ReadyPlanet.com


การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนต่างด้าว


คนต่างด้าวที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือแต่งงานกับหญิงไทย มีสิทธิที่จะถือครองที่ดินได้หรือไม่ โดยมีหลักเกณฑ์อย่างไร


ผู้ตั้งกระทู้ เด่น :: วันที่ลงประกาศ 2008-11-14 11:51:07


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1864173)

มาตรา 86 คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดยอาศัยบทสนธิสัญญา ซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ และอยู่ในบังคับบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย
 ภายใต้บังคับ มาตรา 84 คนต่างด้าวดั่งกล่าวจะได้มาซึ่งที่ดินเพื่อ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยประกอบกิจการในทางพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การสุสาน การกุศลสาธารณะ หรือการศาสนาต้องเป็น ไปตามเงื่อนไข และวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และต้องได้รับ อนุญาตจากรัฐมนตรี
 มาตรา 87 จำนวนที่ดินที่จะพึงอนุญาตให้ตามความใน มาตรา ก่อน มีกำหนดดังนี้
 (1) ที่อยู่อาศัย ครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่
 (2) ที่ใช้เพื่อพาณิชยกรรม ไม่เกิน 1 ไร่
 (3) ที่ใช้เพื่ออุตสาหกรรม ไม่เกิน 10 ไร่
 (4) ที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม ครอบครัวละไม่เกิน 10 ไร่
 (5) ที่ใช้เพื่อการศาสนา ไม่เกิน 1 ไร่
 (6) ที่ใช้เพื่อการกุศลสาธารณะ ไม่เกิน 5 ไร่
 (7) ที่ใช้เพื่อการสุสาน ตระกูลละไม่เกิน 1/2 ไร่
มาตรา 96 ทวิ(1) บทบัญญัติว่าด้วยคนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินโดยอาศัยบทสนธิสัญญาตามมาตรา 86 
วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับคนต่างด้าวซึ่งได้นำเงินมาลงทุนตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท โดยให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินหนึ่งไร่ และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
                    การได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยในกฎกระทรวงอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
                    (1) ประเภทของธุรกิจที่คนต่างด้าวลงทุนซึ่งต้องเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หรือเป็นกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนได้
                    (2) ระยะเวลาการดำรงการลงทุนต้องไม่น้อยกว่าสามปี
          (3) บริเวณที่ดินที่อนุญาตให้คนต่างด้าวได้มาต้องอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานครเขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล 
หรืออยู่ภายในบริเวณที่กำหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
ในวลาจดทะเบียนสมรส หากคู่สมรสฝ่ายใดไม่สำแดงรายการทรัพย์สินใดของฝ่ายตนว่าเป็น "สินส่วนตัว" ต่อมา ภายหลังสมรส หากมีกรณีพิพาทเรื่องทรัพย์สิน กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ทรัพย์สินทุกอย่างของแต่ละฝ่ายนั้น เป็น "สินสมรส" ส่วนสิทธิของการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ แม้ว่าเราจะจดทะเบียนกับชาวต่างชาติแล้ว หากว่าเรายังถือสัญชาติไทยทุกอย่างเราก็ยังมีสิทธิ์เหมือนเดิม แต่หากว่าจะให้รัดกุมตอนจดทะเบียนก็ให้เจ้าหน้าที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่า อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นสินส่วนตัวที่เราได้มาก่อนการสมรส คนที่มีสัญชาติไทยและมีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติและจดทะเบียนสมรสกันเวลาซื้อที่ดินและบ้านก็ต้องไปยื่นเรื่องขออนุญาตกับสำนักงานที่ดินก่อนเพื่อเจ้าหน้าที่ที่ดินจะสอบข้อเท็จจริงทั้งมหดเกี่ยวกับเงินที่ใช้ซื้อ  เมื่อได้ข้อเท็จจริงแล้วก็จะส่งเรื่องต่อไปยังผู้มีอำนาจต่อไป เพราะผู้มีสิทธิขอซื้อที่ดินได้ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้นหลังจากจดทะเบียนสมรสกับต่างชาติแล้วนั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจกันก่อนนะว่า คนต่างด้าว (ไม่ว่าชาติไหน) จะถือครองที่ดินในประเทศไทยไม่ได้ ดังนั้นถ้ามีสามีหรือภรรยาเป็นคนต่างด้าว ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบด้วยกฏหมาย เวลาซื้อ หรือถือครองที่ดินก็จะมีปัญหาอยู่บ้าง เพราะเจ้าหน้าที่จะตรวจเข้ม แต่ไม่ใช่ว่าพอเราแต่งงานกะคนต่างด้าวแล้วเราจะหมดสิทธิถือครอง ที่ดินนะครับ คู่สมรสที่เป็นคนไทยสามารถซื้อที่ดินได้โดยผู้ซื้อและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวจะต้องยืนยันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนบุคคลขอผู้ซื้อ(ภรรยา-สามี) ซึ่งมีสัญชาติไทยไม่ใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เจตนารมย์ของกฎหมายคงไม่ต้องการให้ที่ดินของชาติตกอยู่ในความครอบครองของคนชาติอื่น แต่ปัจจุบัน มีข้อยกเว้นบางประการ อนุญาตภายให้คนต่างด้าวถือครองที่ดินได้ แต่ภายใต้เงื่อนไขและต้องขออนุญาต เช่น กม.ที่ดิน และต้องได้รับอนุญาตจาก รมต. หรือ กรณีคนต่างด้าวขอถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ไม่เกิน 49% ของเนื้อที่ห้องชุดทั้งหมดที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดทั้งหมด แต่มีรายละเอียดกำหนด หลักเกณฑ์ และคุณสมบัติอีกเยอะนะ ลองเข้าไปอ่านครับ

http://www.dol.go.th/guide/menu_foreigner.php 


ผู้แสดงความคิดเห็น วิท วันที่ตอบ 2008-11-14 12:58:12


ความคิดเห็นที่ 2 (1864185)

คนต่างด้าวไม่มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้แม้จะให้คู่สมรสที่เป็นคนไทยก็ไม่อาจทำได้เพราะฝ่าฝืนกฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดินและคนไทยผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์แทนคนต่างด้าวดังกล่าวมีสิทธิถูกลงโทษจำคุกไม่เกินสองปีปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

ศาลพิพากษาให้เพิกถอนชื่อคนไทยออกจากโฉนดที่ดินเนื่องจากถือที่ดินแทนคนต่างด้าว

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดิน แต่ให้นาง ก. ซึ่งเป็นคู่สมรส ลงชื่อในโแนดที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของแทน จึงพิพากษาให้เพิกถอนชื่อนาง ก. ออกจากโฉนดที่ดิน และให้คนต่างด้าว จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดโดยให้นาง ก. ผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนไปจดทะเบียน โอนจำหน่ายให้ หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา

กรมที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวโดยมิชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86

"มาตรา ๘๖ คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดยอาศัยบทสนธิสัญญาซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ และอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย

 

ภายใต้บังคับมาตรา ๘๔ คนต่างด้าวดังกล่าวจะได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ประกอบกิจการในทางพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การสุสาน การกุศลสาธารณ หรือการศาสนา ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี"

แต่ขณะนี้ประเทศไทยได้บอกเลิกสนธิสัญญาในเรื่องดังกล่าวกับทุก ๆ ประเทศแล้ว ย่อมมีความผิดตาม มาตรา 111

"มาตรา 111 ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 86 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ"

ส่วนคนไทยนั้นปรากฎว่าได้ถือที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของแทนคนต่างด้าว ตาม มาตรา 96 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ต้องจำหน่ายที่ดินตามมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

 

"มาตรา 94 บรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาต ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปี ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"

และย่อมมีความผิดตามมาตรา 113 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

 

"มาตรา 113 ผู้ใดได้มาซึ่งที่ดินในฐานะเป็นตัวแทนของคนต่างด้าว หรือนิติบุคคลตามความในมาตรา 97 หรือมาตรา 98 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ"

ทั้งมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามมาตรา 137 และ 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

 

"มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจ ทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

 

"มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

กรมที่ดินได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการดังนี้

1. แจ้งความดำเนินคดีกับคนไทยและคนต่างด้าว

2. ให้คนต่างด้าวจำหน่ายที่ดินภายในเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่รับทราบ และแจ้งให้ทราบด้วยว่า ถ้าไม่จัดการจำหน่ายที่ดินในเวลาที่กำหนด อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินและสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมร้อยละห้าของราคาที่จำหน่าย นอกเหนือจากค่าธรรมเนียม ภาษี อากร ที่ต้อง เรียกเก็บ


3. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำบันทึกถ้อยคำระหว่างคนต่างด้าวกับคนไทยผู้ถือที่ดินแทน ดังนี้


3.1 ผู้ที่จะรับโอนที่ดินจากการจำหน่ายที่ดินนอกจากเป็นผู้ที่มีความสามารถและมีสิทธิถือที่ดินได้ตามกฎหมาย ต้องเป็นบุคคลที่คนต่างด้าวยินยอมให้รับโอน


3.2 ราคาที่ดินที่จะจำหน่าย ให้คนต่างด้าวเป็นผู้กำหนด และให้คนต่างด้าวเป็นผู้รับเงิน


3.3 คนไทยซึ่งถือที่ดินแทนคนต่างด้าว มีหน้าที่เฉพาะจัดการจำหน่ายที่ดินในฐานะ มีชื่อในโฉนดที่ดิน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเลิอกผู้รับโอนที่ดิน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-11-14 13:12:42



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล