ReadyPlanet.com


รบกวนท่านผู้รู้ช่วย ผมหาข้อมูลทำรายงาน เรื่อง ตัวอย่างฏีกา ป.วิอาญา ภาค 5 พยานหลักฐาน หมวด 1


คืออยากได้ตัวอย่างฏีกา ประกอบมาตรา 228-230 ครับผม หาในกูเกิ้ลไม่ค่อยจะเจอ ขอบคุณครับ


ผู้ตั้งกระทู้ กานต์ (kttzex-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2008-11-30 16:59:18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1871207)

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2544

ป.วิ.อ. มาตรา 176, 228

พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 11, 13

 

การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย เนื่องจากต้องการทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบดุลพินิจว่าในการกำหนดโทษแก่จำเลย มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย เมื่อปรากฏตามรายงานการสืบเสาะและพินิจว่าจำเลยได้พรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 วรรคแรก แม้จะเป็นความจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏต่อศาล ถึงแม้ตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบ ก็เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยจึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้

การที่ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาวินิจฉัยยกฟ้องจำเลย แต่เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามรายงานปรากฏว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจแน่ใจได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 และแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่หากยังไม่แน่ใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงแล้วศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตามมาตรา 176 และมาตรา 228 ดังนั้น เมื่อปรากฏจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติว่าการกระทำของจำเลยขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลยเพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างแจ้ง ศาลฎีกาจึงให้สืบพยานเพิ่มเติมว่าจำเลยพาผู้เยาว์ไปเสียจากอำนาจปกครองของมารดาเพื่อจะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจริงหรือไม่ โดยส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบให้ เสร็จแล้วให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัยต่อไปตามมาตรา 208(1) ประกอบมาตรา 225

 

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพรากนางสาวเนตรพิศ เก้าเอี้ยนอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเสียจากนางสุทิน เวียนวัตรผู้เสียหาย ซึ่งเป็นมารดาและผู้ปกครองดูแลโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยทั้งนี้เพื่อการอนาจาร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก ลงโทษจำคุก 2 ปีจำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก1 ปี จำเลยต้องโทษจำคุกเมื่อปี 2540 จึงไม่อาจรอการลงโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้

จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ

ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจได้ความว่าการที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปเสียจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายก็เพื่อประสงค์จะพาผู้เยาว์ไปอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยามิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษจำคุก จึงไม่เป็นประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอีกต่อไป พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับฟังข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติมายกฟ้องโจทก์ชอบหรือไม่ เห็นว่าที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยก็เนื่องจากศาลชั้นต้นรับฟังตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องแต่ทั้งนี้เพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบดุลพินิจว่าสมควรกำหนดโทษแก่จำเลยสถานใด เพียงใด และเพื่อกำหนดวิธีการหรือเงื่อนไขอันสมควรและเหมาะสมที่จะปฏิบัติต่อจำเลยไปเท่านั้นมิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นด้วย เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติว่าการกระทำของจำเลยที่พานางสาวเนตรพิศผู้เยาว์ไปเสียจากอำนาจปกครองของนางสุทินมารดาก็เพื่อประสงค์จะพานางสาวเนตรพิศผู้เยาว์ไปอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยานั่นเอง จึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 วรรคแรก ข้อเท็จจริงดังกล่าวแม้จะเป็นความจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบในชั้นพิจารณาให้ปรากฏต่อศาล ถึงแม้ตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาพ.ศ. 2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 11 โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบก็ตาม แต่ก็เป็นการรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยไม่ จึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9นำข้อเท็จจริงจากรายานของพนักงานคุมประพฤติมาวินิจฉัยยกฟ้องจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา แต่เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามรายงานของพนักงานคุมประพฤติปรากฏว่าการกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารอันจะเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจแน่ใจได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227ซึ่งในคดีอาญานั้นแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ยังมีหน้าที่จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 ว่าจะลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ถ้าเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด หรือคดีขาดอายุความแล้วหรือมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษศาลต้องยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป ศาลจะลงโทษจำเลยได้ก็แต่เมื่อเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายเท่านั้นและเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคแรก ก็ได้บัญญัติว่าในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่.... ตามบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าแม้ในคดีที่มีข้อหาความผิดที่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีไปได้โดยมิต้องสืบพยานก็ตามแต่หากยังไม่แน่ใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่แล้ว ศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ มิใช่ต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยเสียทีเดียว นอกจากนี้ในระหว่างพิจารณาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 ยังให้ศาลมีอำนาจโดยพลการที่จะสืบพยานเพิ่มเติมได้ด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติว่าการกระทำของจำเลยขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลย เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างแจ้งศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าจำเลยพานางสาวเนตรพิศผู้เยาว์ไปเสียจากอำนาจปกครองของนางสุทินมารดาก็เพื่อประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติจริงหรือไม่ โดยส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบให้ และเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานในประเด็นดังกล่าวแล้ว ให้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 9เพื่อวินิจฉัยต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(1) ประกอบมาตรา 225"

พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้ส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นว่า จำเลยพานางสาวเนตรพิศผู้เยาว์ไปเสียจากอำนาจปกครองของนางสุทินมารดาเพื่อประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาจริงหรือไม่ แล้วให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

( อำนวย เต้พันธ์ - สมชาย จุลนิติ์ - ชวลิต ตุลยสิงห์ )

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-01 09:32:57


ความคิดเห็นที่ 2 (1871244)

ตัวอย่างอื่น

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2531

ป.วิ.อ. มาตรา 228

 

ในคดีอาญา ศาลสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ที่ไม่มาศาลไปแล้วต่อมาระหว่างสืบพยานจำเลย พยานมาศาล เนื่องจากเป็นประจักษ์พยานโจทก์เพียงปากเดียวที่รู้เห็นเกี่ยวกับประเด็นในคดีศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้สืบพยานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228.

 

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,371, 91 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้องลดโทษหนึ่งในสามแล้ว จำคุกตามมาตรา 288 มีกำหนด 10 ปี และปรับตาม มาตรา 371 เป็นเงิน 40 บาท จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "โจทก์มีนายคำเพ็ชรหรือเพชร ไชยนานเป็นประจักษ์พยานเบิกความว่า ขณะที่พยานกำลังเล่นกับสุนัขอยู่หน้าห้องพักคนงานและมีผู้ตายเข้ามาหยอกล้อพยานอยู่นั้น จำเลยได้มาขอร้องไม่ให้ส่งเสียงดัง ผู้ตายไม่พอใจได้ถีบจำเลยไป 1 ทีจำเลยกลับเข้าไปเอามีดในห้องพักจำเลยออกมาและร้องท้าทายผู้ตายซึ่งกลับเข้าไปดื่มสุราในห้องพักนายดำ เมื่อผู้ตายออกมาก็ถูกจำเลยแทง 1 ที ผู้ตายถอยเข้าไปในห้องพักหยิบเอาไม้ออกมาตีจำเลยจำเลยจึงใช้มีดแทงอีก 1 ที แล้ววิ่งหนีไป เห็นว่า นายคำเพ็ชรหรือเพชรไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุกับจำเลย ทั้งคำเบิกความดังกล่าวก็ตรงกับที่ได้เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนตามเอกสารหมาย จ.9จึงเชื่อว่า ประจักษ์พยานโจทก์ปากนี้ได้เบิกความไปตามความจริงที่รู้เห็นมา นอกจากนี้โจทก์ยังมีสิบตำรวจโทสาโรจน์ รอดมณีผู้จับกุมจำเลยเบิกความว่า ชั้นจับกุมจำเลยให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.1 และพันตำรวจโทบำรุงฤทธิ์ มหารักขกะ พนักงานสอบสวนเบิกความว่า ชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.7 และนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพตามเอกสารหมายจ.8 ซึ่งคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยดังกล่าวก็สอดคล้องกับคำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์ที่ว่าจำเลยไปขอร้องไม่ให้ผู้ตายทำเสียงดังผู้ตายไม่พอใจถีบจำเลย จำเลยจึงเข้าไปเอามีดปลายแหลมในห้องออกมาแทงผู้ตาย พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงที่จำเลยนำสืบว่า ผู้ตายได้ออกมาจากห้องนายดำแล้วใช้ไม้ตีฝาใกล้ห้องพักจำเลย จำเลยจึงมาขอร้องผู้ตายให้กลับไปนอนแต่ผู้ตายกลับท้าทายจำเลยแล้วมีเสียงร้องจากห้องนายดำว่าให้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับผู้ตาย ผู้ตายเข้าใจว่าเป็นเสียงจำเลยนั้น ขัดต่อเหตุผล เพราะเมื่อเสียงที่ร้องให้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับจำเลยดังมาจากในห้องพักของนายดำเช่นนี้ ผู้ตายจะเข้าใจว่าเป็นเสียงของจำเลยได้อย่างไร เนื่องจากขณะนั้นจำเลยเองก็อยู่ข้างนอกห้องพักเช่นเดียวกับผู้ตาย นอกจากนี้การที่ผู้ตายทำเสียงเอะอะแล้วมีผู้ร้องบอกให้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับผู้ตายก็ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร แม้ผู้ตายจะเข้าใจว่าจำเลยเป็นผู้ร้องแต่ผู้ตายก็ได้ด่าและถีบจำเลยซึ่งน่าจะเป็นการเพียงพอแล้ว จึงไม่น่าเชื่อว่าผู้ตายจะใช้ไม้ไล่ตีจำเลยเข้าไปในห้องอีกดังที่จำเลยนำสืบส่วนที่จำเลยฎีกาว่าการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบนายคำเพ็ชรหรือเพชรประจักษ์พยานโจทก์เนื่องจากไม่ได้ตัวมาสืบ ต่อมาเมื่อสืบตัวจำเลยซึ่งอ้างตัวเองเป็นพยานเสร็จแล้ว กลับอนุญาตให้โจทก์นำนายคำเพ็ชรหรือเพชรเข้าเบิกความอีกจึงเป็นการไม่ชอบเพราะทำให้จำเลยเสียเปรียบนั้น เห็นว่านายคำเพ็ชรหรือเพชรซึ่งศาลมีคำสั่งให้งดสืบเป็นพยานสำคัญเนื่องจากเป็นประจักษ์พยานโจทก์เพียงปากเดียวที่รู้เห็นเกี่ยวกับประเด็นในคดีดังนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้สืบพยานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228ทั้งการกระทำดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใดเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างสืบพยานจำเลย ซึ่งจำเลยมีโอกาสถามค้านและนำสืบหักล้างคำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์นั้นได้ พยานหลักฐานของจำเลยดังกล่าวมาจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุจำเลยได้ขอร้องผู้ตายไม่ให้ทำเสียงดังผู้ตายไม่พอใจจึงถีบจำเลยไป 1 ที จำเลยเข้าไปเอามีดปลายแหลมในห้องแล้วออกมาท้าทายผู้ตายซึ่งอยู่ในห้องพักนายดำให้มาสู้กัน เมื่อผู้ตายออกมาจำเลยก็ใช้มีดแทงผู้ตาย 1 ที ครั้นผู้ตายใช้ไม้ตีจำเลยจำเลยก็แทงผู้ตายอีก 1 ที ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการสมัครใจที่จะต่อสู้กับผู้ตาย หาเป็นการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะพิษบาดแผลที่ถูกแทง จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนาดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในข้อนี้"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

( สัมฤทธิ์ ไชยศิริ - ชูเชิด รักตะบุตร์ - ถาวร ตันตราภรณ์ )

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-01 10:33:43


ความคิดเห็นที่ 3 (1871251)

 

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 230

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538

ป.วิ.อ. มาตรา 221, 230

แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา230จะให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิมแต่ก็จำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้นส่วนมาตรา221ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็เฉพาะแก่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่จะรับประเด็นอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่าการที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ป่าไม้ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงโดยละเว้นการตรวจสอบไม้ดังกล่าวตามระเบียบของทางราชการกับกรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ในวันเดียวกันเพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 4, 5, 11, 69, 73, 74 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา90, 91, 157, 160, 162 และ ริบ ไม้ ของกลาง

จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ

ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง , 69 วรรคสอง (ที่ ถูก 69วรรคสอง (2)), 73 วรรคสอง (ที่ ถูก 73 วรรคสอง (2)) เรียง กระทงลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐาน ทำ ไม้หวงห้าม โดย ไม่ได้รับ อนุญาต จำคุก 3 ปี ฐาน มี ไม้หวงห้าม มิได้ แปรรูป ไว้ ใน ครอบครองโดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จำคุก 3 ปี รวม จำคุก 6 ปี ส่วน จำเลย ที่ 2มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 160, 162(1)(4) ให้ ลงโทษฐาน เป็น เจ้าพนักงาน ปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ ซึ่ง เป็น บทหนัก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลย ที่ 2 กระทำ ความผิด ตาม บท มาตราดังกล่าว 3 กรรม เรียง กระทง ลงโทษ โดย ให้ จำคุก กระทง ละ 2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ริบ ไม้ ของกลาง

จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ลดโทษ จำเลย ที่ 1หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก จำเลย ที่ 1มี กำหนด 4 ปี ความผิด ของ จำเลย ที่ 2 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162(1)(4) ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ข) และ ความผิด ของ จำเลย ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 160 ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ค) เป็น ความผิดกรรมเดียว กัน ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 อันเป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด เพียง บท เดียว ตาม ประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 2 ปี ให้ยก ฟ้องโจทก์สำหรับ จำเลย ที่ 2 ใน ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162(1)(4) ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ก) นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา ใน ศาลชั้นต้นที่ รับ ประเด็น อนุญาต ให้ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้ว คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษาว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา11, 69 วรรคสอง (2) 73 วรรคสอง (2) รวม 2 กระทง จำคุก กระทง ละ 3 ปีรวม จำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ลงโทษ จำคุกกระทง ละ 2 ปี รวม จำคุก 4 ปี เป็น เพียง แก้ไข เล็กน้อย ซึ่ง โทษ จำคุกแต่ละ กระทง ไม่เกิน 5 ปี คู่ความ จึง ต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ส่วนจำเลย ที่ 2 ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 160, 162(1)(4) (ตาม ฟ้อง ข้อ 2 (ก)(ข) และ (ค)) ให้ลงโทษ ตาม มาตรา 157 ซึ่ง เป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด รวม 3 กระทงจำคุก กระทง ละ 2 ปี รวม จำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้เป็น ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162(1)(4) ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ก) และ มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 160 ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ค) เป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบทให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 157 อันเป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด จำคุก 2 ปียกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 ใน ข้อหา ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา157, 162(1)(4) ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ก) ดังนั้น เฉพาะ ความผิด ตาม ฟ้องข้อ 2(ข) และ (ค) เป็น เพียง แก้ไข เล็กน้อย คู่ความ จึง ต้องห้าม ฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218 วรรคแรก ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา โดย มี ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณาใน ศาลชั้นต้น ที่ รับ ประเด็น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง นั้นเห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 230 ที่ ให้อำนาจศาล ที่ พิจารณา คดี ส่ง ประเด็น ให้ ศาล อื่น สืบพยาน หลักฐาน แทน นั้นแม้ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว จะ มี ข้อความ ระบุ ให้ ศาล ที่ รับ ประเด็น มีอำนาจ และ หน้าที่ ดัง ศาล เดิม และ ศาล ที่ รับ ประเด็น มีอำนาจ ส่ง ประเด็นไป ยัง ศาล อื่น อีก ต่อ หนึ่ง ได้ ก็ ตาม ความหมาย ก็ คง จำกัด อยู่ ใน ขอบ อำนาจของ การ สืบพยาน หลักฐาน แทน ตาม ที่ ได้รับ มอบหมาย ให้ ลุล่วง ไป เท่านั้นและ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ที่ ให้ อำนาจแก่ ผู้พิพากษา คนใด ซึ่ง พิจารณา หรือ ลงชื่อ ใน คำพิพากษา หรือ ทำความเห็น แย้ง ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ได้ นั้น ก็ โดย มุ่งหมาย ให้ อำนาจ แก่ ผู้พิพากษา ใน ศาลที่ พิจารณา คดี นั้นเอง เพราะ เป็น ผู้ ทราบ ดี ว่า ควร จะ อนุญาต หรือไม่อนุญาต ส่วน ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา ใน ศาล ที่ รับ ประเด็น นั้นเป็น เพียง สืบ แทน เฉพาะ พยานหลักฐาน ที่ ศาล ที่ พิจารณา คดี ส่ง มา หา ได้ทราบ ถึง ข้อเท็จจริง ทั้ง สำนวน ไม่ตลอด ทั้ง การ วินิจฉัย คดี ก็ มิได้เกี่ยวข้อง ด้วย การ อนุญาต ให้ ฎีกา จึง ไม่ชอบ ด้วย บทบัญญัติ ดังกล่าวข้างต้น ผล จึง เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง ยัง คง ต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา โต้เถียง ดุลพินิจ การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ซึ่ง วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 รู้ อยู่ แล้วว่า ไม้ ของกลาง เป็น ไม้หวงห้าม จึง คบคิด กัน กับ จำเลย ที่ 2 กระทำ ความผิดก็ ดี จำเลย ที่ 2 ฎีกา ขอให้ รอการลงโทษ ด้วย ก็ ดี เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย

โจทก์ ฎีกา ใน ข้อ ต่อไป ว่า การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม ฟ้องข้อ 2(ข) และ (ค) เป็น ความผิด หลายกรรม ต่างกัน โดย คดี ฟัง เป็น ยุติว่า จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ เจ้าพนักงาน ได้ กระทำผิด ฐาน ปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ และ กรอก ข้อความ ลง ใน เอกสาร รับรอง เป็นหลักฐาน ซึ่ง ข้อเท็จจริง อัน เอกสาร มุ่ง พิสูจน์ ความจริง อันเป็นเท็จกล่าว คือ จำเลย ที่ 2 ได้ กรอก ข้อความ ลง ใน ใบเบิก ทาง นำ ไม้ เคลื่อนที่ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 อันเป็น ความเท็จ ว่า ไม้ ที่ นำ เคลื่อนที่นั้น เป็น ไม้เตียว นอก ประเภท หวงห้าม ความจริง ไม้ ที่ นำ เคลื่อนที่ นั้น เป็น ไม้จิกนม ซึ่ง เป็น ไม้หวงห้าม ประเภท ก. เพื่อ ให้ นาย สมจิตต์ ลักขณา รักษา ราชการ แทน นายอำเภอ ทุ่งใหญ่ เชื่อ ว่า เป็น ความจริง และ ออก ใบเบิก ทาง นำ ไม้ เคลื่อนที่ ดังกล่าว ให้ อันเป็น ความผิด ตาม ฟ้องข้อ 2(ข) นั้น เป็น ความผิด กรรมหนึ่ง กับ คดี ฟัง เป็น ยุติ ว่า จำเลยที่ 2 ได้ กระทำผิด ฐาน เป็น เจ้าพนักงาน ปฏิบัติ หรือ ละเว้น การ ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ กล่าว คือ จำเลย ที่ 2 ได้ ใช้ ดวงตรา ประจำตัว"ต.5201" ของ ทางราชการ กรมป่าไม้ ตี ประทับ ที่ หน้า ตัด ไม้ซุง ของกลางบริเวณ หน้าที่ ว่าการ อำเภอ ทุ่งใหญ่ โดย ไม่ได้ ไป ตรวจสอบ ยัง สถานที่ ตัด ฟัน ไม้ ตาม ระเบียบ ของ ทางราชการ โดย ปรากฏว่า ไม้ ของกลาง เป็น ไม้จิกนม อันเป็น ไม้หวงห้าม ประเภท ก. มิใช่ ไม้เตียว ซึ่ง เป็น ไม้ นอก ประเภท หวงห้าม อันเป็น ความผิด ตาม ฟ้อง ข้อ 2(ค) อีก กรรมหนึ่งแยก ต่างหาก จาก ความผิด ข้างต้น นั้น เห็นว่า ข้อ ปฏิบัติ เกี่ยวกับการ ทำ ไม้ นอก ประเภท หวงห้าม นั้น กรมป่าไม้ ได้ วาง แนว ปฏิบัติ ไว้ ตามเอกสาร หมาย จ. 11 มี ใจความ ว่าการ ตรวจสอบ ไม้ ตาม คำขอ ให้ อยู่ ใน ความรับผิดชอบ ของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้ตรวจสอบ ชนิด จำนวน ไม้ ซึ่ง จะต้อง แน่ชัด ว่า บริเวณ ที่ ตัด ไม้ มิใช่ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติเขต รักษา พันธุ์ สัตว์ป่า บริเวณ ต้นน้ำ ลำธาร หรือ ตาม ไหล่ เขา แล้วจึง จะ รับรอง ให้ โดย ใช้ ตรา ประจำตัว เลข เรียง แสดง ท่อน และ ต้น เลข เรียงประจำ ท่อน และ ปี พ.ศ. ตี ประทับ ที่ หน้า ตัด ไม้ แต่ละ ท่อน ที่ หน้า ตอ ไม้ทุก ตอ เสร็จ แล้ว ทำ บันทึก ผล การ ตรวจสอบ บัญชี ไม้ และ แผนที่ ป่า โดย สังเขปซึ่ง จะ ใช้ เป็น หลักฐาน เพื่อ ให้ นายอำเภอ ท้องที่ ออก ใบเบิก ทาง นำ ไม้เคลื่อนที่ จาก ตอ ไม้ ต่อไป เห็น ได้ว่า การ ตรวจสอบ การ ทำ ไม้ ซึ่ง รวมทั้ง การ ใช้ ตรา ประจำตัว ประทับ ที่ ตอ ไม้ และ หน้า ตัด ตอ ไม้ เป็น ขั้นตอนต่อเนื่อง กับ การ นำ ไม้ เคลื่อนที่ ออกจาก ป่า ดังนั้น การ ที่ จำเลย ที่ 2ใช้ ตรา ประจำตัว ประทับ ที่ หน้า ตัด ไม้ซุง หน้าที่ ว่าการ อำเภอ ท้องที่โดย ละเว้น การ ตรวจสอบ ไม้ ของกลาง ตาม ระเบียบ ปฏิบัติ ข้างต้น กับการ ที่ จำเลย ที่ 2 กรอก ข้อความ อันเป็นเท็จ ลง ใน ใบเบิก ทาง นำ ไม้เคลื่อนที่ ดังกล่าว มา ข้างต้น ซึ่ง ทำ ขึ้น ใน วันเดียว กัน ก็ เพื่ออำพราง ให้ ถูกต้อง ตาม ขั้นตอน ของ ระเบียบ ที่ ทางราชการ วาง ไว้ และเพื่อ ให้ มี การ นำ ไม้ เคลื่อนที่ ไป ยัง จุดหมาย ปลายทาง ได้ สำเร็จ ลุล่วงไป การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 จึง เป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบทหาใช่ การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 เป็น สอง กรรม ต่างกัน ไม่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นเดียวกัน "

( ณรงค์ ตันติเตมิท - บุญธรรม อยู่พุก - ปรีชา บูรณะไทย )

หมายเหตุ

(1)ในการใช้กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆแห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4วรรคแรก)จะเห็นได้ว่านอกจากจะใช้กฎหมายตามตัวอักษรแล้วยังต้องใช้ตามความมุ่งหมายซึ่งหมายความว่าจะต้องเป็นความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆเท่านั้นไม่ใช่ไปเอาความมุ่งหมายจากที่อื่นเช่นจากที่ประชุมร่างกฎหมายหรือผู้ร่างกฎหมายฯลฯเป็นต้นอาจเป็นการใช้ตามตัวอักษรหรือความมุ่งหมายดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างประกอบกันก็ได้

(2)ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา230บัญญัติไว้มีใจความว่าเมื่อจำเป็นศาลมีอำนาจส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานและให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา102บัญญัติไว้มีใจความว่าถ้าศาลที่พิจารณาคดีเห็นเป็นความจำเป็นให้มีอำนาจตั้งให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนได้ให้ศาลที่ได้รับแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับศาลที่พิจารณาคดี

ตามมาตรา230และ102ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ศาลส่งประเด็นหรือรับประเด็นศาลที่รับประเด็นหรือศาลที่สืบพยานหลักฐานแทนศาลเดิมข้อที่ว่าศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิมก็ดีหรือศาลที่ได้รับแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับศาลที่พิจารณาคดีก็ดีเป็นข้อความที่บัญญัติต่อมาจากข้อความตอนแรกที่ว่าให้ศาลมีอำนาจส่งประเด็นหรือตั้งให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนฉะนั้นจึงต้องตีความว่าอำนาจและหน้าที่นั้นมีเพียงภายในขอบเขตที่รับประเด็นหรือรับมอบให้สืบพยานหลักฐานเท่านั้นไม่ใช่ว่ามีอำนาจหน้าที่ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกับศาลเดิมหรือศาลที่แต่งตั้§กล่าวง่ายๆศาลที่รับประเด็นหรือรับแต่งตั้งถูกจำกัดให้มีอำนาจและหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้นอันเป็นการใช้กฎหมายตามความมุ่งหมายตามบทบัญญัติมาตรา230และ102ดังกล่าวเช่นรับมอบให้สืบนาย ก. พยานโจทก์ก็ต้องสืบเฉพาะนาย ก.พยานโจทก์จะสืบพยานอื่นไม่ได้ถ้าสืบพยานอื่นก็ย่อมเป็นการนอกเหนือจากที่ได้รับมอบหรือรับมอบให้สืบพยานบุคคลของจำเลยตามบัญชีระบุพยานอันดับที่1ถึง3ก็สืบพยานบุคคลของจำเลยตามบัญชีตามอันดับดังกล่าวเท่านั้นนอกจากนี้ยังมีอำนาจหน้าที่ในการสั่งคำขอและออกหมายเรียกพยานบุคคลตามที่ได้รับมอบหมายให้สืบพยานแทนมิฉะนั้นก็ไม่ได้ตัวพยานมาสืบแต่ไม่มีอำนาจหน้าที่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมสั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การสั่งงดสืบพยานที่ได้รับมอบหมายให้สืบหรือพยานอื่นของคู่ความถ้าสืบไม่ได้ตามที่ได้รับมอบหมายก็เพียงแต่จดแจ้งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาเพื่อให้ศาลที่ส่งประเด็นหรือแต่งตั้งให้สืบพยานแทนได้พิจารณาถ้าคู่ความฝ่ายใดยื่นคำร้องคำขอหรือคำแถลงที่ไม่เกี่ยวกับกาÃสืบพยานที่ได้รับมอบหมายเข้ามาก็ต้องสั่งไม่รับหรือรับไว้แล้วส่งไปให้ศาลเดิมที่พิจารณาคดีเพื่อสั่งต่อไป

(3)คดีนี้ศาลฎีกากล่าวไว้อย่างถูกต้องว่าศาลที่รับประเด็นมีอำนาจหน้าที่ดังศาลเดิมจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้นฉะนั้นคดีนี้ผู้พิพากษาที่พิจารณาในศาลที่รับประเด็นจึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเพราะไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ได้รับมอบหมายให้สืบพยานหลักฐานแทน

 

ไพจิตรปุญญพันธุ์

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-01 10:44:55



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล