ReadyPlanet.com


ทำอย่างไรดีกับมรดก ถ้ามีทายาท ตาม มารดา มาก


เรียน คุณ ลีนนท์  ที่นับถือ

ดิฉันมีปัญหาว่า  ดิฉันแต่งงานกับผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่ง เคยผ่านการมีคู่ครองมาแล้ว 2 ครั้ง  ครั้งที่ 1  ไม่ได้แต่งงาน ไม่ได้จดทะเบียนสมรส  แต่มีบุตร 1 คน (ซึ่งได้รับการรับรองบุตร และนำมาเลี้ยงดู)  ครั้งที่ 2 แต่งงาน จดทะเบียนสมรส มีบุตร 1 คน (ซึ่งได้หย่าขาดจากกันก่อนที่จะแต่งงานกับดิฉัน และบุตรคนนั้น ทางฝ่ายญาติฝ่ายหญิงนำไปเลี้ยง)  ครั้งที่ 3 แต่งงานกับดิฉัน และจดทะเบียนสมรส  มีบุตรด้วยกัน 2 คน 

ดิฉันไม่เข้าใจว่า หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ทรัพย์สมบัตรจะต้องจัดการอย่างไร แล้วใครจะเป็นทายาทบ้าง และ ถ้าหากเราต้องการป้องกันที่จะให้มรดก หรือทรัพย์สินที่เกิดขึ้นมาด้วยกัน  ไม่ให้ตกไปอยู่กับบุตรคนที่ 2  เราจะต้องทำอย่างไร

บุตรคนที่ 2 สามารถที่จะฟ้องร้องขอแบ่งมรดกได้หรือไม่

และทรัพย์สินที่เกิดจากการที่มารดาของดิฉันยกให้ ซึ่งเป็นมรดกส่วนตัวของดิฉันนั้น ต้องกลายมาเป็นมรดกให้ผู้อื่น ซึ่งมิใช่ทายาทที่เกิดกับดิฉันรึเปล่า ค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ นัท :: วันที่ลงประกาศ 2008-12-25 13:30:57


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1880883)

เมื่อพิจารณาแล้วขอตอบดังนี้

เมื่อสามีคุณเสียชีวิต ผู้ที่จะเป็นทายาทรับมรดกคือ

บุตรทุกคนของเขารวมทั้งคุณด้วยครับ

แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สินสมรส กับมรดก ไม่เหมือนกันนะครับ

สินสมรสก็คือ

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

เมื่อทราบว่าอะไรเป็นสินสมรส เมื่อคู่สมรสเสียชีวิตก็นำสินสมรสมาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคุณก็เอาไป อีกส่วนหนึ่งก็เป็นมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิต

เมื่อทราบว่าส่วนที่แบ่งแล้วเป็นมรดกของผู้ตายก็นำจำนวนทายาทตามที่ผมแจ้งไว้ข้างต้นมาเฉลี่ยมรดกให้ได้ส่วนเท่า ๆ กันทุกคนครับ

ส่วนทรัพย์ที่มารดาคุณยกให้นั้นไม่เป็นสินสมรสครับ แต่เป็นสินส่วนตัวของคุณและไม่มีใครจะมามีส่วนได้เสียในทรัพย์ของคุณนอกจากเมื่อคุณอาจเสียชีวิตและกลายเป็นมรดกของคุณทายาทของคุณจึงจะมีสิทธิในทรัพย์มรดกของคุณครับ

เรื่องที่จะไม่ให้มรดกตกไปเป็นของบุตรคนที่สองนั้นทำไม่ได้ครับ นอกจากเจ้าของทรัพย์จะได้จำหน่าย จ่าย โอนให้ใคร โดยการให้โดยเสน่หาก็สามารถทำได้ครับ หรือ ทำพินัยกรรมยกให้ใครทั้งหมดหรือยกให้วัด หรือให้ตกเป็นของแผ่นดินก็ได้ครับ

เมื่อทำพินัยกรรมแล้ว คนที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมก็จะไม่ได้รับทรัพย์มรดกใด ๆ ครับ

หากมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจในคำตอบสอบถามมาใหม่นะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-25 20:42:45


ความคิดเห็นที่ 2 (1881305)

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ยังไม่เข้าใจข้อ 2 ค่ะ  ถ้ามารดาของดิฉัน ยกบ้านให้เป็นชื่อดิฉันคนเดียว 1 หลัง ก็คือว่า เป็นสินสมรส หรือว่าสินส่วนตัวค่ะ

แล้วขอถามอีกข้อ น่ะค่ะ เกี่ยวกับการเบิกค่าเทอม ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่ คู่สมรสดิฉัน (ชาย) มีสิทธิ์ในการเบิกของกรมบัญชีกลาง  อยากทราบว่า ถ้าเราไม่เคยเบิกให้ลูกคนที่ 2 เลย (และในปัจจุบันเค้าก็ได้เปลี่ยนชื่อ และ นามสกุลไปใช้ของฝ่ายมารดาของเค้าแล้ว และใช้สิทธิ์เบิก 30 บาท) เราสามารถเบิกโดยใช้สิทธิ์เป็นลูกคนที่ 3 ได้หรือเปล่าค่ะ

ถ้า

ผู้แสดงความคิดเห็น นัท วันที่ตอบ 2008-12-26 16:54:09


ความคิดเห็นที่ 3 (1881307)
ลืมบอกไปว่า ในกรณีที่จะมีลูกเพิ่มอีกคน ซึ่งจะกลายเป็นคนที่ 4 ของฝ่ายชาย
ผู้แสดงความคิดเห็น นัท วันที่ตอบ 2008-12-26 16:55:43


ความคิดเห็นที่ 4 (1881350)

ยังไม่เข้าใจข้อ 2 ค่ะ  ถ้ามารดาของดิฉัน ยกบ้านให้เป็นชื่อดิฉันคนเดียว 1 หลัง ก็คือว่า เป็นสินสมรส หรือว่าสินส่วนตัวค่ะ

*

เมื่อการยกให้ไม่ได้ระบุว่าให้เป็นสินสมรส ทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัวครับ

---

สำหรับค่าเทอม และค่ารักษาพยาบาลเมื่อเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็สามารถใช้สิทธิได้ทุกคนครับ ไม่ว่าคนใดจะได้เปลี่ยนนามสกุลไปใช้นามสกุลอื่นก็ไม่ทำให้ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต้องระงับสิ้นไป

ทางบิดาเจ้าของสิทธิน่าจะทราบดีนะครับของสอบถามเขาดูครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-26 19:11:29



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล