ReadyPlanet.com


ฟ้องขับไล่


กรณีสามีซื้อบ้านให้ชู้อยู่อาศัย และใช้สินสมรส เพื่อการนี้ 
ภรรยาจะใช้สิทธิในการฟ้องขับไล่ได้หรือไม่  เนื่องจากการกู้ธนาคารเพื่อผ่อนบ้านหลังนี้ จะใช้ชื่อสามีเป็นผู้กู้ฝ่ายเดียว  โดยที่ภรรยามารู้ภายหลัง เนื่องจากสามีแจ้งกับทางธนาคารว่า โสด

เคยได้ยินว่า ให้ฟ้องศาลเพื่อขอเป็นกรรมสิทธิร่วม จึงจะฟ้องขับไล่ได้
และในกรณี หากไม่ฟ้อง  ไม่ทราบว่า การขอมีกรรมสิทธิร่วมนี้น จะทำได้ที่ธนาคารผู้ให้กู้หรือไม่ และหากธนาคารให่อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกัน จะหมายถึงการมีกรรมสิทธิร่วมตามกฎหมายหรือไม่คะ

การฟ้องขับไล่ชู้นั้น เมื่อเป็นสินสมรส  แม้ว่าภรรยาจะอยู่ในฐานะผู้มีกรรมสิทธิร่วม  สามีก็ถือเป็นผู้มีกรรมสิทธิร่วม กึ่งหนึ่งใช่หรือไม่   และถ้าเป็นดังนั้น ภรรยาจะสามารถฟ้องศาลเพื่อขับไล่ชู้ได้หรือไม่คะ ถ้าสามียินยอมให้ชู้อยู่  โดยอ้างว่า เขาต้องเลี้ยงดูลูกเมีย (ชู้) ของเขา

รบกวนท่านช่วยชี้แจงและแนะนำด้วยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ เหมียว :: วันที่ลงประกาศ 2008-12-05 14:50:30


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1873132)

ทรัพย์สินที่ได้มีระหว่างสมรสนั้นได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส ส่วนจะใช่หรือไม่ หากกรณีมีข้อพิพาทกันก็ต้องให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งต่อไปครับ

คุณจะฟ้องขับไล่ใครก็ต้องมีกรรมสิทธิ์ในบ้านก่อน เมื่อตอนนี้คุณยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน ก็ยังไม่ยุติถึงขนาดที่จะไปฟ้องขับไล่ได้ครับ

แม้ต่อมาคุณมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินหรือบ้านหลังนั้นแล้ว แต่ก็มีสิทธิเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น หากฝ่ายหญิงเขาอ้างว่าอยู่อาศัยโดยได้รับอนุญาตจากสามีคุณก็ยังมีปัญหาว่าศาลจะมีคำพิพากษาขังไล่หรือไม่ แต่ไม่ตัดสิทธิคุณที่จะฟ้องร้องขออำนาจศาลเพื่อให้แยกสินสมรสก็ได้

ธนาคารคงไม่ดำเนินการอะไรให้ครับ นอกจากจะหาเงินไปชำระหนี้จำนองเสียก่อนครับ

ผู้ที่อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-05 22:21:34


ความคิดเห็นที่ 2 (1873354)

การมีกรรมสิทธิร่วม จะเกิดขึ้นได้ไหมคะในกรณีที่การกู้ได้เกิดขึ้นโดยสามีแล้ว  (หมายถึง จะขอชื่อเพิ่มในสัญญากู้ที่ทำกับธนาคาร....เป็นในฐานะพยาน จะถือว่า มีกรรมสิทธิร่วมหรือเปล่าคะ 

การเป็นพยานในการกู้ (เมื่อบ้านจำนองกับธนาคาร)นั้น ของภรรยา ถือว่าเป็นการให้สัตยาบันหรือไม่ และหากใช่  จะถือว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิร่วมหรือเปล่าคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เหมียว วันที่ตอบ 2008-12-06 16:47:24


ความคิดเห็นที่ 3 (1873356)

....ที่คุณลีนนท์ กล่าวว่า ไม่ตัดสิทธิภรรยาที่จะฟ้อง

สำหรับกึ่งหนึ่ง โดยให้แยกสินสมรส (ในย่อหน้าที่ 3) นั่นหมายถึง ต้องมีการหย่าก่อนหรือไม่คะ

และหากไม่หย่า จะขอเพิกถอนนิติกรรมนี้ได้หรือไม่

(หมายถึง ให้สัญญากู้ที่ทำไว้ เป็นอันโมฆะได้หรือไม่คะ)

ผู้แสดงความคิดเห็น เหมียว วันที่ตอบ 2008-12-06 16:51:53


ความคิดเห็นที่ 4 (1873416)

1. การมีกรรมสิทธิ์ร่วม จะมีผลได้เมื่อมีคำส้งศาล ดังนั้นในกรณีที่คุณต้องการมีกรรมสิทธิ์ร่วม ถ้าไม่สามารถให้เกิดขึ้นโดยความยินยอม ก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งว่าเรามีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น

ในกรณีที่จะขอเพิ่มชื่อในโฉนดก็ต้องแล้วแต่เจ้าหนี้ครับ หากเจ้าหนี้ยินยอมก็ไม่มีปัญหา แต่โดยปกติเขาไม่ยินยอมนอกจากมีคำสั่งศาลครับ

ในฐานะพยานไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมแน่นอน เพราะตามตรรก แล้วก็ไม่ได้เพราะคนลงลายมือชื่อในฐานะพยานจะมีฐานะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมก็คงแปลกไปละครับ

การทีคู่สมรสลงลายมือชื่อในฐานะเป็นพยานย่อมเป็นการให่สัตยาบันในการเป็นหนี้นั้น หมายถึง หนี้นั้นภรรยาเป็นหนี้ร่วม แต่ไม่เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วม

ต้องพิจารณาว่า เป็นพยานเรื่องอะไร  การเป็นพยานเพื่อแสดงว่ารับรู้ในการทำสัญญานั้น ๆ เช่น สามีกู้เงิน 1 ล้านบาน ภริยาลงลายมือชื่อเป็นพยาน ศาลวินิจฉัยว่า ให้สัตยาบัน ภริยาต้องผูกพันในหนี้นั้น

ไม่ต้องมีการหย่าก็แยกสินสมรสได้ แต่ต้องให้ศาลสั่ง พูดเข้าในง่ายก็คือ ฟ้องต่อศาลนั่นเอง แต่การทำอย่างนั้นอาจนำไปสู่ความแตกแยกในครอบครัว

ส่วนการเพิกถอนนิติกรรมต้องมีเหตุเพิกถอน เช่น ทำนิติกรรมจำนองที่ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสตามที่กฎหมายกำหนด

แต่ในทางปฏิบัติแม้กฎหมายจะให้ถือว่าเป็นสินสมรสแต่ในเมื่อคุณไม่ได้มีส่วนชำระเงินในทรัพย์สินนั้น การฟ้องร้องอาจนำมาสู่ความไม่เข้าใจในครอบครัว

สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะแน่นอน แต่ถ้าคุณลงชื่อเป็นพยาน อาจขอให้ธนาคารลงชื่อคุณเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมได้ แล้วแต่เจ้าหนี้ธนาคารจะเห็นเป็นประการใด

 

ขอให้คุณทำใจลงบ้างนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-06 21:52:19



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล