ReadyPlanet.com


มรดก


กรณีที่ นาย ก. (พ่อ) ยกที่ดินเป็นมรดกให้แก่นาย ข. (ลูกชาย) ไว้ในพินัยกรรม เนื่องจากมีสุขภาพไม่ดี แต่ปรากฏว่า นายข. ตายก่อน เนื่องจากโรคหัวใจวาย และนายข. เองก็มีบุตรอยู่ 2 คน เรียนถามว่า การที่นายก. ไม่ได้แก้ไขผู้มีชื่อในพินัยกรรม เพราะไม่รู้ว่า นายข. ตาย (ลูก ๆ ของนายก. ไม่กล้าบอเกี่ยวกับการเสียขีวิตของนาย ข. เพราะกลัวว่า จะช๊อกและเสียชีวิต) อยากทราบเรื่องการแบ่งมรดก หากภายหลัง นายก. เสียชีวิตค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ แอว :: วันที่ลงประกาศ 2009-02-18 10:55:15


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1903739)

เมื่อผู้รับพินัยกรรมเสียชีวิต ข้อกำหนดพินัยกรรมจึงเป็นอันไร้ผล ทรัพย์มรดกของนาย ก. จึงตกแก่ทายาทของเขา แต่บุตรของนาย ข สามารถรับมรดกแทนที่ นาย ข ได้ แต่ได้เฉพาะส่วนที่ถูกแบ่งมาให้นาย ข. โดยไม่ได้รับทั้งหมดตามพิพนัยกรรม

อธิบายง่าย ๆอีกครั้งก็คือ มรดกกลับไปสู่กองมรดกของนาย ก และตกแก่ทายาทของนาย ก. ตามส่วนเท่า ๆ กันทุกคน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-02-18 19:12:41


ความคิดเห็นที่ 2 (1906315)
พี่ลีนนท์ คะ สมมติว่านายก.มีลูก 3 คน คือ นายข,ค,และง. เมื่อนายข. ตายก่อนนายก. (พ่อ) ดังนั้น สิทธิของลูกของนายข. ในการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ไม่มีใช่ไหมคะ และมรดกจะกลับมาสู่ นายค., และง. แบ่งเท่าๆ กันใช่หรือไม่คะ เรียนถามเพิ่มค่ะ กรณีที่นายข. มีที่ดิน และตาย แต่นายข.มีเจ้าหนี้ และยึดโฉนดที่ดินแปลงนี้ค้ำประกัน( แต่ไม่ได้จดทะเบียนจำนองไว้กับกรมที่ดิน) เรียนถามว่า ที่ดินดังกล่าว จะโอนให้บุตรได้ จะต้องทำอย่างไรบ้าง --จะต้องมีการฟ้องศาลเป็นผู้จัดการมรดกก่อนหรือไม่ หรือ สามารถโอนให้บุตรของนายข.ได้เลยคะ และโดยทั่วไป เจ้าหนี้ทั้งหลายมีสิทธิเรียกร้องจาก นายข. มีอายุความอย่างไรบ้างคะ และเรียกได้มากน้อยอย่างไร รบกวนพี่ลีนนท์ชี้แนะด้วยค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น แอว วันที่ตอบ 2009-02-24 15:42:52


ความคิดเห็นที่ 3 (1906329)

ไม่ถูกต้องครับ

ถ้านาย ก มีบุตรคือ

ข , ค, ง

ส่วนนาย ข ตายก่อนนาย ก แต่นาย ข มีบุตรชื่อ นาย เอ บี ซี

เมื่อนาย ก เสียชีวิต มรดก ตกแก่ทายาทของนาย ก คือ ข,ค,ง,

แต่ ข ตายก่อนเจ้ามรดก แต่นาย ข มีทายาทโดยธรรมคือ เอ , บี, ซี

ดังนั้นทรัพย์มรดกในส่วนของนาย ข จึงตกแก่ นาย เอ, บี, ซี , คนละส่วนเท่าๆ กันครับ

 

สำหรับที่ดินมีโฉนดของนาย ข ที่นำไปให้เจ้าหนี้เงินกู้ยึดไว้ และการกู้เงินมีสัญญากู้กันถูกต้องจึงเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายเจ้าหนี้มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ สัญญากู้ยืมเงินมีอายุความ 10 ปี นับแต่เกิดสิทธิเรียกร้อง หรือครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินครับ

การจะโอนที่ดินดังกล่าวก็ต้องมีโฉนดตัวจริง ถ้าไม่มีก็ต้องแจ้งความหายซึ่งความจริงไม่ได้หาย คุณอาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จได้ครับ

ถ้าคำตอบไม่ชัดเจนสอบถามมาใหม่นะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-02-24 16:07:02


ความคิดเห็นที่ 4 (1906912)
พี่ลีนนท์คะ หากนายก. ทำพินัยกรรมไว้ แต่ไม่รู้ว่า นายข. ตายก่อน พินัยกรรมนั้นจะสิ้นไร้ผลหรือไม่คะ หรือว่า ส่วนที่นายก. ยกให้นายข นั้น เอ บี ซี ทายาทพินัยกรรมสามารถรับส่วนของนายข.ด้วยคะ รบกวนชี้แจงค่ะ (และถ้าพินัยกรรมไร้ผล จะใช้การสืบทอดมรดก โดยทายาทโดยธรรมหรือไม่ อย่างไรคะ ) อีกเรื่องค่ะ โดยทั่วไปพินัยกรรมแบบใดคะที่สามารถนำไปให้กรมที่ดินเพื่อโอนให้ทายาทพินัยกรรมได้ทันที โดยไม่ต้องฟ้องศาลให้สั่งผู้จัดการมรดก
ผู้แสดงความคิดเห็น แอว วันที่ตอบ 2009-02-25 20:55:12


ความคิดเห็นที่ 5 (1907243)

ไม่ว่าผู้ทำพินัยกรรมจะรู้หรือไม่รู้ว่าผู้รับพินัยกรรมจะเสียชีวิตไปแล้วหรือไม่ เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย พินัยกรรมย่อมเป็นอันไรผลเช่นกัน เพราะผู้รับพินัยกรรมไม่มีสภาพบุคคลขณะที่เจ้ามรดกตายครับ

เมื่อพินัยกรรมเป็นอันไร้ผล ทรัพย์มรดกของผู้ตายย่อมกลับไปสู่กองมรดกและตกแก่ทายาทโดยธรรมโดยผลของกฎหมายครับ

พินับกรรมแบบใดก็ต้องตั้งผู้จัดการมรดกก่อนทั้งนั้น แต่บางกรณีเจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจตั้งผู้จัดการมรดกได้เมื่อเห็นว่าการแบ่งมรดกไม่มีความยุ่งยาก

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-02-26 15:07:17


ความคิดเห็นที่ 6 (1907757)
พี่ลีนนท์คะ และในกรณีที่ไม่มีการทำพินัยกรรมไว้ เมื่อนาย ก. ตาย (นายข.ซึ่งเป็นบุัตรนายก. ตายก่อน) ดังนั้น บุตรที่เหลือที่ยังมีชีวิตอยู่คือ ค และ ง ดังนั้น คนที่มีสิทธิรับมรดกของนายก. คือ คและง ใช่หรือไม่คะ และหาก นายข. มีบุตร คือ นาย จ. แล้ว ถามว่า นายจ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายข. หรือไม่คะ (เพราะขณะนายก. ตาย นายข. ได้ตายไปก่อนแล้ว)
ผู้แสดงความคิดเห็น แอว วันที่ตอบ 2009-02-27 16:26:58


ความคิดเห็นที่ 7 (1910274)

เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม บุตรของผู้รับพินัยกรรมเข้ามารับมรดกของบิดาที่ตายก่อนผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-05 17:25:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล