ReadyPlanet.com


อยากเป็นทนายความ


จะเป็นทนายความได้อย่างไร



ผู้ตั้งกระทู้ * :: วันที่ลงประกาศ 2008-11-02 17:16:34


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1858665)

จะเป็นทนายความได้อย่างไร

คุณสมบัติ
1. มีสัญชาติไทย
2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรืออนุปริญญาทางนิติศาสตร์จากสถาบันที่สภาทนายความอนุมัติ
3. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีและไม่เป็นผู้ได้กระทำการใด
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
4. ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
5. ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่สังคม

หลักฐานที่ใช้ประกอบการสมัครอบรมวิชาว่าความ
1. หนังสือรับรองคุณวุฒิชั้นอนุปริญญา หรือปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ ซึ่งสภาทนายความ เห็นว่ามีมาตรฐานการ
ศึกษาควรเป็นทนายความได้ (เฉพาะหนังสือรับรองที่ออกโดยสภามหาวิทยาลัยหรือปริญญาบัตร)
ต้องถ่ายเอกสาร พร้อมตัวจริงแนบใบสมัคร จำนวน 1 ชุด
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ อื่น ๆ จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
4. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป (แต่งกายสุภาพถ่ายไม่เกินหกเดือน)
5. กรณีที่เปลี่ยนชื่อตัว ต้องแนบหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว
6. กรณีที่เคยต้องคำพิพากษา หรือถูกลงโทษทางวินัย ต้องแนบสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งลงโทษ
7. ใบสำคัญการสมรส หรือใบสำคัญการหย่า (เฉพาะสุภาพสตรี)
ผู้สมัครจะต้องมาสมัครด้วยตนเองเท่านั้น

ระเบียบว่าด้วยการฝึกอบรมและทดสอบ ดังต่อไปนี้
การฝึกอบรมวิชาว่าความแบ่งเป็น 2 ภาค คือภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

ภาคทฤษฎี การฝึกอบรมความรู้ภาคทฤษฎี สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ จะจัดให้มีการบรรยายทางวิชาการในหัวข้อ
ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 20 วัน โดยผู้เข้ารับการอบรมวิชาว่าความจะเข้ารับการอบรมหรือไม่ก็ได้ (ไม่เช็คเวลาเรียน)

เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรมภาคทฤษฎีแล้ว จะทำการทดสอบความรู้ในภาคทฤษฎี ผู้ที่สอบไม่ผ่านสำนักฝึกอบรมวิชา
ว่าความจะไม่ส่งเข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ และถือว่าไม่ผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความ แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะเข้ารับ
การฝึกอบรมในรุ่นต่อไป โดยเสียค่าธรรมเนียมในการสมัครฝึกอบรมตามที่สำนักฝึกอบรมได้กำหนดไว้

ภาคปฏิบัติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่สอบผ่านภาคทฤษฎีจะต้องฝึกอบรมภาคปฏิบัติอีกไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยสำนัก
ฝึกอบรมฯ จะจัดส่งไปฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ณ สำนักงานทนายความ, ฝ่าย, องค์กรกฎหมายต่าง ๆ ทั่วประเทศ หรือ
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แจ้งให้สำนักฝึกอบรมทราบว่า ได้มีสำนักงานที่จะฝึกภาคปฏิบัติแล้วสำนักฝึกอบรม
จะพิจารณาจัดส่งไปฝึกภาคปฏิบัติตามที่ได้แจ้งไว้ทั้งนี้ ในการเข้าฝึกอบรมภาคปฏิบัติของผู้เข้ารับการอบรมนี้
ทนายความผู้ควบคุมการฝึกและเซ็นรับรองและประเมินผลการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ จะต้องเป็นทนายความ ผู้ที่มีใบ
อนุญาตจนถึงวันเริ่มฝึกภาคปฏิบัติ มาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดปีขึ้นไป

เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรมภาคปฏิบัติแล้วจะทำการทดสอบความรู้ในภาคปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่างๆ ตามกฎหมาย
ในหน้าที่ของทนายความ ผู้ที่สอบไม่ผ่านการฝึกอบรมภาคปฏิบัติสามารถขึ้นทะเบียนการสอบภาคทฤษฎีไว้ได้ เพื่อใช้
สิทธิ์ในการสอบภาคปฏิบัติในรุ่นต่อไป โดยไม่ต้องเข้ารับการทดสอบภาคทฤษฎีอีก ทั้งนี้ ผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องรักษา
สิทธิและเสียค่าธรรมเนียมการสอบภาคปฏิบัติให้ต่อเนื่องกัน

การอบรมจริยธรรมและมรรยาททนายความ
ผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านการทดสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จะต้องเข้ารับการอบรมจริยธรรมและมรรยาท
ทนายความตามกำหนดวันที่สำนักฝึกอบรมฯ ประกาศกำหนด ผู้ที่ผ่านการอบรมจริยธรรมและมรรยาททนายความ
ดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็นผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความ และมีสิทธิ์ในการยื่นคำขอ จดทะเบียน เพื่อรับใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพทนายความต่อไป

ค่าธรรมเนียมและค่าลงทะเบียน
1 ค่าธรรมเนียมในการสมัครเข้ารับการฝึกอบรมวิชาว่าความ เป็นเงิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน)
2 ค่าลงทะเบียนทดสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ภาคละ 300 บาท (สามร้อยบาทถ้วน)
การลงทะเบียนทดสอบภาคปฏิบัติต้องนำแบบแจ้งผลการฝึกอบรมภาคปฏิบัติตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องมา
เป็นหลักฐานประกอบการลงทะเบียนทดสอบด้วย
3 ค่าลงทะเบียนรับประกาศนียบัตรเป็นเงิน 300 บาท (สามร้อยบาทถ้วน)
4 ค่าธรรมเนียมทำบัตรประจำตัว 50 บาท (ห้าสิบบาทถ้วน)
5 กรณีเคยเข้ารับการอบรมแล้ว เสียค่าธรรมเนียมรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,700 บาท (หนึ่งพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)

การรับประกาศนียบัตร
1 ผู้ที่จะได้รับประกาศนียบัตรจากสภาทนายความ จะต้องสอบได้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติและจะต้อง
เข้ารับการอบรมจริยธรรมและมรรยาททนายความตามกำหนดวันที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความประกาศกำหนด
2 ผู้ที่สอบได้ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติและเข้ารับการอบรมจริยธรรม และมรรยาททนายความแล้ว และ
ได้คะแนนแต่ละภาคตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป มีสิทธิได้รับการพิจารณาจากสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ เพื่อให้ได้รับ
เกียรตินิยมอันดับหนึ่งและหากคะแนนแต่ละภาคได้ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป มีสิทธิได้รับการพิจารณาจากสำนักฝึก
อบรมวิชาว่าความ เพื่อให้ได้รับเกียรตินิยมอันดับสอง
3 ในกรณีผู้มีสิทธิที่จะได้รับพิจารณาจากสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความเพื่อให้ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
หรือสองแล้วแต่กรณีจะต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบ โดยละเอียดว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนดที่
จะได้รับเกียรตินิยม

เมื่อผ่านการอบรมวิชาว่าความ จึงจะมีสิทธิยื่นขอจดทะเบียนเป็นทนายความ

หลักฐานการยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวของบุคคลซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตาม
กฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน
- ใบรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ใบรับรองแพทย์)
- หลักฐานแสดงว่าสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรืออนุปริญญาทางนิติศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรในวิชา
นิติศาสตร์ ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรืออนุปริญญาจากสถาบันการศึกษา ซึ่งสภาทนายความเห็นว่ามี
มาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้
- หลักฐานแสดงว่าเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา (ขอหนังสือรับรองจากเนติบัณฑิตยสภา)
- หลักฐานแสดงว่าเคยเป็นทนายความ หรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษา ตุลาการศาลทหาร พนักงานอัยการ
อัยการทหาร หรือทนายความตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร หรือหลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรม
มรรยาททนายความ หลักปฏิบัติ เบื้องต้นในการว่าความและการประกอบอาชีพทางกฎหมายตามข้อบังคับสภา-
ทนายความ หรือหลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
- กรณีที่เคยรับราชการ ต้องแนบหลักฐานคำสั่งเกษียณอายุราชการ หรือคำสั่งลาออกจากราชการ
- กรณีที่เคยต้องคำพิพากษาหรือถูกลงโทษทางวินัย ต้องแนบสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งลงโทษ
- รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง สวมครุยเนติบัณฑิต (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) รูปสีหรือขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
และขนาด 2 นิ้ว หรือ 2 นิ้วครึ่ง จำนวน 3 รูป

ค่าจดทะเบียนเป็นสมาชิก
- ประเภทสองปี ค่าธรรมเนียม 1,600.- บาท
- ประเภทตลอดชีพ ค่าธรรมเนียม 4,800.- บาท

http://www.lawsociety.or.th/

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2008-11-02 17:17:57


ความคิดเห็นที่ 2 (1860010)

อยากเป็นทนายที่เก่งทำไงคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ว่าที่ทนาย วันที่ตอบ 2008-11-05 12:49:40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล