ReadyPlanet.com


คดีมโนสาเร่ครับ...ช่วยผมด้วย


คดีมโนสาเร่

อยากทราบคำตอบที่แน่ชัดแจ่ม ๆ และถูกต้องครับผม...เรื่องจริง ๆ มีอยู่ว่า จำเลยที่ ๑ พิพาทกับจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นสามีภรรยากันโดยชอบ มีทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าทรัพย์ดังกล่าวเช่นนั้น “เป็นสินสมรส” ให้ตกลงแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง ถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ประมูลขายระหว่างกันเอง ถ้าหากประมูลขายระหว่างกันเองยังไม่ได้อีก จึงจะให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมประมูลซื้อทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวนั้นได้ แล้วให้นำเงินที่ทอดตลาดได้นั้นแบ่งให้แก่จำเลยทั้งสองคนละส่วนเท่า ๆ กัน กับมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองนั้น “หย่า” กันเสียก็ได้ รายละเอียดข้อเท็จจริงที่แจ้งเพิ่มเติมมีดังต่อไปนี้ 

๑.     จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕

๒.   อสังหาริมทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาว่าเป็นสินสมรสและให้แบ่งกันนั้นได้มาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐

๓.    อสังหาริมทรัพย์มีระบุชื่อจำเลยที่ ๑ มาแต่เริ่มแรกผู้เดียว จำเลยที่ ๒ หาได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยอย่างใดไม่

๔.     ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๙ ตามข้อเท็จจริงที่กล่าวมาข้างต้นนั้น

๕.    จำเลยทั้งสองตกลงกันซึ่งมิได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่า “ให้จำเลยที่ ๑ นำสินสมรสขายบุคคลอื่นได้”

๖.     จำเลยที่ ๑ นำคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์อันถึงที่สุดไปจดทะเบียนหย่าเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙

๗.    จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์ดังกล่าวนั้นกับโจทก์ทั้งสองนั้นเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ 

๘.     ข้อตกลงมีระบุตามสัญญาจะซื้อจะขาย คือ ผู้จะซื้อชำระเงินมัดจำ ๑ แสนบาท และกำหนดวันนัดเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์กันภายในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ (ให้ผู้จะซื้อขอสินเชื่อกับธนาคารได้)

๙.    ข้อตกลงภายหลังแต่มิได้ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย คือ ผู้จะซื้อเข้าครอบครองดูแลในทรัพย์สินที่จะซื้อขายนั้นได้ แต่ถ้าถึงกำหนดนัดโอนกรรมสิทธิ์กันไม่ว่าสินเชื่อธนาคารจะอนุมัติการพิจารณาเรียบร้อยหรือไม่ ผู้จะซื้อต้องออกจากการครอบครองทรัพย์ที่พิพาททันที เว้นแต่ชำระหนี้ได้ครบจำนวนเงินเต็มตามสัญญา

๑๐.  ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายกันนั้นจำเลยที่ ๑ มิได้แจ้งให้ผู้จะซื้อได้ทราบว่ามีข้อพิพาทอยู่กับจำเลยที่ ๒

๑๑. ผู้จะซื้อสอบถามเรื่องการให้ความยินยอมคู่สมรส แต่จำเลยที่ ๑ กล่าวว่า “ไม่มีปัญหา ขายแน่ และหย่ากันเรียบร้อยแล้ว” พร้อมแสดงหลักฐานการหย่าและกล่าวว่า “จะนำหนังสือให้ความยินยอมมาตอนโอน”   

๑๒.   แต่ผู้จะซื้อได้ทราบข้อพิพาทของจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จากเจ้าหน้าที่ของศาล

๑๓. จำเลยที่ ๑ จึงเล่าข้อเท็จจริงตามที่กล่าวข้างต้นให้ผู้จะซื้อได้ทราบ และยืนยันว่าในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์จำเลยที่ ๒ จะมาให้ความยินยอมในการจดทะเบียน หรือทำหนังสือมอบให้ผู้อื่นมาแทนเช่นนั้นอย่างแน่แท้

๑๔.  ผู้จะซื้อสอบถามความประสงค์ในการทำนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขาย แต่จำเลยที่ ๒ ปฏิเสธว่า “ไม่ขาย”

๑๕. ครั้นถึงกำหนดวันนัดจดทะเบียนเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท จำเลยที่ ๑ มาพบกับผู้จะซื้อในช่วงเช้าและกล่าวว่ายังไม่พบเห็นจำเลยที่ ๒ แต่อย่างใด ผู้จะซื้อจึงแจ้งให้จำเลยที่ ๑ ไปคอยดูที่ สนง.ที่ดินว่าถ้าจำเลยที่ ๒ มาเมื่อใดให้แจ้งผู้จะซื้อทราบทางโทรศัพท์มือถือทันที ซึ่งผู้จะซื้อจะรีบดำเนินการเตรียมนำเงินสดไปชำระหนี้ให้ ณ สนง.ที่ดินลุล่วงไป (ปรากฏว่าในวันนั้นผู้จะซื้อมิได้ไป ณ สนง.ที่ดิน เพราะเหตุว่าจำเลยที่ ๒ มิได้มาแสดงตนให้ความยินยอมในการจดทะเบียนซื้อขายเช่นนั้น ทั้งจำเลยที่ ๑ ก็มิได้แจ้ง) 

๑๖.  โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองว่าผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โดยจำเลยที่ ๑ ได้แสดงตนและกระทำการอันถือได้ว่าเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นตัวการผู้ไม่เปิดเผยชื่อ และเรียกเงินมัดจำคืนกับค่าเสียหาย      

๑๗.  จำเลยที่ ๑ ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งมายังโจทก์ที่ ๑ ทำนองว่า “จำเลยที่ ๑ มิได้เป็นตัวแทนเชิดแก่จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๑ นั้นมิได้ผิดสัญญาจะซื้อจะขาย แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่มีเงินชำระหนี้กับมิได้นำทรัพย์ไปดำเนินการเพื่อขอสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด  ทั้งขอเรียกค่าเสียหาย”

๑๘.  จำเลยที่ ๒ ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งโจทก์ทั้งสองทำนองว่า “จำเลยที่ ๒ มิได้เคยเชิดจำเลยที่ ๑ เพื่อแสดงออกเป็นตัวแทน และสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวนั้นเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ทั้งจำเลยที่ ๒ ก็มิได้มีชื่ออันระบุไว้ว่าเป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวนั้นด้วยแต่อย่างใด ทั้งเรียกค่าเสียหาย”

๑๙.  โจทก์ที่ ๑ ให้การแก้ฟ้องแย้งจำเลยที่ ๑ ทำนองว่า “เพราะจำเลยทั้งสองเคยพิพาทกันมาแล้วในคดีก่อนเป็นเหตุให้การขอสินเชื่อไม่อาจทำได้โดยสะดวก ทั้งจำเลยที่ ๒ ก็มิได้อนุญาตให้ขอสินเชื่อได้ ถึงแม้ว่า จนท.ที่ดินจะอนุญาตให้ตรวจสอบหลักฐานได้ แต่ว่า จนท.ธนาคารจะต้องตรวจสอบหลักฐานโดยละเอียด การขอสินเชื่ออีกทั้งเพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต้องพึงกระทำไปด้วยความสุจริตและถูกต้อง หากจำเลยที่ ๒ มิยอมเข้าร่วมด้วยการจดทะเบียนเช่นครั้งนี้ด้วยแล้ว นิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ทำกันวันนั้นย่อมจะมีผลให้ตกเป็นโมฆะหาอาจเป็นโมฆียะ คือ มีผลสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้างไปได้ไม่”

๒๐.  โจทก์ทั้งสองยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งเกินกว่าวันที่ศาลกำหนด (แต่ยื่นก่อนวันนัดสืบพยาน) ทำนองว่า “การทำสัญญาจะซื้อจะขายมีผลสมบูรณ์แม้ผู้จะขายมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะเวลาทำสัญญาจะซื้อจะขายนั้น เพียงแต่เมื่อถึงกำหนดวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ผู้จะขายต้องดำเนินการให้ได้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา อีกทั้งการที่บุคคลใดจะบอกล้างหรือบอกเลิกหรือขอให้เพิกถอนสัญญาเช่นนี้ได้คงมีแต่เพียงคู่สัญญาเท่านั้น การที่จำเลยที่ ๒ ขอให้ศาลเพิกถอนซึ่งสัญญาจะซื้อจะขายนั้นย่อมแสดงได้อยู่ในตัวเองแล้วว่าจำเลยที่ ๒ ยอมรับว่าเป็นคู่สัญญาจะซื้อจะขาย และการที่จำเลยที่ ๒ เพิกเฉยไม่ดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสในอสังหาริมทรัพย์มาแต่ก่อนนั้น อีกทั้งมิได้ยื่นคำขอจดทะเบียนลงชื่อในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในอสังหาริมทรัพย์หลังหย่ากันแล้ว เช่นนี้ ย่อมแสดงได้อยู่ในตนเองว่าจำเลยที่ ๒ ได้เชิดให้จำเลยที่ ๑ เป็นตัวแทนเชิดโดยปริยาย...

 

คำถามมีอยู่ว่า

๑.    อสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์พิพาท) คดีนี้เป็นสินสมรสหรือมิใช่...อย่างไร !?

๒.  จำเลยที่ ๑ เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ ๒ ผู้เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อในการนี้หรือหาไม่ !?

๓.    สัญญาจะซื้อจะขายรายนี้มีฝ่ายใดเป็นผู้ผิดสัญญาต่อกันบ้างหรือไม่...อย่างไร !?

๔.    หากมีฝ่ายใดเป็นผู้ผิดสัญญาค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการผิดสัญญาได้แก่อะไรบ้าง !?

                  

        ข้อมูลเพิ่มเติมขอเมล์ส่งให้ได้นะครับ...ทนายน้องใหม่หัดว่าความ...ช่วยด้วยครับ

081-632-9609

ให้คำแนะนำด้วยจักขอบคุณยิ่งครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ ปกรณ์ (pakornkunkongdi-at-sanook-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-02-09 00:05:44


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล