ReadyPlanet.com


ม. 1476 (5)


จาก ม. 1476 (5)

ตามหน้าที่ธรรมจรรยา หมายความอย่างไร

จะใช้กับกรณีเหตุอ้างเพื่ออีกครอบครัวหนึ่งได้หรือไม่เช่น กรณีชายมีลูกกับหญิง (ชู้) แล้วซื้อที่อยู่อาศัยให้ลูกกับหญิงชู้อาศัย   จะถือเป็นข้อยกเว้น ใน (5) ได้หรือไม่ โดยที่ฝ่ายภรรยาไม่ต้องยินยอม



ผู้ตั้งกระทู้ ตูน :: วันที่ลงประกาศ 2008-12-13 14:18:01


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1876295)

มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความ ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยา จัดการได้มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

การให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยา หมายถึง การให้ซึ่งผู้ให้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องให้ แต่มีหน้าที่ทางศีลธรรมจรรยา อันเป็นความรู้สึกทางจิตใจที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับ เช่น การให้ทรัพย์สินแก่บุตร หรือญาติพี่น้องผู้มีอุปการะคุณ เช่น สามีมีที่ดิน 5 แปลง สามีโอนที่ดินให้บุตร 1 แปลง เช่นนี้เป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยา และการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยานี้ ก็ต้องพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวด้วยเช่นกัน*เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 4433/2536 “การที่ ง. สามียกที่ดินสินสมรสให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรหลานโดยเสน่หา มิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาด้วย เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้”**การให้สินสมรสโดยเสน่หานั้น คู่สมรสต้องให้ความยินยอมด้วย แต่การให้เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยานั้น หากไม่เกินแก่ฐานานุรูปของครอบครัวแล้ว ก็สามารถให้โดยลำพังได้

สำหรับกรณีของคุณ ถือว่าเป็นการให้มากเกินแก่ฐานานุรูปของครอบครัวครับ ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-13 23:19:14


ความคิดเห็นที่ 2 (1876297)

เพิ่มเติม

บุตรที่จะให้ตามฎีกาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของคู่สมรสครับ ไม่ใช่บุตรที่เกิดจากหญิงชู้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-13 23:21:56


ความคิดเห็นที่ 3 (1878005)

เรียนถามท่านลีนนท์เพิ่มนะคะ

....และหากกรณี บุตรดังกล่าวเป็นบุตรของหญิงชู้ แต่มี

การแจ้งชื่อเป็นบิดาเมื่อตอนเกิด และมีการเลี้ยงดู ให้การศึกษาโดยพฤตินัย  (ถือเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายได้หรือไม่) 

ชายจะอ้างเหตุการซื้อบ้านดังกล่าว โดยหน้าที่ธรรมจรรยาได้หรือไม่คะ  (โดยที่อาศัยเป็นข้อยกเว้น ว่าไม่ต้องได้รับการยินยอมจากภรรยา)

และภรรยาสามารถฟ้องเรียกแบ่งสินสมรส (จากบ้านที่ซื้อ)ให้ได้หรือไม่คะ

รบกวนท่านอธิบายให้ด้วยค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตูน วันที่ตอบ 2008-12-18 12:03:32


ความคิดเห็นที่ 4 (1878319)

การแจ้งชื่อเป็นบิดาเมื่อตอนเกิด และมีการเลี้ยงดู ให้การศึกษาโดยพฤตินัย  (ถือเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายได้หรือไม่) 

*

ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรก็ยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายครับ

มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบ ด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

แต่บุตรนอกกฎหมายดังกล่าวมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้ (ต้องเป็นกรณีบิดาเสียชีวิต)

มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

 

*

และภรรยาสามารถฟ้องเรียกแบ่งสินสมรส (จากบ้านที่ซื้อ)ให้ได้หรือไม่คะ

*

คุณควรฟ้องขอให้จดทะเบียนเพิ่มชื่อของคุณให้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-19 09:16:38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล