ReadyPlanet.com


การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน


ถ้าในกรณีที่นางมรกตได้ฟ้องหย่าสามี (นายคำรณ) โดยในคำฟ้องหย่าได้ระบุไว้ว่า ว่าการหย่ามีสาเหตุจากสามีทิ้งร้างเกิน 3 ปี และสามีไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่น ตั้งแต่ปี 46 (ไม่ได้ระบุว่าเป็นใคร) และศาลพิพากษาตามยอมให้หย่าแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 49 ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 50 นางมรกตได้มาฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนางสาวอ้อย โดยอ้างว่านางสาวอ้อยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนายคำรณเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 48 (แต่ในคำฟ้องหย่าไม่ได้ระบุว่าเป็นนางสาวอ้อย)  โดยนางสาวอ้อยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรหรือแต่งงานกับนายคำรณแต่อย่างใดจนถึงปัจจุบัน  เป็นเพียงเพื่อนร่วมงานกัน ในกรณีโจทย์มีสิทธิ์เรียกค่าทดแทนกันได้หรือไม่ ซึ่งศาลให้โจทย์เป็นฝ่ายพิสูจน์หมายความว่าอย่างไร (อยากทราบว่าต้องพิสูจน์กันมากแค่ไหน) อายุความนับตั้งแต่วันที่โจทย์ทราบระบุไว้ในคำฟ้อง(ตุลาคม 48) ขาดอายุความหรือไม่


ผู้ตั้งกระทู้ นางสาวอ้อย :: วันที่ลงประกาศ 2008-12-01 14:29:34


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1871528)

การเรียกค่าทดแทนเพราะเหตุหญิงอื่นมามีความสัมพันธ์ฉันชูสาวกับสามีต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ว่าถูกละเมิดจากหญิงอื่นนั้น

จากคำถามนั้นเห็นว่าน่าจะขาดอายุความแล้วหรือหมดสิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนแล้ว และยิ่งไม่มีหลักฐานหรือเขาเป็นเพียงเพื่อนร่วมงานก็คงยากที่จะพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่ามีการละเมิดตามคำฟ้องครับ

การที่ศาลให้โจทก์เป็นฝ่ายพิสูจน์ความผิดหมายความว่า ต้องแสดงให้ศาลเชื่อว่านางสาวอ้อยมีพฤติกรรมอย่างที่กล่าวอ้างในคำฟ้องจริงครับ

 

มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามี มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น

สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้

มาตรา 1529 สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุใน มาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือ มาตรา 1523 ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วัน ผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้น กล่าวอ้าง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-01 21:37:18


ความคิดเห็นที่ 2 (1872613)

แล้วถ้าฝ่ายจำเลย (นางสาวอ้อย) ให้การปฏิเสธ และสามีเก่าของโจทย์ (นายคำรณ) ก็ไปเป็นพยานให้ว่าไม่ได้มีความสัมพันธ์กัน  จำเลยเป็นเพียงผู้บังคำบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชากันเท่านั้น จำเป็นต้องหาหลักฐานอื่นมายืนยันอีกหรือไม่  หรือโจทย์เขาต้องพิสูจน์เอง

ผู้แสดงความคิดเห็น นางสาวอ้อย วันที่ตอบ 2008-12-04 11:18:54


ความคิดเห็นที่ 3 (1872844)

เป็นภาระของโจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็น แต่ จำเลยก็นำสืบว่าเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ตามที่บอกมาก็จะสนุนให้ความจริงกระจ่างขึ้น

ในเมื่อความจริงไม่ใช่ก็ต้องแก้ต่างไปครับ เพราะเราก็ไม่รู้ว่าโจทก์มีหลักฐานเด็ดอะไร หากไม่ได้เป็นดังที่เขากล่าวหาก็ไม่ต้องกังวลครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-04 17:36:48



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล