ReadyPlanet.com


สัญญาเงินกู้


สัญญาเงินกู้ที่ระบุรายละเอียดว่า ถ้าลูกหนี้ผิดนัดชำระแล้ว จะยึดบ้าน (กรรมสิทธิของลูกหนี้) และจะยึดรถ (กรรมสิทธิของบิดาของลูกหนี้) โดยอ้างว่า ได้มีการทำหนังสือมอบอำนาจให้เจ้าหนี้สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิได้ทันที เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา) เรียนถามว่า ลักษณะของสัญญาแบบนี้ สามารถบังคับได้หรือไม่และเจ้าหนี้สามารถกระทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเองได้หรือไม่ในภาคปฏิบัติ (2) สัญญากู้ยืมเงิน หากในข้อความของสัญญาว่า ได้กระทำต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ แต่ดูจากเอกสารของสัญญาดังกล่าว มีเพียง ผู้กู้และผู้ให้กู้เท่านั้นที่ลงนาม โดยไม่มีพยานแต่อย่างใด เรียนถามว่า สัญญาฉบับนี้มีผลสมบูรณ์หรือไม่ และเจ้าหนี้ จะสามารถบังคับตามสัญญาได้หรือไม่อย่างไร ขอพี่ลีนนท์ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ และหากมีกฏหมายใดเกี่ยวข้อง แจ้งให้ด้วยนะคะ ขอบพระคุณอย่างสูง



ผู้ตั้งกระทู้ นักศึกษา :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-06 13:05:04


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1910715)

การมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ถ้าเขาได้กระทำภายในขอบเขตของหนังสือมอบอำนาจ ก็ถือว่าได้ทำไปตามเจตนาของผู้มอบอำนาจแล้ว หากผู้มอบอำนาจเป็นว่าเขาไม่ได้ทำภายในหรือเกินกว่าที่ได้มอบหมายไปก็ฟัองขอให้เพิกถอนได้ครับ

สำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นในทางปฏิบัติทางเจ้าหน้าที่เขาจะตรวจสอบหรือสอบถามผู้มอบอำนาจอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ เมื่อผู้มอบอำนาจไม่ยืนยันเจ้าหน้าที่ ที่ดินก็จะไม่ดำเนินการให้

สำหรับรถยนต์นั้นจะสะดวกกว่าเพราะจำนวนการโอนมีมากเจ้าหน้าที่ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะสอบถาม ก็เป็นไปได้ที่จะมีการโอนไปได้เลยตามหนังสือมอบอำนาจ ซึ่งในทางปฏิบัติก็ทำกันอยู่ทั่วไปครับ

หนังสือสัญญากู้ยืมกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องมีพยาน ดังนั้นแม้ข้อความในสัญญาซึ่งเป็นสัญญาสำเร็จรูปจะมีข้อความว่าทำต่อหน้าพยานก็ไม่ทำให้สัญญากู้เสียไป เพราะอาจแปลความว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมก็ได้เพราะหลักฐานแห่งการกู้ยืมก็ไม่ได้บังคับว่าผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อในหลักฐานนั้นด้วยก็ฟ้องบังคับคดีกันได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-06 16:04:49


ความคิดเห็นที่ 2 (1910768)

และหากว่า ผู้มอบอำนาจ (อสังหาริมทรัพย์นั้น) เสียชีวิตแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะทำการโอนทันทีหรือไม่ พี่ลีนนท์คะ ไม่ทราบว่า เข้าใจถูกหรือเปล่า คือว่า อสังหาริมทรัพย์นั้น หากมิได้จดทะเบียนจำนองไว้กับกรมที่ดิน ไม่สามารถฟ้องบังคับได้ (หรือ ยกเว้น สำหรับเมื่อมีสัญญาระบุไว้ชัดเจน เช่นกรณีมีหนังสือมอบอำนาจให้ทำการโอนเอง ดังได้เรียนพี่ไว้ ก็สามารถโอนได้ โดยไม่ต้องมีการบังคับจำนองเช่นนั้น ใช่หรือไม่คะ) ช่วยชี้แจงอีกครั้งค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษา วันที่ตอบ 2009-03-06 17:16:59


ความคิดเห็นที่ 3 (1910828)

คุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การมอบอำนาจให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำการอันใดแทน เป็นลักษณะตัวแทนตัวการ ไม่เกี่ยวกับการจำนองหรือการชำระหนี้ครับ

ถ้าผมเป็นผู้รับมอบอำนาจผมอาจอ้างว่าเจ้าของไม่สะดวกมาดำเนินการเองเพราะแก่แล้ว หรือไม่ว่างเป็นต้นส่วนการเป็นหนี้เป็นสินกันเป็นคนละเรื่องกับการมอบอำนาจให้ไปดำเนินการแทน

แต่อย่างไรก็ตามหากขณะมอบอำนาจนั้น ผู้มอบอำนาจเสียชีวิตแล้ว หนังสือมอบอำนาจนั้นย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้ครับ

หากเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการไปโดยประการใดก็ตามทายาทอาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมโอนนั้นได้ครับ

เมื่อลูกหนี้เป็นหนี้กันจริง ถ้าเขาได้ฟ้องเรียกเงินกู้และศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระเงินกู้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็สามารถบังคับเอากับบ้านของลูกหนี้ได้เช่นเดียวกันครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-06 20:51:03



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล