ReadyPlanet.com


ค่่าสินไหมทดแทน กรณีขับรถชนเด็กอายุ 5 ขวบเสียชีวิต


 อยากทราบถึงวิธีการคำนวณค่าสินไหม กรณีที่เพื่อนผมไปขับรถชนเด็กอายุ 5 ขวบเสียชีวิต โดยไม่เจตนาครับ

ค่าสินไหมที่จะต้องจ่ายนั้น ประกอปด้วยค่าอะไรบ้างครับ

ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ Pop :: วันที่ลงประกาศ 2013-08-09 23:21:04


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2398837)

ตามคำถามฝ่ายผู้ต้องหา หรือจำเลยไม่อยู่ในฐานะจะยื่นข้อเสนอหรอกครับ ต้องรอฟังจากผู้เสียหายก่อนครับ ปกติก็จะเรียกค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะ ผมคัดลอกคำพิพากษาเกี่ยวกับการเรียกค่าขาดไร้อุปการะมาให้อ่านประกอบเพื่อเป็นแนวทางประกอบครับ

บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา ค่าขาดไร้อุปการะ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดจำนวน  2,119,578 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี จากต้นเงิน  2,100,587 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสี่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 392,224 บาท  แก่โจทก์ที่ 3 เป็นเงิน  537,712 บาท และแก่โจทก์ที่ 4 เป็นเงิน 230,785 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าว นับแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2534 อันเป็นวันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ
_____________
ในขณะที่บุตรโจทก์เสียชีวิตยังเป็นเด็กหญิงอยู่ กฎหมายบัญญัติว่าบุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา (ชอบด้วยกฎหมาย) เมื่อจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรผู้เยาว์ของโจทก์เสียชีวิตแม้ว่าจะเป็นเด็กหญิงก็ตาม กรณีถือว่าโจทก์ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร การขาดไร้อุปการะเกิดขึ้นเนื่องจากกฎหมายบัญญัติขึ้นมาโดยไม่คำนึงว่าขณะถึงแก่ความตายบุตรผู้เยาว์ของโจทก์จะได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ หรือในอนาคตบุตร(เด็กหญิง) จะอุปการะโจทก์หรือไม่ก็สามารถเรียกได้ ส่วนจะเรียกได้จำนวนเท่าใดนั้นศาลจะเป็นผู้กำหนดให้ตามสมควร
มาตรา 438    ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
 (วรรค 2)  อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
มาตรา 443    ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้นค่าสินไหมทดแทนได้แก่ ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ อีกด้วย
   (วรรค 2)ถ้ามิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย
   (วรรค 3)ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้นทำให้บุคคลหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฏหมายไปด้วยไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา 446    ในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนกันได้และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่ สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว
   (วรรค 2) อนึ่ง หญิงที่ต้องเสียหายเพราะผู้ใดทำผิดอาญาเป็นทุรศีลธรรมแก่ตนก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องทำนองเดียวกันนี้

 (อ่านต่อ.................................)

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 วันที่ตอบ 2013-08-10 10:04:57


ความคิดเห็นที่ 2 (2399228)

กรณีที่เกิดขึ้นคือ เพื่อนผมได้ขับรถเข้าไปในที่จอดรถของโรงเรียน

และในขณะที่เลี้ยวขวา มีเด็กอายุ 5 ขวบได้วิ่งเข้ามาบริเวณ ด้านหลังรถทางด้านซ้าย จึงถูกรถเฉี่ยว แต่เป็นเหตุให้เด็กเสียชีวิต

กรณีเช่นนี้

 

1. ถือว่าเป็นการขับรถโดยประมาท หรือไม่

2. การเกิดการเฉี่ยวชนภายในโรงเรียน กับการเฉี่ยวชนบนท้องถนน หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคดีของศาลนั้น แตกต่างกันหรือไม่ครับ

 

ขอบคุณครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Pop วันที่ตอบ 2013-08-11 15:39:36


ความคิดเห็นที่ 3 (2399245)

คำถาม

1. ถือว่าเป็นการขับรถโดยประมาท หรือไม่

ตอบ - คงเถียงกันไม่จบหรอกครับ ว่าประมาทหรือไม่ แต่ขอให้พิจารณาว่า เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ต้องให้ศาลชี้ขาดตามพยานหลักฐานครับ อาศัยข้อเท็จจริง 4 - 5  คำ แล้วให้ตอบว่าขับรถโดยประมาทหรือไม่นั้นเป็นการยากครับ

2. การเกิดการเฉี่ยวชนภายในโรงเรียน กับการเฉี่ยวชนบนท้องถนน หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคดีของศาลนั้น แตกต่างกันหรือไม่ครับ

ตอบ - เมื่อเป็นผู้ควบคุมดูแลยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล แล้วกระทำโดยประมาทไม่ว่าจะบนถนนสาธารณะหรือถนนส่วนบุคคล หรือสถานที่ส่วนบุคคล หากประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายก็เป็นความผิดประเภทเดียวกันครับ เพราะกฎหมายไม่ได้ระบุแยกสถานที่เกิดเหตุไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ที่คัดลอกมาให้พิจารณาด้านล่างนี้ครับ

มาตรา 437  บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง

                        ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย
 

มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-08-11 17:45:39



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล