ReadyPlanet.com


การตกลงทางวาจา


เรียน  คุณ ลีนนท์  ที่นับถือ 

ขอเรียนสอบถามดังนี้

-การกู้ยืมเงิน ที่มีการลงชื่อในสัญญา ถูกต้องเรียบร้อย และได้เขียน เช็คชำระหนี้  ต่อมาเช็คเด้ง  โจทก์ได้ฟ้องและแจ้งความ พรบ เช็ค ในชั้นสอบสวน จำเลยยอมรับว่ากู้ยืมและจ่ายเช็คให้จริง

แต่จำเลยอ้างว่าได้ตกลงทางวาจา กับทางโจทก์แล้วว่าจะไม่ฟ้องเป็นคดีอาญา แต่ถ้าฟ้องแพ่งจำเลยยอม

-ขอเรียนถามว่า การตกลงทางวาจา ใช้ยืนยันทางศาลได้หรือไม่ มีกฏหมาย อาญามาตราใดอ้างอิง ขอทราบด้วยจะค้นเอง    และขอฎีกาคำพิพากษาด้วย จะเป็นพระคุณอย่างสูง 

-วิธีแก้ไขควรทำอย่างไร ขอคำแนะนำด้วย

ขอกราบขอบคุณ



ผู้ตั้งกระทู้ คะน้า :: วันที่ลงประกาศ 2009-01-29 18:01:59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1895176)

การที่จำเลยอ้างว่า ได้มีการตกลงด้วยวาจา ว่าจะไม่ฟ้องอาญานั้น ศาลคงไม่เชื่อจำเลยครับเพราะคงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการตกลงกันอย่างนั้น หากมีการตกลงกันจริงผู้เสียหายก็คงไม่นำคดีมาฟ้อง

เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักให้เชื่อถือ

วิธีแก้ไข

ไม่ต้องครับเพราะเมื่อเขากล่าวอ้างเขามีหน้าที่นำสืบให้ศาลเชื่อ ถ้าไม่พิสูจน์ก็เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-01-30 15:32:59


ความคิดเห็นที่ 2 (1896044)

เรียน คุณ ลีนนท์ ที่นับถือ

ขอขอบคุณสำหรับคำตอบ

ขอถามอีกครั้งว่า  มีการตกลงทางวาจาจริงว่าจะไม่ฟ้องอาญา  มีพยานรับฟังหลายคน  แต่จำเลยก็บอกว่ามีเงินเข้าเช็คแน่นอน รับรองเช็คไม่เด้ง  จำเลยยังอธิบายให้พยานหลายๆคนฟังว่า จะมีรายได้มาจากไหน(เงินเดือนประจำ ส่งออกสินค้า จากการค้าขาย)

กรณีนี้มีวิธีแก้ไขอย่างไร  ขอคำแนะนำด้วยนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น คะน้า วันที่ตอบ 2009-02-02 10:27:15


ความคิดเห็นที่ 3 (1896456)

เป็นเรื่องของการต่อสู้คดีครับ ให้เป็นหน้าที่ของอัยการผู้ทำหน้าที่เป็นโจทก์ คงจะเป็นผู้ดูแลคดีของคุณได้

เมื่อคุณก็ตั้งใจอยู่แล้วว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญากับเขา และถ้าเขาสามารถพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ก็ไม่น่าเสียความรู้สึกมากเพราะความจริงเป็นอย่างไรก็ควรเป็นอย่างนั้น หากคุณมีเหตุผลอย่างไร ก็นำเสนอสนับสนุนข้ออ้างของคุณไปก็อาจจะมีประโยชน์อยู่ครับ

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-02-03 05:54:46



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล