ReadyPlanet.com


ถูกจับ ยาบ้า 800 เม็ด


อยากทราบว่า ถ้าโดนครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 800 เม็ด รับสารภาพ ไม่เคยทำผิดมาก่อนศาลจะลงโทษอย่างไรครับ


ผู้ตั้งกระทู้ ต่อศักดิ์ :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-12 15:17:21


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1849457)

มาตรา ๑๕ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ เว้นแต่รัฐมนตรีได้อนุญาตเฉพาะในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

(๑) เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ศูนย์จุดเจ็ดห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่สามร้อยมิลลิกรัมขึ้นไป

(๒) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป

(๓) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ นอกจาก (๑) และ (๒) มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามกรัมขึ้นไป

 

มาตรา ๖๖ ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม แต่ไม่เกินยี่สิบกรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท

ถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมขึ้นไปต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต

ศาลกำหนดโทษจากปริมาณสารบริสุทธิ์ครับ ถ้าไม่ถึง 20 กรัม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิตครับ

800 เม็ด อาจประมาณ 10 ปีครับ

(เป็นอำนาจศาล ความเห็นไม่อาจใช้อ้างอิงได้)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-13 16:39:11


ความคิดเห็นที่ 2 (1849459)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3161/2547

ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดพ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึง ห้าล้านบาท ซึ่งตามมาตรา 100/1 บัญญัติว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษ จำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สิน เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่ปรับด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษปรับได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225

 

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑จำนวน ๗๔๐ เม็ด น้ำหนัก ๖๖.๔๗๐ กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ ๑๒.๒๕๐ กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำเลยจำหน่ายโดยการขายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจำนวน ๒๐ เม็ด น้ำหนัก ๑.๘๐ กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ ๐.๔๐๒ กรัม ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา ๑,๒๐๐ บาท เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจำนวน ๗๔๐ เม็ด ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ (ที่แก้ไขใหม่) , ๖๖ (ที่แก้ไขใหม่), ๑๐๒ ป.อ. มาตรา ๓๓, ๙๑ และริบของกลาง

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ วรรคสาม (๒), ๖๖ วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา ๙๑ ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก ๑๘ ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก ๕ ปี รวมจำคุก ๒๓ ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา ๗๘ กึ่งหนึ่ง คงจำคุก ๑๑ ปี ๖ เดือน ริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก ๑๕ ปี เมื่อรวมกับโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำคุก ๒๐ ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา ๗๘ กึ่งหนึ่ง คงจำคุก ๑๐ ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า?ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ. ยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๖ วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท ซึ่งตามมาตรา ๑๐๐/๑ บัญญัติว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่ปรับด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษปรับได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๑๒ ประกอบด้วยมาตรา ๒๒๕

พิพากษาแก้เป็นว่า วางโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก ๑๒ ปี และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก ๔ ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา ๗๘ คงลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก ๖ ปี และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก ๒ ปี รวมจำคุก ๘ ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.

( เกรียงชัย จึงจตุรพิธ - วิชัย วิวิตเสวี - สำรวจ อุดมทวี )

ศาลอาญาธนบุรี - นางสาวศุภมาศ คุ้มศรีวงษ์

ศาลอุทธรณ์ - นายวิเชียร มงคล

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-13 16:41:36


ความคิดเห็นที่ 3 (1856702)

เลวมากครับ ยังมีหน้ามาถามอีก

จริงๆน่าจะประหารชีวิตไปให้หมด

ผู้แสดงความคิดเห็น h4 วันที่ตอบ 2008-10-29 01:55:23


ความคิดเห็นที่ 4 (1965371)

 

พูดง่ายค่ะ

เพราะเรื่องนี้ไม่ได้เกิดกับตัวคุณและคนที่คุณรัก

แต่ถ้าเกิดขึ้นมาคุณก็พูดไม่ได้หรอกประโยคนี้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น นู๋เบียร์ วันที่ตอบ 2009-07-20 19:22:55


ความคิดเห็นที่ 5 (2044043)

น้องสาวถูกจับพร้อมแฟนที่บ้านพร้อมยาบ้า212เม็ดแต่น้องสาวปฏิเสธตลอดแต่ตำรวจพยายามยัดให้น้องสาวรับ22เม็ดแต่แฟนน้องรับสารภาพทั้งหมดถ้าเป็นในรูปคดีนี้ถ้าศาลตัดสินออกมาถ้าน้องสาวติดจะประมาณกี่ปีค่ะแล้วถ้าพ้นความผิดมาตำรวจจะช่วยให้กลับไปทำงานที่เดิมได้ไหมใครจะให้ค่าติดคุกฟรี

**คนที่ผิดก้อสมควรรับผิดนะค่ะแต่ถ้ามีคนเอาความผิดมาให้เราก้อไม่ควรรับนะค่ะ**

ผู้แสดงความคิดเห็น ปอ วันที่ตอบ 2010-03-11 08:38:58


ความคิดเห็นที่ 6 (2203046)

 ถูกต้องเลยค่ะ  ถ้าเปนคนที่คุณรัก จะไม่มีคำพูดนี้เลย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คนทำจัย วันที่ตอบ 2011-08-05 20:16:13


ความคิดเห็นที่ 7 (2210935)

ถูกต้องครับความคิดที่1965371

แต่จริงๆแล้วมันก็ไม่ดีหรอกครับ

คนล้มอย่าข้าม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ล้าล้า วันที่ตอบ 2011-08-30 14:48:45


ความคิดเห็นที่ 8 (2298460)

คุณความเห็นที่ 4 พูดถูกค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เก๋ วันที่ตอบ 2012-09-03 14:34:45


ความคิดเห็นที่ 9 (2307671)

 ใช่ๆ คนเราพลาดกันได้ เราควรให้อภัย ไม่ใช่มาซ้ำเติม 
 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Pol วันที่ตอบ 2012-10-14 00:02:29


ความคิดเห็นที่ 10 (2360096)

จิงอ่ะ ไม่เกิดกับตัวเองก็พูดได้

คนผิดเขายอมรับผิด ก็น่าจะให้อภัย

คนพูดแบบนี้ถ้าเจอกับตัวเองแล้วไม่มีใครให้อภัย

แล้วคุณจะรู้สึก!!!!

ผู้แสดงความคิดเห็น นามแฝง วันที่ตอบ 2013-05-23 10:51:17


ความคิดเห็นที่ 11 (4202139)

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10786/2559

 

โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษปรับจำเลยด้วยและศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์กับส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาโดยชอบแล้ว ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษปรับจำเลยตามที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อความผิดของจำเลยต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ..." ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกเพียงสถานเดียว โดยมิได้ลงโทษปรับจำเลยด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ
ผู้แสดงความคิดเห็น จำคุกและปรับด้วยเสมอ วันที่ตอบ 2017-07-22 07:30:29



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล