ReadyPlanet.com


ผู้จัดการมรดก


(1) การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก จะต้องร้องขอภายในกี่วันคะ หลังจากเจ้ามรดกตาย และหากเจ้ามรดก มีหนี้สินค้างอยู่ การร้องขอ จะรวมถึงการจัดการทรัพย์สิน (ที่เป็นหนี้สิน)ของเจ้ามรดกด้วยหรือไม่ (2) ในกรณีที่ทายาทไม่รู้ว่า เจ้ามรดกมีเจ้าหนี้กี่ราย จะทำอย่างไรดีคะ ที่จะให้รับผิดเฉพาะหนี้สินภายในอายุความมรดก 1 ปี (ไม่แน่ใจถูกหรือเปล่าค่ะ)เพราะกลัวว่า ถ้าชำระให้เจ้าหนี้ A แล้ว มาปรากฏภายหลังมีเจ้าหนี้ b และ c ตามมา (3) หากมีการชำระให้เจ้าหนี้ A แล้ว ไม่ปรากฏมีเจ้าหนี้รายอื่นๆ จะสามารถโอนให้บุตรของเจ้ามรดกได้หรือไม่ (สมมติว่า พอโอนให้บุตรของเจ้ามรดกแล้ว ภายหลังมีเจ้าหนี้ b และ c โผล่มาจะทำอย่างไร (4) กรณีภรรยา (มิได้จดทะเบียนสมรส) แต่มีบุตร 2 คน เมื่อสามีตาย จำเป็นไหมคะที่ภรรยา จะต้องเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแทนบุตร (เนื่องจากภรรยาไม่ได้อยู่กินกับสามีมาหลายปี) กรณีนี้ ใครสามารถเป็นผู้ร้องขอจัดการมรดกแทน หากภรรยาไม่ประสงค์คะ ชี้แนะด้วยค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ แอน :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-04 17:36:58


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1909869)

1. การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต้องร้องขอภายในกี่วัน

***ไม่มีกำหนดครับ จะกี่ปีก็ได้ครับ

* หากเจ้ามรดกมีหนี้สินค้างอยู่ การร้องขอจะรวมถึงการจัดการทรัพย์สิน (ที่เป็นหนี้สิน) ของเจ้ามรดกด้วยหรือไม่

****ผู้จัดการมรดก ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าตั้งขึ้นเพื่อจัดการมรดกของผู้ตาย  -เมื่อมีเจ้าหนี้ก็ต้องนำทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ก่อน ที่เหลือจึงจะตกได้แก่ทายาท

2. ในกรณีที่ทายาทไม่รู้ว่าเจ้ามรดกมีเจ้าหนี้กี่ราย

-เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในอายุความหนึ่งปี และในกรณีที่ไม่รู้และเขามีสิทธิเขาก็ขอให้ทายาทที่รับมรดกไปแล้วชำระหนี้แต่ไม่เกินกว่าที่ทายาทได้รับไปจากกองมรดกครับ

3. หากมีการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เอ. แล้ว  ภายหลังมีเจ้าหนี้ บี และ ซี  โผล่มาจะทำอย่างไร

**ถ้ายังอยู่ภายในอายุความก็ต้องชำระเขาไป แม้ว่าจะได้โอนมาแล้วก็ตาม เพราะถือว่าเป็นทรัพย์สินของกองมรดกที่จะต้องนำชำระหนี้ก่อน

มาตรา ๑๗๓๘ ก่อนแบ่งมรดก เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ทายาทคนหนึ่งๆ อาจเรียกให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก หรือให้เอาเป็นประกันก็ได้จนถึงเวลาแบ่งมรดก

เมื่อแบ่งมรดกแล้ว เจ้าหนี้อาจเรียกให้ทายาทคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นได้รับไป ในกรณีเช่นนี้ ทายาทคนใดซึ่งได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กองมรดกเกินกว่าส่วนที่ตนจะต้องเฉลี่ยใช้หนี้ ทายาทคนนั้นมีสิทธิไล่เบี้ยจากทายาทคนอื่นได้

4. จำเป็นไหมที่ภรรยาจะต้องเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

**ไม่จำเป็นครับ แต่เพื่อประโยชน์ของบุตรคุณก็น่าจะทำ 

หรือร้องขอให้พนักงานอัยการดำเนินการให้ก็ได้ครับ

 

มาตรา ๑๗๑๓ ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้

(๑) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์

(๒) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก

(๓) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ

การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-04 22:35:27


ความคิดเห็นที่ 2 (1917259)

 บุคคลภายนอกฟ้องให้เพิกถอนคำพิพากษาว่าเป็นบุตรไม่ได้

ไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่บุคคลภายนอกที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำพิพากษาว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และไม่เข้าข้อยกเว้นกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งไม่ผูกพันบุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 145 วรรคสอง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-21 13:06:39



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล