ReadyPlanet.com


สิทธิการเลี้ยงดูบุตรแต่เพียงผู้เดียว และฟ้องร้องค่าเลี้ยงดูบุตร


ดิฉันจดทะเบียนสมรสกับสามี สามียื่นฟ้องหย่า และขอสิทธิเลี้ยงดูลูกแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตามดิฉันเต็มใจหย่า แต่ขอสิทธิเลี้ยงดูบุตรแต่เพียงผู้เดียว และขอฟ้องขอค่าเลี้ยงดูบุตร ข้อเท็จจริงอื่นๆ มีดังนี้ค่ะ

สามีมีหน้าที่การงานที่มั่นคง ทำงานอยู่ต่างประเทศ เงินเดือนสูง (ประมาณ 2 แสนกว่าบาท) ไม่เคยประพฤติเสื่อมเสีย ยกเว้นชอบด่าว่าบุพการีดิฉันหยาบคาย

ดิฉันมีหน้าที่การงานที่มั่นคง ทำงานบริษัทในเมืองไทย เงินเดือนประมาณ 5 หมื่นบาท ไม่เคยประพฤติเสีื่อมเสีย  ปัจจุบันลูกอยู่กับดิฉัน โดยมีตาและยายเลี้ยงดู

รบกวนสอบถามดังนี้ค่ะ

1. ศาลสามารถสั่งให้มีสิทธิการเลี้ยงดูบุตรร่วมกันได้หรือไม่คะ  หรือว่าต้องเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

2. จากข้อ 1 ปัจจัยที่ศาลจะใช้พิจารณาตัดสินให้เลี้ยงดูบุตรร่วมกันคืออะไรคะ  และถ้าศาลตัดสินให้เลี้ยงดูร่วมกัน ในทางปฏิบัติทำอย่างไรคะ  ใครเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องที่เรียน ที่อยู่ ถ้าตกลงกันไม่ได้ ทำอย่างไรคะ

4.  ดิฉันอยากได้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว  มีความเป็นไปได้หรือไม่คะ  ศาลใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินว่าลุกจะได้อยู่กับใคร  กรณีของดิฉันทั้งคู่มีฐานะมั่นคง ไม่มีใครประพฤติเสื่อมเสีย เพียงแต่เข้ากันไม่ได้จึงต้องการหย่า (  ปัจจุบันลูกอยู่กับดิฉัน  สามีไม่สามารถเลี้ยงดูได้ เนื่องจากทำงานต่างประเทศ  )

5.  สามีไม่ยอมจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร จึงต้องการฟ้องศาล มีเหตุอะไรบ้างคะ ที่ศาลจะสั่งให้สามีไม่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร และศาลใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของจำนวนเงินค่าเลี้ยงดู

ขอบพระคุณมากค่ะ

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ :: วันที่ลงประกาศ 2013-08-11 21:31:46


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2399601)

1. ศาลสามารถสั่งให้มีสิทธิการเลี้ยงดูบุตรร่วมกันได้หรือไม่คะ หรือว่าต้องเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ตอบ - เมื่อมีการหย่าไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยความยินยอมหรือหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ปกติจะให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องให้ศาลชี้ขาด แต่อย่างไรก็ตามสามารถตกลงกันได้ครับ อาจจะเป็นผู้ใช้อำนาจร่วมกันได้ แต่จะมีปัญหามากเพราะเมื่อนานวันเข้าโอกาสที่จะตามตัวฝ่ายที่ไม่ได้เลี้ยงดูบุตรมาให้ความยินยอมอาจไม่สามารถติดตามตัวมาดำเนินการให้ได้ ดังนั้นแนะนำว่าควรเป็นฝ่ายเดียวเท่านั้นที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรจะได้ไม่ยุ่งยากในภายหลังในการติดตามตัวอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมแก่บุตรผู้เยาว์ครับ

มาตรา 1520  ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ในการพิจารณาชี้ขาดถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสนั้นได้ตามมาตรา 1582 ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสและสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ

2. จากข้อ 1 ปัจจัยที่ศาลจะใช้พิจารณาตัดสินให้เลี้ยงดูบุตรร่วมกันคืออะไรคะ และถ้าศาลตัดสินให้เลี้ยงดูร่วมกัน ในทางปฏิบัติทำอย่างไรคะ ใครเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องที่เรียน ที่อยู่ ถ้าตกลงกันไม่ได้ ทำอย่างไรคะ

ตอบ - ปัจจัยมีหลายอย่าง แต่หากว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีความประพฤติเสื่อมเสีย สถานพินิจมีแนวโน้มที่จะทำความเห็นให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองมากกว่าบิดา เพราะในทางปฏิบัติ ไม่ด้วยนิสัยและหน้าที่การงาน การมีสังคมกับเพื่อนฝูง ฝ่ายชายย่อมมีสังคมที่แตกต่างไปจากหญิงผู้เป็นมารดาอยู่บ้าง คือเวลาที่จะให้กับบุตรย่อมแตกต่างไปจากมารดาที่ธรรมชาติจะเป็นผู้ดูแลบุตรใกลชิดกว่าบิดาอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แวดล้อมของแต่ละครอบครัว จะตอบให้ในลักษณะฟันธงนั้นไม่ได้แต่ละครอบครัวมีพฤติการณ์ที่ไม่เหมือนกัน ตามที่ตอบไว้ในข้อ 1 ว่าศาลคงชี้ขาดดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวอยู่แล้ว

4. ดิฉันอยากได้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว มีความเป็นไปได้หรือไม่คะ ศาลใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินว่าลุกจะได้อยู่กับใคร กรณีของดิฉันทั้งคู่มีฐานะมั่นคง ไม่มีใครประพฤติเสื่อมเสีย เพียงแต่เข้ากันไม่ได้จึงต้องการหย่า ( ปัจจุบันลูกอยู่กับดิฉัน สามีไม่สามารถเลี้ยงดูได้ เนื่องจากทำงานต่างประเทศ )

ตอบ - พฤติการณ์ที่สามีไปทำงานต่างประเทศ เป็นไปได้สูงมากว่าสถานพินิจจะมีความเห็นให้คุณเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวครับ(ความเห็นของสถานพินิจมีความสำคัญกับคดีเรื่องอำนาจปกครองบุตรมาก) ศาลจะพิจารณารายงานของสถานพินิจครับ และใช้ดุลพินิจจากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำเสนอต่อศาลด้วยครับ

5. สามีไม่ยอมจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร จึงต้องการฟ้องศาล มีเหตุอะไรบ้างคะ ที่ศาลจะสั่งให้สามีไม่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร และศาลใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของจำนวนเงินค่าเลี้ยงดู

ตอบ - คุณก็ฟ้องแย้งเข้าไปในคดีครับ แม้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองก็ตาม แต่ยังมิได้สูญสิ้นหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร ดังนั้นควรฟ้องแย้งเข้าไปในคดีเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้บิดา(สามี) จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์และให้คุณเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-08-13 06:43:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล