบอะไร แค่อยากทำให้มันดีขึ้น แต่ทุกอย่างเหมือนจะแย่ลง ถ้าต้องการฟ้องหย่าจิง ๆ จะติดต่อพี่ไปนะค่ะ ต้องถามสามีก่อนค่ะว่าจะเอาไง ถ้าโทรกลับไปคุยกับเค้าแล้วยังคิดจะเอาเงินแสนอีก ก้อคงต้องฟ้องร้องหันไปค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูงนะค่ะ มีอะไรช่วยชี้แนะให้ด้วยนะค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-10-31 16:45:32


ความคิดเห็นที่ 24 (1858298)

ในสถานการณ์อย่างนี้คิดว่าเป็นฝ่ายตั้งรับจะดีกว่าครับ เมื่ออีกฝ่ายเป็นฝ่ายฟ้องหย่ามาก็ค่อยต่อสู้บางประเด็นไป

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-11-01 07:28:24


ความคิดเห็นที่ 25 (1858590)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2545

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 กำหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่าไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยด้วยแล้ว จำเลยก็ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยเช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นนอกจากที่โจทก์ระบุในคำฟ้องก็ตามทั้งนี้เพื่อให้ปัญหาการแบ่งสินสมรสเป็นอันยุติไปพร้อมกับการสิ้นสุดแห่งการสมรส

โจทก์จำเลยทะเลาะวิวาทกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้และแยกกันอยู่ตั้งแต่วันที่9 มกราคม 2536 ตลอดมาจนถึงวันฟ้องหย่าแต่การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยหาสิ้นสุดลงไม่ สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังดำรงคงอยู่ตลอดเวลาและจำเลยมีอำนาจจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ หากจำเลยใช้จ่ายเงินตราสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้จำเลยชดใช้ โดยตั้งประเด็นให้ชดใช้สินสมรสที่ขาดหายไปโดยเฉพาะเจาะจงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำนวนเงินสินสมรสในบัญชีเงินฝากที่เป็นฐานในการคิดคำนวณแบ่งปันกันให้ถือตามที่มีอยู่ในวันฟ้อง จึงชอบแล้ว

รายได้จากร้านเสริมสวยจำนวน 1,000,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการจะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย แต่จะต้องแบ่งคืนแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินยืมจำนวนนี้คืนจากผู้ยืมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องเงินจำนวนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์นำเอาเงิน 1,000,000 บาทมาคำนวณหักกลบลบหนี้ในการแบ่งสินสมรสให้แก่โจทก์จำเลยคนละกึ่งหนึ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์จึงไม่ชอบกรณีมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสไม่ชอบ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการบังคับเอากับสินสมรสที่จัดแบ่งแล้วอย่างไร จึงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246ประกอบมาตรา 142 ต้องถือว่ารายได้จากร้านเสริมสวย ยังไม่สามารถนำมาคิดคำนวณแบ่งสินสมรสเพราะยังไม่ได้รับชำระคืนจากผู้ยืม

เงิน 100,000 บาท ของจำเลยเมื่อนำมารวมกับเงินของโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านแล้ว ย่อมเปลี่ยนเป็นที่ดินและบ้านที่ซื้อมาจึงไม่มีเงินที่ต้องคืนให้จำเลยหรือโจทก์อีก

โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471(1) โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว 200,000 บาท ส่วนจำเลยลงทุน100,000 บาท กิจการร้านเสริมสวย จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุน คือ 2 ต่อ 1

ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจำเลยได้รับโอนมาภายหลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดที่จำเลยนำไปชำระนั้น จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย แต่เงินในบัญชีดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วย ซึ่งเงินรายได้ดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยและไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนไหนเป็นเงินสินสมรสได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเงินสินส่วนตัวของจำเลยเข้ามาปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่เป็นจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 วรรคท้ายว่าเงินดาวน์ดังกล่าวเป็นสินสมรสด้วยที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้จึงเป็นสินสมรสเต็มจำนวนที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง

เงินฝากในบัญชีธนาคารมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วยโดยระคนปนกันจนไม่อาจจำแนกได้ว่าแต่ละส่วนเป็นเงินเท่าใดจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเงินในบัญชีนี้เป็นสินสมรส ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนเงินในบัญชีดังกล่าวมาเปิดบัญชีเงินฝากประจำ เงินฝากในบัญชีใหม่นี้จึงเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งเช่นเดียวกันด้วย

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเงินฝากในบัญชีเงินฝากทั้งสองฉบับคงมีเงินเหลืออยู่เพียงบัญชีเดียวจำนวนเงิน 211,562.61 บาท อันเป็นเงินสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่งกันคนละครึ่ง โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีการถอนออกไปบางส่วนหลังวันฟ้องเพื่อผ่อนชำระค่าซื้อบ้าน ที่ดินรถยนต์และคอนโดมิเนียม คงเหลือเงินในบัญชีเพียง 39,169.08บาท เท่านั้นจำเลยมิได้โต้แย้งว่า เงินที่ถูกถอนออกไปนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องอย่างใดเมื่อเงินฝากในบัญชีดังกล่าวเป็นสินสมรสและการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงยังคงมีสิทธิจัดการสินสมรสในส่วนที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยโดยการถอนเงินจากธนาคารแม้หลังจากฟ้องคดีนี้แล้วได้ จึงต้องถือตามจำนวนเงินที่มีอยู่จริงตามที่โจทก์แถลงและจำเลยยอมรับโดยไม่โต้แย้งคัดค้านจะย้อนหลังไปถือเอาจำนวนเงินที่เคยมีอยู่จริงมิได้

 

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 2พฤศจิกายน 2533 ไม่มีบุตรด้วยกัน พักอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 295/43 โดยมีบุตรของโจทก์ที่เกิดจากสามีเดิม 3 คน พักอาศัยอยู่ด้วย ระหว่างอยู่ด้วยกันจำเลยประพฤติตนไม่เหมาะสมหาเรื่องทะเลาะวิวาทกับโจทก์ ด่าว่าข่มขู่บุตรของโจทก์ให้หวาดระแวงว่าจะได้รับอันตราย จำเลยไม่ประกอบอาชีพ ไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์และไม่ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในภายในบ้าน จึงเป็นภาระของโจทก์เพียงผู้เดียว เมื่อต้นปีและปลายปี 2535 จำเลยทุบตีทำร้ายบุตรของโจทก์จนได้รับบาดเจ็บ ทำให้โจทก์และบุตรเกรงกลัวว่าจะได้รับอันตรายต้องออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น ครั้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2536 จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ด้วยการลากโจทก์ลงบันไดจากชั้นสองของบ้าน ทำให้โจทก์ตกบันไดประมาณ 8 ขั้นจำเลยยังลากโจทก์ไปที่ห้องรับแขก กดให้โจทก์นอนราบ จับมือโจทก์ไขว้หลังใช้หัวเข่ากดหลังโจทก์ไว้เป็นเวลานาน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บปากแตก แก้มบวมช้ำ หน้าอกช้ำและห้อเลือด แขนและนิ้วเป็นแผล หัวเข่าแตก โจทก์ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลการกระทำของจำเลยเป็นการประพฤติชั่ว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควร เป็นการทำร้ายทรมานร่างกายและจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรงและไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์ไม่สามารถจะทนฝืนใจอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยอีกต่อไปได้ ระหว่างเป็นสามีภริยากันมีสินสมรสคือ

1. ที่ดินโฉนดเลขที่ 40928 เนื้อที่ 13 ตารางวา มีชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 262/51 ราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท จำนองไว้แก่ธนาคารกรุงเทพจำกัด ในวงเงิน 700,000 บาท

2. ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355 เนื้อที่ 2 ไร่ 3งาน 30 ตารางวา มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ราคาประมาณ 200,000 บาท

3. ที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 เนื้อที่ 17 ตารางวา มีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 81/42 หมู่ที่ 6 ราคาประมาณ 2,000,000 บาท จำนองไว้แก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขานนทบุรี วงเงิน 1,400,000 บาท

4. ห้องชุดของบริษัทสงวนพัฒนากิจก่อสร้าง จำกัด อาคาร เอ ชั้นที่ 2 ห้องเลขที่27, 28, 31 และ 32 บนโฉนดที่ดินเลขที่ 28439 ถึง 28442 ราคาห้องละ 300,000 บาทรวมเป็นเงิน 1,200,000 บาท มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนองไว้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำกัด และธนาคารทหารไทย จำกัด ในวงเงินห้องละ 275,000 บาท

5. รถยนต์หมายเลขทะเบียน 6ว-3065 กรุงเทพมหานคร ราคาประมาณ 500,000บาท มีชื่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน จำกัด เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำเลยเป็นผู้ใช้สิทธิครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อ และผ่อนชำระค่าเช่าซื้องวดละ 13,995 บาท

6. เงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขานนทบุรี บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 218103508 3 จำนวนเงิน 15,259.18 บาท และบัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 2182 22645 1จำนวนเงิน 238,335.41 บาท มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของบัญชี

7. เงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาบางโพ บัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 033 303613 4 จำนวนเงินประมาณ 50,000 บาท มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของบัญชี

สินสมรสดังกล่าวคิดเป็นเงินรวม 5,703,594.59 บาท โจทก์มีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่งเป็นเงินประมาณ 2,851,797.30 บาท กับแบ่งความรับผิดในหนี้สินกึ่งหนึ่งเช่นกัน ขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา ให้แบ่งสินสมรสแก่โจทก์และจำเลยในอัตราส่วนเท่ากันคนละ 2,851,797.30 บาท กับแบ่งความรับผิดในหนี้สินต่าง ๆ ของสินสมรสในอัตราส่วนเท่ากัน

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ตั้งแต่ปี 2531ต่อมาจึงได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2533 ระหว่างอยู่กินด้วยกันจำเลยประพฤติตัวเป็นสามีที่ดี ให้ความรักอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรของโจทก์ตลอดมาจำเลยไม่เคยทุบตีบุตรของโจทก์จนได้รับบาดเจ็บ เพียงแต่อบรมตักเตือนบุตรของโจทก์ที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม แต่บุตรของโจทก์กลับด่าและจะทำร้ายจำเลย จำเลยจึงใช้ไม้เรียวตีทำโทษไป 3 ที โดยไม่มีเจตนาทำร้าย การที่โจทก์พาบุตรไปพักอาศัยอยู่ที่อื่นเป็นความประสงค์ของโจทก์ไม่ใช่เพราะเกรงกลัวจำเลย สำหรับเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์นั้นไม่เป็นความจริงจำเลยเพียงต้องการดูบัญชีรายได้แต่โจทก์ไม่ยินยอมได้ด่าว่าและจะเข้าทำร้ายจำเลย จำเลยจึงปัดป้องอันเป็นการป้องกันตัว โดยไม่มีเจตนาทำร้ายโจทก์ จำเลยไม่เคยทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรหรือประพฤติชั่ว จึงไม่มีเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายระหว่างอยู่กินด้วยกันตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสตลอดมา โจทก์และจำเลยมีทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้หลายประการคือ

1. ที่ดินโฉนดเลขที่ 40928 พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 262/51 รวมราคาทั้งสิ้นประมาณ 1,500,000 บาท

2. ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355 ราคาประเมิน200,000 บาท

3. ที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 เนื้อที่ 17 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างราคา1,780,000 บาท และจำเลยได้นำเงินสินส่วนตัวชำระเป็นค่าจองและเงินดาวน์เป็นเงิน530,000 บาท จึงเป็นราคาที่ดินสินสมรสเพียง 1,250,000 บาท

4. ห้องชุดเลขที่ 327/446, 327/447, 327/450 และ 327/451 ชั้น 2 อาคารเอตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 28412 ราคาห้องละ 275,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,100,000บาท จดทะเบียนจำนองสองห้องแรกแก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำกัดและสองห้องหลังแก่ธนาคารทหารไทย จำกัด ในวงเงิน 360,000 บาท จำเลยเป็นผู้ออกเงินสินส่วนตัวชำระค่ามัดจำและเงินดาวน์เป็นเงิน 181,200 บาท คงเหลือสินสมรส จำนวนเพียง 918,800 บาท

5. รถยนต์หมายเลขทะเบียน 6ว-3065 กรุงเทพมหานคร ราคาประมาณ 500,000บาท จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อโดยชำระค่าเช่าซื้องวดละ 13,995 บาท จึงเป็นสินสมรสเฉพาะส่วนที่ได้ผ่อนชำระค่างวดและเงินดาวน์เป็นเงินประมาณ 300,000 บาท โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งจากราคารถทั้งคัน จำนวน 500,000 บาท

6. เงินรายได้จากร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครองที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน เป็นเงิน 1,000,000 บาท ซึ่งอยู่ที่โจทก์

7. ที่ดินโฉนดเลขที่ 40964 เนื้อที่ 15 ตารางวา มีชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์พร้อมสิ่งปลูกสร้าง คืออาคารเลขที่ 295/43 มีราคาประมาณ 1,500,000 บาท

8. เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางพลัด บัญชีเลขที่ 1840205346และ 1843025618 จำนวนเงิน 300,000 บาท และ 130,000 บาท ตามลำดับ มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชี

9. กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง ชั้นที่ 4 อาคารมาบุญครองเลขที่ 444 เช่าพื้นที่ดำเนินกิจการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2535 ถึงวันที่ 30 กันยายน2538 มีชื่อโจทก์เป็นผู้เช่าและประกอบการมีรายได้เดือนละประมาณ 300,000 บาทหากขายกิจการและสิทธิการเช่าจะได้ราคาไม่ต่ำกว่า 2,000,000 บาท

10. กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขาหลักสี่พลาซ่า ชั้นที่ 3 อาคารหลักสี่พลาซ่า เช่าพื้นที่ดำเนินกิจการตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2534 ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2537เมื่อสิ้นสุดสัญญา ผู้ให้เช่ายินยอมต่อสัญญาเช่าอีก 3 ปี มีชื่อโจทก์เป็นผู้เช่าและจำเลยเป็นผู้ประกอบการ หากขายกิจการและสิทธิการเช่าจะได้ราคาไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท

สำหรับเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาบางโพ บัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 033 3303613 4 และสาขานนทบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 2181 508 3 เป็นสินส่วนตัวของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่ง ส่วนเงินฝากธนาคารกสิกรไทย สาขานนทบุรีบัญชีประเภทออมทรัพย์เลขที่ 218 2 22655 1 เป็นเงินที่ได้ใช้จ่ายชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์และหนี้เงินกู้ที่โจทก์และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกัน และใช้จ่ายในกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์สาขาหลักสี่พลาซ่าหมดไปแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่ง รวมสินสมรสทั้งสิ้นเป็นเงินประมาณ 10,098,800 บาท จำเลยจึงมีสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวกึ่งหนึ่งขอให้ยกฟ้อง แต่หากศาลพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน ขอให้แบ่งสินสมรสแก่โจทก์และจำเลยในอัตราเท่า ๆ กัน เป็นเงินคนละ 5,049,400 บาท กับแบ่งความรับผิดในหนี้สินเท่า ๆ กันด้วย

โจทก์ให้การฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่มีสิทธิขอแบ่งทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันและสินสมรสตามคำให้การ เพราะจำเลยไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องขอหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาอย่างไรก็ตามทรัพย์สินที่จำเลยระบุในคำให้การและฟ้องแย้งมีจำนวนและมูลค่าไม่ถูกต้องกล่าวคือเงินสดและเงินฝากธนาคารรายการทรัพย์สินข้อ 6 และ ข้อ 8 เป็นเงินส่วนตัวของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนสมรส ที่ดินโฉนดเลขที่ 40964 พร้อมสิ่งปลูกสร้างตามรายการทรัพย์สิน ข้อ 7 เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ใช้เงินส่วนตัวซื้อมาก่อนสมรส และมีราคาไม่เกิน1,000,000 บาท กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ทั้งสองสาขา ตามรายการทรัพย์สินข้อ 9และ ข้อ 10 เป็นกิจการส่วนตัวของโจทก์ที่ได้มาก่อนสมรส จำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หากขายและโอนสิทธิการเช่าจะได้ราคาไม่เกินแห่งละ 500,000 บาท ทั้งกิจการดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นของโจทก์แล้ว ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 ตามรายการทรัพย์สินข้อ 3 มีราคาประมาณ 2,000,000 บาท ไม่ใช่ 1,780,000 บาท ทั้งเงินจองและเงินดาวน์ก็เป็นของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว สำหรับห้องชุดตามรายการทรัพย์สินข้อ 4 เป็นห้องชุดเดียวกับที่โจทก์ระบุในฟ้อง มีราคาห้องละไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท ทั้งเงินจองและเงินดาวน์ก็เป็นของโจทก์เช่นกัน ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ระหว่างการพิจารณาคู่ความรับกันว่า เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 40928 และที่ดินตามหนังสือรับรองการใช้ประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355 เป็นสินสมรส ส่วนรถยนต์หมายเลขทะเบียน 6 ว.3065 กรุงเทพมหานคร มีมูลค่าสินสมรสตามค่างวดที่ชำระไปแล้ว 300,000 บาท สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 มีราคา 2,000,000 บาท ห้องชุด4 ห้อง มีราคาแท้จริงรวม 1,100,000 บาท และอยู่ในโฉนดเลขที่ 28412 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 40964 มีราคา 1,500,000 บาท กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์สาขาหลักสี่พลาซ่ามีสิทธิการเช่าที่จะขายได้ 500,000 บาท

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยจำนวน 2,366,881.04 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จ กับให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 40928 และ 40964กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยครึ่งหนึ่งและให้จำเลยแบ่งที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355 จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างและห้องชุดของบริษัทสงวนพัฒนากิจก่อสร้าง จำกัด อาคารเอ ห้องเลขที่ 327/446, 327/447, 327/450 และ 327/451 ให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง การแบ่งที่ดินและห้องชุดดังกล่าว ให้โจทก์และจำเลยตกลงแบ่งกันเองก่อน หากตกลงกันไม่ได้ให้นำที่ดินและห้องชุดขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันตามส่วนค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยจำนวน 492,721.28บาท ให้โจทก์แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 40928 พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรส ที่ดินโฉนดเลขที่ 40964 พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยให้แก่จำเลยครึ่งหนึ่งให้จำเลยแบ่งที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355จังหวัดกาฬสินธุ์ และที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างและห้องชุดรวม 4 ห้อง ซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ให้แบ่งรถยนต์เป็นจำนวนเงินตามราคาที่ชำระแล้วครึ่งหนึ่งคือ 150,000 บาท แก่โจทก์ ให้แบ่งกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง ตามสัดส่วนที่ลงทุนให้โจทก์ 2 ส่วน จำเลย 1 ส่วน การแบ่งกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ กับ การแบ่งที่ดินและห้องชุดให้โจทก์และจำเลยตกลงแบ่งกันเองก่อน หากตกลงกันไม่ได้ ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน คำขอให้แบ่งทรัพย์อื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 2พฤศจิกายน 2533 ตามใบสำคัญการสมรสเอกสารหมาย จ.3 ไม่มีบุตรด้วยกัน สำหรับปัญหาเรื่องเหตุฟ้องหย่าเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา คงมีปัญหาแต่เฉพาะเรื่องการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาโดยมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า จำเลยมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสอื่นนอกจากสินสมรสที่โจทก์ระบุในคำฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์อ้างว่า จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสอื่นนอกจากสินสมรสที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ต้องไปฟ้องขอแบ่งในฐานะเป็นกรรมสิทธิ์รวมในอีกคดีหนึ่งต่างหาก เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 กำหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่าไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย หรือหย่าโดยคำพิพากษาของศาล โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่คู่หย่าจะแยกจากกันไปตั้งครอบครัวของตนขึ้นใหม่ ฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยด้วยแล้วจำเลยก็ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยเช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นนอกจากที่โจทก์ระบุในคำฟ้องก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้ปัญหาการแบ่งสินสมรสเป็นอันยุติไปพร้อมกับการสิ้นสุดแห่งการสมรสด้วยการหย่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องแย้งของแบ่งสินสมรสอื่นนอกจากสินสมรสที่โจทก์ระบุในคำฟ้องนั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปเรื่องการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย ทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลยที่จัดแบ่งเป็นที่ยุติแล้ว (1) ที่ดินโฉนดเลขที่ 40928กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรส แบ่งคนละครึ่ง และ (2) ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355 จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นสินสมรสแบ่งกันคนละครึ่ง คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเรื่องการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย ตามฎีกาของโจทก์และฎีกาของจำเลยเริ่มจากรายการแรก เงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขานนทบุรี บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 2181 035083 และบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 2182 2 2645 1 ซึ่งเป็นสินสมรส มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของทั้งสองบัญชีโดยมีปัญหาว่า จำนวนเงินในบัญชีทั้งสองจะถือในวันที่โจทก์ฟ้องหย่าหรือวันสุดท้ายที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันคือวันที่ 8 มกราคม 2536 โดยโจทก์ฎีกาว่า จำนวนเงินสินสมรสที่เป็นฐานในการคิดคำนวณแบ่งปันกันต้องถือในวันที่ 8 มกราคม 2536 ที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมทำมาหากินด้วยกันคือจำนวนเงิน 15,259.18 บาท และจำนวนเงิน 238,335.41บาท ตามลำดับ หาใช่จำนวนตามที่มีอยู่ในวันที่โจทก์ฟ้องหย่าไม่นั้น เห็นว่า แม้โจทก์จำเลยจะทะเลาะวิวาทกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้และแยกกันอยู่ต่างหากจากกันตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2536 ตลอดจนถึงวันฟ้องหย่าก็ตามแต่การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยหาสิ้นสุดลงไม่สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังดำรงคงอยู่ตลอดเวลาและจำเลยก็มีอำนาจจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรานี้ได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ หากจำเลยใช้จ่ายเงินตราสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้จำเลยชดใช้ โดยตั้งประเด็นให้ชดใช้สินสมรสที่ขาดหายไปนี้โดยเฉพาะเจาะจงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำนวนเงินสินสมรสในบัญชีเงินฝากทั้งสองที่เป็นฐานในการคิดคำนวณแบ่งปันกันให้ถือวันฟ้องซึ่งมีเงินเพียง 1,990.11 บาท และ 1,735.41 บาท นั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

รายการที่สอง รายได้จากร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง จำนวนเงิน1,000,000 บาท ซึ่งเป็นสินสมรส โจทก์ฎีกาว่าเงินจำนวน 1,000,000 บาท นี้เป็นสินสมรส แต่โจทก์ให้นายเกรียงศักดิ์ ประคองวงษ์ พี่โจทก์ยืมไปและยังไม่ได้รับคืนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรานี้ได้โดยลำพัง จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในการที่จะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย จำเลยมิได้อุทธรณ์ปัญหาข้อนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จะนำเงินจำนวนนี้มาคิดคำนวณเป็นส่วนแบ่งสินสมรสที่โจทก์จะต้องแบ่งให้จำเลย 500,000 บาท ไม่ได้ เพราะโจทก์ยังไม่ได้รับเงินจำนวนนี้คืนมานั้น เห็นว่า ปัญหาเรื่องรายได้จากร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง จำนวนเงิน 1,000,000 บาท นี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการจะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย แต่จะต้องแบ่งคืนแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินยืมจำนวนนี้คืนจากผู้ยืมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้แต่อย่างใดปัญหาเรื่องเงินจำนวน 1,000,000 บาทนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์นำเอาเงิน 1,000,000 บาท ดังกล่าวมาคำนวณหักกลบลบหนี้ในการแบ่งสินสมรสให้แก่โจทก์จำเลยคนละกึ่งหนึ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์จึงไม่ชอบ กรณีมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสไม่ชอบ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการบังคับเอากับสินสมรสที่จัดแบ่งแล้วอย่างไร จึงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 ต้องถือว่ารายได้จากร้านเสริมสวย สกินแคร์ สาขามาบุญครอง จำนวนเงิน 1,000,000 บาท ในขณะนี้ยังไม่สามารถนำมาคิดคำนวณแบ่งสินสมรสเพราะยังไม่รับชำระคืนจากผู้ยืม ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น

รายการที่สาม รถยนต์หมายเลขทะเบียน 6 ว-3065 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสินสมรสมีมูลค่าตามค่างวดที่ชำระไปแล้ว 300,000 บาท โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งรถยนต์สินสมรสกันคนละครึ่ง แต่ในการคิดส่วนแบ่งสินสมรสที่เป็นเงินซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดให้ จำเลยต้องแบ่งให้โจทก์ 26,862.76 บาท ต้องคิดส่วนแบ่งรถยนต์สินสมรส 150,000 บาท มารวมด้วยนั้น เห็นว่า จำนวนเงิน 26,862.76 บาทศาลอุทธรณ์กำหนดแต่เฉพาะสินสมรสที่เป็นเงินตราที่จำเลยต้องแบ่งให้โจทก์เป็นเงินเท่าใดส่วนรถยนต์เป็นทรัพย์สินอื่นเช่นเดียวกับห้องชุดและที่ดินที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งกันคนละครึ่งอยู่แล้ว จึงไม่ต้องนำมาคิดเพิ่มเป็นเงินที่จำเลยจะต้องให้โจทก์เพื่อหักกลบลบกันแต่อย่างใด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้ส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งในรถยนต์สินสมรสนี้อยู่แล้ว เมื่อมีการแบ่งสินสมรสอื่นที่มิใช่เงินตรา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

รายการที่สี่ ที่ดินโฉนดเลขที่ 40964 กรุงเทพมหานคร พร้อมบ้านเลขที่ 295/43โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าว เป็นสินส่วนตัวของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว มิใช่สินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยคนละครึ่ง โดยฝ่ายโจทก์มีตัวโจทก์ นายศักดา ประคองวงศ์และนายเกรียงศักดิ์ ประคองวงศ์ ซึ่งเป็นพี่ชายของโจทก์ เบิกความเป็นพยานว่า นายศักดาซื้อที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวแทนโจทก์และต่อมาภายหลังนายศักดาได้โอนให้นายเกรียงศักดิ์เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2532 นายเกรียงศักดิ์ได้โอนที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์แต่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายหลอก ๆ ไว้ ตามสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ล.21 ฝ่ายจำเลยมีตัวจำเลยเบิกความเป็นพยานว่า จำเลยร่วมกับโจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวจากนายเกรียงศักดิ์ โดยจำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัดเอกสารหมาย ล.61 ซึ่งเป็นบัญชีส่วนตัวของจำเลยนำไปซื้อแคชเชียร์เช็คจำนวนเงิน100,000 บาท ตามเอกสารหมาย ล.42 นำไปชำระค่าที่ดิน เห็นว่า นายศักดาและนายเกรียงศักดิ์เป็นพี่ชายของโจทก์ย่อมมีแนวโน้มที่จะเบิกความเข้าข้างโจทก์ ทั้งพยานโจทก์ทั้งสองเบิกความไม่สอดคล้องกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายเกรียงศักดิ์ถึงกับเบิกความว่ายกที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยเสน่หาแต่ทำสัญญาซื้อขายหลอก ๆ กันไว้ด้วยโดยไม่มีเหตุผลว่า เพราะเหตุใดถึงยกให้โดยเสน่หา พยานโจทก์ดังกล่าวมีน้ำหนักน้อยส่วนจำเลยมีทั้งพยานเอกสารแคชเชียร์เช็คที่ระบุชื่อว่าจ่ายให้นายเกรียงศักดิ์ผู้ขายที่ดินและบ้าน พยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยจึงมีน้ำหนักมากกว่าฝ่ายโจทก์ น่าเชื่อว่าโจทก์จำเลยร่วมกันออกเงินซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 40965 และบ้านเลขที่ 295/43 เมื่อวันที่ 21กันยายน 2532 อันเป็นเวลาก่อนที่โจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินและบ้านดังกล่าวจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยคนละครึ่ง ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ส่วนแบ่งของจำเลยในที่ดินและบ้านดังกล่าวต้องคิดเพิ่มให้จำเลยอีก 100,000 บาท ในเงินสินส่วนตัวที่จำเลยนำไปซื้อที่ดินและบ้านด้วยกัน เห็นว่า เงินจำนวน 100,000 บาท ของจำเลยเมื่อนำมารวมกับเงินของโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านแล้วย่อมเปลี่ยนเป็นที่ดินและบ้านที่ซื้อมา จึงไม่มีเงินที่ต้องคืนให้จำเลยหรือโจทก์อีก ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน

รายการที่ห้า กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง โจทก์ฎีกาว่า กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของโจทก์เพียงผู้เดียว ส่วนจำเลยฎีกาว่า กิจการดังกล่าวโจทก์รับโอนมาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 หลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้วจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย ในปัญหาข้อนี้ฝ่ายโจทก์มีตัวโจทก์เบิกความเป็นพยานว่า กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง เดิมเป็นของนายทวีศักดิ์ประคองวงษ์ น้องชายโจทก์ซึ่งเปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 2531 ต่อมา เมื่อต้นปี 2532 โจทก์ซื้อกิจการดังกล่าวมาในราคา 200,000 บาท แล้วดำเนินกิจการต่อไปจนถึงต้นปี 2536จึงขายกิจการให้แก่นางสดศรี ประคองวงษ์ พี่สะใภ้โจทก์ไป ฝ่ายจำเลยมีตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยานว่าโจทก์จำเลยมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตั้งแต่เดือนกันยายน2530 ต่อมาวันที่ 31 ตุลาคม 2530 จำเลยเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศเดนมาร์กระหว่างนั้นโจทก์เขียนจดหมายปรึกษาจำเลยเรื่องจะเปิดกิจการร้านเสริมสวย ในเดือนมีนาคม 2531 จำเลยเดินทางกลับประเทศไทยมาช่วยโจทก์ซื้อของวางระเบียบทำบัญชีและจัดทำเอกสารจนกระทั่งสามารถเปิดร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครองได้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2531 จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัดเอกสารหมาย ล.51 ซึ่งเป็นบัญชีส่วนตัวมอบให้โจทก์เป็นค่าซ่อมแซมร้านจำนวน 100,000บาท หลังจากเปิดร้านแล้วจำเลยจึงเดินทางไปต่างประเทศ เห็นว่าโจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง ตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกันในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2533 กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(1) โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว200,000 บาท ส่วนจำเลยลงทุน 100,000 บาท กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครองจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุน คือ 2 ต่อ 1ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ชอบแล้ว ฎีกาของทั้งโจทก์และจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น...

รายการที่เจ็ด ที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 กรุงเทพมหานคร และห้องชุดของบริษัทสงวนพัฒนกิจก่อสร้าง จำกัด อาคาร เอ ห้อง เลขที่ 327/446, 327/447, 327/450 และ327/451 จำเลยฎีกาว่า ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้ มิใช่สินสมรสเต็มจำนวนที่จะแบ่งให้โจทก์จำเลยกันคนละครึ่ง แต่จะต้องหักเงินดาวน์ของที่ดิน 265,000 บาท และเงินดาวน์ห้องชุดทั้งสี่ห้อง 181,200 บาท รวมเป็นเงิน 446,200 บาท ที่จำเลยใช้เงินส่วนตัวของจำเลยชำระไปแล้วออกเสียก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำมาแบ่งให้โจทก์จำเลยกันคนละครึ่งเห็นว่า ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้จำเลยได้รับโอนมาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2534 อันเป็นเวลาภายหลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่ที่จำเลยนำไปชำระนั้นได้ความจากจำเลยว่า จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาบางโพ เอกสารหมาย ล.53 ซึ่งเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย แต่จำเลยก็ยอมรับว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ รวมอยู่ด้วย ซึ่งเงินรายได้ดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยและไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนไหนเป็นเงินสินสมรสได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเงินสินส่วนตัวของจำเลยเข้ามาปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่เป็นจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 วรรคท้ายว่า เงินดาวน์ดังกล่าวเป็นสินสมรสด้วย ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้จึงเป็นสินสมรสเต็มจำนวนที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

รายการที่แปด เงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาบางโพ บัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 033 3 036134 จำนวน 50,000 บาท จำเลยฎีกาว่าเงินฝากดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้มาจากการขายที่ดินส่วนตัวของจำเลย จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย มิใช่สินสมรสนั้น เห็นว่า ได้วินิจฉัยในรายการที่เจ็ดแล้วว่า เงินฝากในบัญชีธนาคารกสิกรไทยจำกัด สาขาบางโพ เอกสารหมาย ล.53 มีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์รวมอยู่ด้วยโดยระคนปนกันจนไม่อาจจำแนกได้ว่าแต่ละส่วนเป็นเงินเท่าใด จึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเงินในบัญชีนี้เป็นสินสมรส ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนเงินในบัญชีดังกล่าวมาเปิดบัญชีเงินฝากประจำเอกสารหมาย ล.62 เงินฝากในบัญชีใหม่นี้จึงเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งเช่นเดียวกันด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหานี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

รายการที่เก้า เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางพลัด บัญชีเลขที่ 1840205346 และ 184 3025618 จำนวนเงินประมาณ 300,000 บาท และ 130,000บาท ตามลำดับ มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีทั้งสองฉบับ จำเลยฎีกาว่าเงินฝากทั้งสองบัญชีดังกล่าวเป็นเงินรายได้ที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่งให้จำเลยครึ่งหนึ่งโดยต้องถือว่ามีเงินอยู่ในบัญชีทั้งสองรวมกันเป็นเงิน 511,562.61บาท ตามที่จำเลยฟ้องแย้งและโจทก์ไม่ได้ให้การแก้ฟ้องแย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินที่มีอยู่นั้น เห็นว่า ในปัญหาเรื่องเงินในบัญชีทั้งสองบัญชีมีอยู่เท่าใดนั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเงินฝากในบัญชีเงินฝากทั้งสองฉบับนี้คงมีเงินเหลืออยู่เพียงบัญชีเดียวคือบัญชีเลขที่184 3025618 จำนวนเงิน 211,562.61 บาท อันเป็นเงินสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่งกันคนละครึ่ง โจทก์อุทธรณ์ว่า เงินในบัญชีดังกล่าวมีการถอนออกไปบางส่วนหลังวันฟ้องเพื่อผ่อนชำระค่าซื้อบ้าน ที่ดิน รถยนต์และคอนโดมิเนียมคงเหลือเงินในบัญชี ณ วันที่2 กรกฎาคม 2536 เพียง 39,169.08 บาท เท่านั้น จำเลยมิได้โต้แย้งว่า เงินที่ถูกถอนออกไปนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องอย่างใด เมื่อเงินฝากในบัญชีดังกล่าวเป็นสินสมรสและการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงยังคงมีสิทธิจัดการสินสมรสในส่วนที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลย โดยการถอนเงินจากธนาคารแม้หลังจากฟ้องคดีนี้แล้วได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องถือตามจำนวนเงินที่มีอยู่จริงตามที่โจทก์แถลงและจำเลยยอมรับโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จะย้อนหลังไปถือเอาจำนวนเงินที่เคยมีอยู่จริงมิได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเงินฝากธนาคารทั้งสองบัญชีดังกล่าวเหลืออยู่เพียง 39,169.08 บาท อันเป็นจำนวนที่ต้องนำมาแบ่งกันระหว่างโจทก์จำเลยคนละครึ่งนั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน

สรุปได้ว่าทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนที่เป็นเงินตรานั้น โจทก์ต้องจ่ายให้จำเลย 19,584.54 บาท ส่วนจำเลยต้องจ่ายให้โจทก์ 26,862.76 บาท เมื่อหักกลบลบกันแล้วเฉพาะส่วนที่เป็นเงินตรา จำเลยต้องจ่ายเงินให้โจทก์ 7,278.22 บาท ส่วนทรัพย์สินอื่นให้จัดแบ่งกันตามที่วินิจฉัยมาแล้ว สำหรับทรัพย์สินที่ติดจำนอง หากมีการบังคับจำนองมูลค่าทรัพย์สินน้อยกว่าหนี้จำนองแล้ว โจทก์และจำเลยต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ที่เหลือฝ่ายละเท่า ๆ กัน

อนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์นำเงินสินสมรสจำนวน 1,000,000 บาทให้นายเกรียงศักดิ์ ประคองวงษ์ ซึ่งเป็นพี่ชายโจทก์ยืมไปโดยจำเลยไม่ได้คัดค้าน จึงเป็นการจัดการทรัพย์สินร่วมกันที่โจทก์มีอำนาจจะทำไว้ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในการที่จะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย แต่จะต้องคืนเงินแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินยืมคืนจากผู้ยืมแล้วโดยยังไม่ได้พิพากษาให้ชัดแจ้ง อาจทำให้เกิดปัญหาในการบังคับคดี จึงเห็นสมควรพิพากษาแก้ไขให้ชัดเจน"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 7,278.22 บาท สำหรับเงินที่ให้ผู้อื่นกู้ไปจำนวน 1,000,000 บาท หากโจทก์

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2008-11-02 12:09:15


ความคิดเห็นที่ 26 (1858838)

พี่ทนายค่ะ ขอบคุณจิง ๆ เลยนะค่ะที่ยกตัวอย่างมาให้เห็นเป็นบางอย่าง แต่เก๋ไม่ค่อยเข้าใจอ่ะค่ะ แต่ไม่เป็นไรค่ะ ถ้าต้องเป็นฝ่ายตั้งรับก้อต้องเป็นแบบนั้นไปค่ะ เพราะจะไม่ฟ้องหย่าก่อนอ่ะค่ะ รอเค้าฟ้องมาก้อแล้วกันเพราะไม่เงินจิง ๆ และที่ทราบมาภายหลังว่าการที่เค้าขอเงิน 100000บาท เป็นการแกล้งมา และเพื่อน ๆ ของฝ่ายภรรยาเก่า ยุยงให้เอาเงิน 100000 บาทค่ะ แล้วยังเอาไปพูดไม่ดีอีกมากมาย เลยไม่อยากฟ้องเค้าแล้วค่ะ รอเค้าฟ้องเองแล้วกัน เก๋หมดปัญญา ถ้าจบด้วยกันให้ดีไม่ได้ ก้อต้องรออ่ะค่ะ แต่ตอนนี้มัปํญหาคือก่อกวนอ่ะค่ะ โทรศัพท์เข้ามาตอนแรกก้อพูดว่า อย่าหวังในสิ่งที่อยากได้เลย และก้อมีโทรเข้ามาด่าต่าง ๆ แต่เก๋ไม่สนใจหรอกค่ะ อยากว่าไรก้อว่าไปเก๋คิดว่าเก๋ไม่ผิด เพราะตอนที่เค้าแยกกันอยู่ สามีและภรรยาเก่าเค้าได้ตกลงกันอย่างชัดเจนว่าจะแยกกันอยู่ ค่ะ และได้ให้เงิน 50000บาทไปเรียบร้อยแล้วแต่เค้าผิดสัญญาเองที่ไม่ยอมหย่า

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-11-03 08:10:08


ความคิดเห็นที่ 27 (1858908)

ขอให้อดทนและโชคดีครับ ชีวิตครอบครัวก็เป็นอย่างนี้ ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-11-03 11:08:26


ความคิดเห็นที่ 28 (1859073)

ขอบคุณพี่ทนายมากนะค่ะ ถ้าเก๋ไม่มีพี่ให้คำตอบในเรื่องที่เก๋อยากรู้แล้วไม่รู้เก๋คงแย่กว่านี้มากเลยค่ะ ตอนนี้ก็ทำใจอยู่เพราะจิง ๆ แล้วอยากให้เรื่องจบด้วยดีมากกว่าค่ะ ไม่อยากถึงกับต้องขึ้นศาลหรอกค่ะพี่มัเสียเวลาและเสียเงินมากด้วยเก๋แค่สงสารสามีเก๋มากกว่าค่ะ เพราะเค้าอยากหย่ามาตั้งนานแล้วตั้งแต่ให้เงิน แต่ทางโน้นเค้าไม่ยอมค่ะ เค้าผิดสัญญา เก๋สงสารเค้าที่เค้าทำให้ทางบ้านเก๋ดูไม่ดีเท่านั้นค่ะ จะใช้ว่าเมียน้อยก้อไม่ค่อยดีเท่าไหร่อ่ะค่ะ แต่เก๋ขอบคุณพี่จิง ๆ นะค่ะจากใจเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น kae วันที่ตอบ 2008-11-03 16:34:27


ความคิดเห็นที่ 29 (1859326)

ยินดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-11-04 05:47:47



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล