ReadyPlanet.com


ความผิดตามพ.ร.บ.ขนส่ง


พ.ร.บ.ขนส่งซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับรถขนาดใหญ่เกินสี่ล้อขึ้นไปหรือที่ใช้ในการบรรทุกขนส่งหรือบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆด้านการใช้รถขนส่งหรือประจำรถ  อยากทราบว่ากรณีตำรวจจราจรจับเช่นข้อหาขับรถไม่มีใบอนุญาตขับรถขณะขับรถและขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหมายถึงไม่ได้ทำทีและข้อหาใช้รถไม่จดต่อภาษีภายในกำหนด  ทำไมต้องดำเนินคดีถึงชั้นศาลด้วยเหตุใดไม่ให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปเลยกรณีที่ผู้กระทำผิดยินยอมให้เสียค่าปรับและทุกขอ้ที่กล่าวมีขัอใหนบ้างที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้


ผู้ตั้งกระทู้ ykk :: วันที่ลงประกาศ 2009-02-02 21:28:09


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1897353)

คำถามคุณเป็นคำถามที่น่าสนใจครับ และไม่ทราบมาก่อนว่าต้องส่งฟ้องศาล แต่เท่าที่มีข้อมูลคือ..........

 

พ.ร.บ.การเปรียบเทียบคดีอาญา พ.ศ. ๒๔๘๑ มาตรา ๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ. การเปรียบเทียบปรับคดีอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๙ บัญญัติ ไว้ว่า

มาตรา ๔. ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินสองพันบาท ให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนคดีนั้น มีอำนาจเปรียบเทียบได้ ตามความใน ป.วิอาญา มาตรา ๓๘

ข้อ. สังเกต ตาม ป.วิอาญามาตรา ๓๗ (๓), ระบุว่าความผิดตามลักษณะดังกล่าวข้างต้นเฉพาะในเขตพระนครธนบุรีให้นายตำรวจตำแหน่งตั้งแต่สารวัตรขึ้นไปหรือผู้ทำการแทน, เป็นผู้เปรียบเทียบ

 

มาตรา ๓๗ คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้

(๑) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา

(๒) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว

(๓) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานครเมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้นๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว

(๔) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว

 

 

มาตรา ๓๘ ความผิดตามอนุมาตรา (๒) (๓) และ (๔) แห่งมาตราก่อน ถ้าเจ้าพนักงานดั่งกล่าวในมาตรานั้นเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบดั่งนี้

(๑) ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้ภายในเวลาอันสมควรแต่ไม่เกินสิบห้าวันแล้ว คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด

ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้ว ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในเวลากำหนดในวรรคก่อน ให้ดำเนินคดีต่อไป

(๒) ในคดีมีค่าทดแทน ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้เจ้าหน้าที่กะจำนวนตามที่เห็นควรหรือตามที่คู่ความตกลงกัน

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-02-04 18:27:43



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล