ReadyPlanet.com


การโอนสิทธิเรียกร้อง


อปท.ได้ทำสัญญาโครงการก่อสร้างกับนาย ก ต่อมา

นาย ก ได้โอนสิทธิเรียกร้องให้นาย ข ในวันชำระเงิน

อปท.ได้โทรหานาย ข ว่าจะชำระเงินอย่างไร

นาย ข บอกว่าให้ชำระให้นาย ก ก็ได้เดี๋ยวจะไปเรียก

เก็บกับนาย ก ภายหลัง แต่ปรากฎว่านาย ข ไม่

สามารถเก็บเงินกับนาย ก ได้ เลยฟ้อง อปท.

ให้จ่ายเงินแทน ศาลชั้นต้นได้ตัดสิน อปท. จ่าย

เงินให้นาย ข แต่อปท.ได้อุทธรณ์ต่อ ขอถามน่ะค่ะ

1. ถ้า อปท.แพ้คดี อปท.มีสิทธิที่จะหน่วงการจ่ายเช็ค

ได้หรือไม่จนกว่าจะฟ้องนายก ก ได้

2. ในกรณีอย่างนี้ อปท. ต้องทำอย่างไร



ผู้ตั้งกระทู้ คนท้องถิ่น :: วันที่ลงประกาศ 2009-01-23 13:03:45


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1892098)

เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วก็ผูกพันคู่ความที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาและการอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับ

มาตรา 231 การยื่นอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์อาจยื่นคำขอต่อศาลอุทธรณ์ไม่ว่าเวลาใด ๆก่อนพิพากษา โดยทำเป็นคำร้องชี้แจงเหตุผลอันสมควรแห่งการขอ ให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการบังคับไว้

คำขอเช่นว่านั้น ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นต่อศาลชั้นต้นได้จนถึงเวลาที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ ถ้าภายหลังศาลได้มีคำสั่งเช่นว่านี้แล้ว ให้ยื่นตรงต่อศาลอุทธรณ์ ถ้าได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นก็ให้ศาลรีบส่งคำขอนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำขอไว้ ก็ให้มีอำนาจทำคำสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลอุทธรณ์ในคำขอเช่นว่านั้น

ถ้าผู้อุทธรณ์วางเงินต่อศาลชั้นต้นเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้สำหรับเงินจำนวนเช่นว่านี้จนเป็นที่พอใจของศาล ให้ศาลที่กล่าวมาแล้วงดการบังคับคดีไว้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 (1)

เมื่อได้รับคำขอเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินก็ได้ โดยมิต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าคำสั่งนี้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะได้ฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง ถ้าศาลมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้ตามที่ขอ คำสั่งนี้อาจอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขใด ๆ หรือไม่ก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ทำทัณฑ์บนว่าจะไม่ยักย้ายจำหน่ายทรัพย์สินของตนในระหว่างอุทธรณ์ หรือให้หาประกันมาให้ศาลให้พอกับเงินที่ต้องใช้ตามคำพิพากษาหรือจะให้วางเงินจำนวนนั้นต่อศาลก็ได้ ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ศาลจะสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้อุทธรณ์นั้นก็ได้ และถ้าทรัพย์สินเช่นว่านั้นหรือส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ ศาลอาจมีคำสั่งให้เอาออกขายทอดตลาดก็ได้ ถ้าปรากฏว่าการขายนั้นเป็นการจำเป็นและสมควร เพราะทรัพย์สินนั้นมีสภาพเป็นของเสียได้ง่ายหรือว่าการเก็บรักษาไว้ในระหว่างอุทธรณ์น่าจะนำไปสู่ความยุ่งยากหรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

ในเรื่องการฟ้องนาย ก. ซึ่งเป็นคนละคดีกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะให้ศาลมีคำสั่งให้รอคดีที่ฟ้องนาย ก. เพราะการที่ อปท ฟ้องนาย ก. ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะคดีก็ไม่มีผลที่จะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลที่ อปท แพ้คดีไปแล้ว

2. อปท ก็ผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่จะได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้ก่อน และถ้าศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-01-23 18:20:38


ความคิดเห็นที่ 2 (2199976)

เพิกถอนคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้อง
เมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่ผู้รับโอนแล้วโดยผู้รับโอนมีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ย่อมสมบูรณ์ และหากการโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ยังไม่มีการยกเลิกกันโดยชอบ สิทธิของผู้โอนที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นย่อมตกเป็นของผู้รับโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้อีก การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไปยังผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ลูกหนี้มีสิทธิยื่นคำร้องให้เพิกถอนคำสั่งอายัดดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4872/2550 (อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-07-28 00:51:06



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล