ReadyPlanet.com


แบ่งสินสมรส


กรณีฟ้องหย่า   สามีมีหุ้นในบริษัท  ถือเป็นสินสมรสหรือไม่คะ  และหากใช่  จะสามารถนำมาแบ่ง 50/50 ได้หรือไม่

หรือ หากกรณีไม่หย่า ภรรยา (จดทะเบียน) มีสิทธิเรียกร้องจากบริษัท  50/50 จากผลแบ่งกำไร ได้หรือไม่ (อาจอ้างเหตุ จากปัญหาที่สามีมีเมียน้อย เพื่อขอให้บริษัทเข้าใจ) ได้หรือไม่คะ



ผู้ตั้งกระทู้ แตง :: วันที่ลงประกาศ 2008-11-29 15:46:31


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1871061)

ในกรณีที่สามีนำสินส่วนตัวไปซื้อหุ้นบริษัทมา หุ้นนั้นก็ย่อมเป็นสินส่วนตัว ไม่ใช่สินสมรส

ถ้าซื้อหุ้นภายหลังการจดทะเบียนสมรส หุ้นนั้นย่อมเป็นสินสมรสครับ

เมื่อเป็นสินสมรสย่อมมีสิทธิในสินสมรสคนละส่วนเท่า ๆ กัน

หากไม่มีการหย่าก็เรียกให้แบ่งสินสมรสไม่ได้ครับ กฎหมายไม่ได้กำหนดให้มีเหตุอ้างว่าสามีมีเมียน้อยเพื่อเรียกร้องสินสมรสได้ กรณีจึงไม่อาจกระทำได้ และการซื้อหุ้นบริษัทไม่อยู่ในบังคับต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งครับ

มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1472 สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อ ทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มา นั้นเป็นสินส่วนตัว

สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือ เงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว

มาตรา 1473 สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความ ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยา จัดการได้มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-11-30 23:12:32



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล