ReadyPlanet.com


พุทธพาณิชย์ถ้าจะเอาผิดกับกฎหมายวิอาญาได้ไหมครับ


ขอความคิดเห็นของแต่ละท่านครับ


ผู้ตั้งกระทู้ หะบ้าโยว (singchai15-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-01-07 14:36:47


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1884851)

ตามประมวลกฎหมายอาญา มีกฎหมายบัญญัติไว้ดังนี้

มาตรา 206 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 207 ผู้ใดก่อให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในที่ประชุมศาสนิกชนเวลาประชุมกัน นมัสการ หรือกระทำพิธีกรรมตามศาสนาใดๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 208 ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวชในศาสนาใดโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับคำถามคำว่า พุทธพาณิชย์ เป็นคำที่มีความหมายกว้างมากดังนั้นการที่จะนำกฎหมายใดมาปรับเพื่อลงโทษบุคคลก็ต้องพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด ดังนั้นตามคำถามจึงยังให้ความเห็นไม่ได้ครับ

ส่วนตามคำถามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นั้นไม่ทราบว่าเป็นกฎหมายในหมวดใดครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-01-07 16:08:50


ความคิดเห็นที่ 2 (1885186)
โทษทีคับ เกี่ยวกับ ก.อาญา อยากจะได้ความหมาย และประเภทเกี่ยวกับ คำว่า พุทธพาณิชย์ครับผม พอจะมีใครทราบบ้างไหมว่า มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ผู้แสดงความคิดเห็น หะบ้าโยว (singchai15-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-01-08 11:14:11


ความคิดเห็นที่ 3 (1885528)

ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ อาจเกี่ยวข้องกับคำถามคุณบ้าง

 

เมื่อวันที่ 10 ก.ย. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเชิงพาณิชย์ ซึ่งประกอบด้วย วธ. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงเทค โนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) มหา วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) สำนัก งานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และองค์กรของพุทธศาสนิกชนต่าง ๆ มีความเห็นร่วมกัน ว่าควรมีการห้ามใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา 3 สิ่ง ในเชิงพาณิชย์ ได้แก่ 1.รูปพระพุทธรูป 2.ตราธรรมจักร และ 3.พระสงฆ์ เนื่องจากเห็นว่าที่ผ่านมามีการนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น ซึ่ง วธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำหนังสือแจ้งให้มหาเถร สมาคม (มส.) รับทราบผลการประชุม และ จะรณรงค์ขอความร่วมมือหน่วยงานต่าง ๆ ผู้ประกอบการ ตลอดจนแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบว่า สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาประเภทใดไม่ควรนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป นายวีระ กล่าวต่อไปว่า สำหรับมาตร การทางกฎหมาย ที่ประชุมเห็นว่าควรใช้วิธีขอความร่วมมือก่อน หากขอแล้วยังมีผู้นำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินคดีตามกฎหมาย ที่มีอยู่ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206, 207, 208 พ.ร.บ.โบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เป็นต้น ส่วนปัญหาแผงพระที่ตั้งวางอย่างไม่เหมาะสมตามพื้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการได้มอบหมายให้ กทม.ศึกษาแนวทางแก้ไข 3 กรณี ได้แก่ 1.ให้อยู่ที่เดิมแต่ควรมีการตั้งโต๊ะสูงขึ้น 2.ให้ออกจากพื้นที่ และ 3.ทำตลาดแผงพระ หรือจัดโซนนิ่งให้เกิดความเหมาะสม โดยให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และควรให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้ามาเป็นคณะกรรมการด้วย เพราะเห็นว่าเป็นหน่วยงานที่ต้องให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนของชาติ “วธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังจะจัดทำหนังสือคู่มือต่าง ๆ ตลอดจนแผ่นพับธรรมเนียมปฏิบัติของคนไทยแจกจ่ายให้ความรู้แก่ประชาชนรวมถึงสถานทูตไทยทั่วโลก และด่านตรวจคนเข้าเมืองก่อนเข้าประเทศไทยให้ชาวต่างชาติได้ศึกษาด้วย ขณะที่ มจร. กับ มมร. จะนำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยพระ พุทธศาสนานานาชาติ ซึ่งจะมีตัวแทนสมาชิกกว่า 115 แห่ง จาก 29 ประเทศทั่วโลกมาร่วมประชุม ระหว่างวันที่ 13-15 กันยายนนี้ เพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ประเทศไทยยังจะนำปัญหานี้ไปหารือกับองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) อีกด้วย เพื่อประกาศให้ชาวพุทธที่อยู่ในประเทศต่าง ๆ ช่วยกันดูแลการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาอย่างเหมาะสม” ขณะที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ก็เตรียมจัดระเบียบพระนักเทศน์ทั่วประเทศ โดยนางจุฬารัตน์ บุณยากร ผอ.พศ. กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมมส.มีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 15 และมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2535 และระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา พ.ศ. 2550 นั้น ขณะนี้คณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เตรียมจัดระเบียบพระนักเทศน์ เพื่อต้องการให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน.

ข่าว : เดลินิวส์

http://news.212cafe.com/news28645.html

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-01-08 21:25:17



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล