ReadyPlanet.com


รับรองบุตร


 เรียนถามท่านทนายครับ สามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมสรกัน ใบเกิดของลูกใช้ ชื่่อ-นามสกุล ของพ่อ มาภายหลังแยกทางกัน ฝ่ายแม่เอาลูกไปด้วย แบบนี้ฝ่ายพ่อมีสิทธิ์ในตัวลูกหรือไม่? ต้องจดรับรองบุตรหรือไม่ ขอบคุณครับ...l



ผู้ตั้งกระทู้ พ่อเด็ก :: วันที่ลงประกาศ 2013-07-10 17:08:56


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2400899)

บุตรที่เกิดจากบิดา มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาเท่านั้น และเป็นบุตรนอกกฎหมายของบิดา เมื่อบิดาไม่ได้เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ต่อกันตามกฎหมาย เมื่อไม่มีสิทธิและหน้าที่ต่อกันตามกฎหมายจึงไม่มีอำนาจใด ๆ ในทางปกครอง หรือที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครอง ฉะนั้น มารดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว เมื่อมารดาเป็นผู้ใช้ำอำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว มารดาจึงมีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตรได้แต่เพียงผู้เดียว หรือพูดง่าย ๆ ว่า บิดายังไม่มีสิทธิในตัวบุตร กรณีที่จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมี 3 วิธี คือ บิดา มารดาจดทะเบียนสมรสกันในภายหลังที่เด็กเกิด 2. บิดาไปจดทะเบียนรับรองบุตร 3. ฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่าเด็กเป็นบุตร

มาตรา 1546  เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
 
มาตรา 1547  เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร(จดทะเบียนรับรองบุตร)หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

มาตรา 1548  บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก

มาตรา 1567  ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-08-15 12:55:33


ความคิดเห็นที่ 2 (2400901)

จดทะเบียนรับรองบุตร
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนรับรองบุตร (เด็กหญิง ป.) ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง (มารดา)ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อศาล เพราะไม่ได้ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรผู้เยาว์ต่อนายทะเบียนเพื่อให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนรับรองบุตรเป็นหนังสือไปยังผู้คัดค้านและผู้เยาว์ เมื่อผู้คัดค้านคลอดบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องไม่ช่วยอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่บุตร ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว ผู้คัดค้านเลี้ยงดูผู้เยาว์มาโดยตลอด ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะจดทะเบียนรับรองบุตรอีก ขอให้ยกคำร้อง
http://www.peesirilaw.com/ความสัมพันธ์ในครอบครัว/จดทะเบียนรับรองบุตร.html

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-08-15 12:56:30



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล