ReadyPlanet.com


การจดทะเบียนนิติบุคคลแบบนอมินีผิดกฎหมายหรือไม่


เนื่องจากเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาสามีได้เข้าร่วมทุนจดทะเบียนกับต่างชาติด้วยความไว้ใจเลยให้หุ้นเค้า48%และใส่ชื่อบริษัทอืนแฝงอีกรวมเกิน 50%โดยต่างชาติเดิมสามีมีบริษัทอยู่แล้แต่ต่างชาติมาขออร่วมลงทุนด้วยก็เลยจดทะเบียนเปลียนชื่อบริษัทใหม่ให้สามีเป็น กรรมการผู้จัดการมาวันนี้กิจการไม่ดีเลยมาปัจจุบันถ้าต่างชาติจะทำการเพิ่มทุนโดยที่บริษัทไม่ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์โดยที่ตอนนี้ทางสามีไม่มีเงินแต่ทางต่างชาติก็จะเพิ่มทุนขอเรียนถามว่าถ้าเพิ่มทุนทางสามีไม่มีเงินแต่ต่างชาติมีเงินหุ้นเค้าก็มากเพิ่มขึ้นไปอีกเพิ่มทุนเพราะเค้าอ้างบริษัทอยู่ในภาวะวิกฤตเงินหมุนเวียนน้อยและก็จะเปลี่ยนตัวกรรมการผู้จัดการด้วยจริงๆเปลี่ยนได้หรือเปล่าตอนนี้ทางต่างชาตินี้ได้ส่งคนเข้ามาดูแลทุกอย่างแต่ก็ยังให้เกียรติสามียู่บ้าแต่พนักงานมองไม่ออขอเรียนถามว่าจะหาทางออกอย่างในการเพิ่มทุนและจะมีการเอาต่างชาติขึนมาเป็นกรรมการผู้จัดการได้หรือไม่และหากมีการฟ้องร้องเรียกหุ้นคืนจะได้หรือไม่และดิฉันดูเข้าข่ายนอมินีจะมีความผิดทางกฏหมายหรือไม่ต่อเนื่องจากเมื่อวานคะขอขอบพระคุณอย่างสูงเพราะไม่ค่อยเข้าใจเรื่องกฎหมาย



ผู้ตั้งกระทู้ กาญจนา :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-06 13:03:43


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1910707)

ถ้าบริษัททั้งสองแห่งมีหุ้นของคนต่างด้าวไม่เกิน ร้อยละ 49 ก็คงไม่มีปัญหาอะไรครับ เพราะบริษัทที่มาขอร่วมหุ้นด้วยนั้นถือเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย เพราะมีคนต่างด้าวถือหุ้นไม่เกิน ร้อยละ 49 แม้เอาหุ้นของคนต่างด้าวมารวมกันแล้วจะเกินร้อยละ 49 ก็ไม่เป็นอะไร เพราะว่า นิติบุคคลถือเป็นบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ดังนั้นเมื่อนิติบุคคลมีสัญชาติไทยแล้วก็ไม่ทำให้เป็นหุ้นของชาวต่างด้าวครับ

ขอแนะนำว่าไปติดต่อกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คุณจะได้คำตอบที่ชัดเจนกว่าจะได้สบายใจขึ้นครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-06 15:50:24


ความคิดเห็นที่ 2 (1910991)

บทความที่น่าสนใจ

อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน

ใครที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดอาญา แต่ความจริงมิได้ทำผิด หรือมีเหตุผลโต้แย้งว่าที่ได้กระทำไปนั้นมีข้ออ้างตามกฎหมายแต่เดิมผู้ต้องหาถูกตำรวจจับและต่อสู้คดี ตำรวจมักไม่รับฟังเหตุผล พนักงานสอบสวนจะทำสำนวนฟังแต่เพียงผู้เสียหายฝ่ายเดียวแล้วตั้งข้อหาส่งฟ้อง ส่งสำนวนให้อัยการ อัยการสั่งฟ้องตามสำนวนพนักงานสอบสวน จำเลยต่อสู้ว่าไม่ผิด ก็ไปให้การกับศาลเอง

เมื่อประเทศไทยส่งเสริมให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุน เพราะคิดว่าจะได้เงินเข้าประเทศ คนต่างชาติแห่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ก่อนพวกเขาเข้ามาพวกเขาได้ศึกษากฎหมายไทยอย่างดีแล้ว และรู้ว่าการตั้งบริษัทและเลิกบริษัททำได้ง่ายๆ แม้ต่างชาติจะถือหุ้นร้อยละ 49 แต่เขาก็แต่เขาก็อุปโลกน์คนไทยมาถือหุ้นร้อยละ 51 นำชื่อไปจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังได้รับการยกเว้นภาษีเพราะยื่นคำขอส่งเสริมการลงทุนในไทย

ข้ออ้างว่าคนไทยจะมีรายได้มากขึ้น ความจริงคนงานก็ได้ค่าจ้างตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ เงินลงทุนทั้งหมด เป็นของคนต่างชาติทั้งหมด ส่วนคนไทยถูกจ้างเป็นผู้จัดการบริษัท มีหน้าที่จ้างคนงานจัดการเอกสารบริษัท การทำบัญชีงบดุลในรอบ 5 ปีซึ่งบัญชีจะขาดทุนตลอด

กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่ามีคนไทยร้อยละ 51 จริงหรือไม่ ขาดทุนจริงหรือไม่ จึงทำให้คนต่างชาติหอบกำไรกลับบ้านไปหมด

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2549 คนงานหญิงคนหนึ่งโทรศัพท์ปรึกษาดิฉันว่า จะทำอย่างไรกับปัญหาที่กำลังเกิดกับเธอ

"หลายปีก่อน หนูทำงานบริษัทที่มีคนไต้หวันตั้งโรงงานทำกระเป๋าเดินทางส่งออก บริษัทกำลังขอจดทะเบียนตั้งบริษัท นายจ้างขอร้องให้หนูนำที่ดินไปจำนองกับธนาคารก่อน เมื่อจดทะเบียนได้แล้ว บริษัทสามารถซื้อที่ดินได้ ก็จะนำที่ดินจำนองแทนหนูเห็นเงื่อนไขว่าใช้เวลาจำนองไม่นาน จึงนำโฉนดไปจำนองกับธนาคาร เจ้าหน้าที่ธาคารและผู้จัดการบริษัทให้หนูลงชื่อทำสัญญาจำนองแล้วจะถอนสัญญาทั้งหมดจากธนาคาร

ต่อมานายจ้างซื้อที่ดิน 117 ไร่ เขาพาหนูไปไถ่ถอนจำนอง ธนาคารแจ้งว่าเรียบร้อยแล้ว

หนูทำงานได้เงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท หนูเห็นหนังสือแจ้งหนี้สินของบริษัท ที่ธนาคารผู้รับจำนองส่งไปที่บริษัท เพื่อแจ้งให้ชำระหนี้โดยตลอดแต่ไม่มีหนังสือทวงถามถึงหนู

ทั้งนี้ กรรมการชาวไต้หวันทั้งหมดไม่มีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศไทย เงินรายได้ได้มาก็ส่งไปที่ไต้หวัน มีผู้จัดการเป็นคนไทยคนเดียวที่บริหารจัดการ

เดือนพฤษภาคม 2548 บริษัทปิดกิจการ ผู้จัดการถูกจ้างให้ทำการเลิกบริษัท ต่อมาธนาคารส่งหนังสือทวงหนี้ถึงบริษัทกับกรรมการไต้หวัน 8 คนและส่งหนังสือทวงหนี้ให้หนู โดยให้ชำระหนี้ทั้งหมด 30,000,000 บาท หนูตกใจมาก เพราะคิดว่าหนูไม่มีสัญญาอะไรกับธนาคารแล้ว จึงโทรศัพท์ไปที่ธนาคารสอบถาม ได้รับคำตอบว่า "คุณต้องรับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน" "หนูจึงขอถามคุณทนายว่าจะทำอย่างไร"

ดิฉันก็ตกใจกับเธอไปด้วย จึงตั้งข้อสงสัยและได้คำแนะนำกับเธอไปดังนี้

1. ธนาคารร่วมกับบริษัทรู้เห็นเป็นใจหลอกลวงเธอไม่ยกเลิกสัญญาค้ำประกัน การที่ธนาคารกระทำกับเธอเช่นนี้เพราะรู้ว่าลูกจ้างมีที่ดินแล้วได้เงินไม่ครบ ก็จะบังคับเอาที่ดินกับลูกจ้างไปขายทอดตลาดชำระหนี้ส่วนที่เหลือ

2. กฎหมายไทยมีข้อบกพร่องคือ การจดทะเบียนตั้งนิติบุคคลในไทย จดง่าย ไม่มีการตรวจสอบว่าธุรกิจทำจริงหรือไม่ ทำกิจการแล้วขาดทุนจริงตามที่แสดงงบดุลประจำปีหรือไม่ อีกทั้งการได้รับยกเว้นภาษีจากการส่งเสริมการลงทุน 5 ปี เป็นช่องทางที่บริษัทต่างชาติสามารถกอบโกยผลประโยชน์มากที่สุด ถึงแม้บริษัทได้กำไร แต่งบดุลก็แจ้งขาดทุน กำไรถูกเก็บเข้ากระเป๋าเงินของผู้ลงทุน ต่างชาติที่ลงทุนในประเทศสามารถกู้เงินไปลงทุนได้ จึงมีการกูเงินจากแหล่งเงินกู้โดยธนาคารพาณิชย์ เมื่อครบ 5 ปีบริษัทปิดกิจการการเลิกบริษัทก็ทำได้ง่าย ให้นักบัญชีชำระบัญชี โดยดูจากงบดุลที่ขาดทุน ส่วนหนี้ที่เกิดขึ้นกรรมการรับผิดเพียงจำนวนหุ้นที่ถือเท่านั้น

การเลิกบริษัทไม่ต้องนำตัวมาสอบสวนว่าขาดทุนเพราะอะไร ซึ่งต่างจากการเลิกบริษัทในบางประเทศที่ต้องไปร้องต่อศาล ศาลจะไต่สวนก่อนว่าทำไมจึงเลิกบริษัท มีตัวเลขหนี้สินและกำไรหรือขาดทุนเท่าไรเราจึงทราบว่าบริษัทที่ขายเครื่องเอกซเรย์วัตถุระเบิดที่ใช้ในสนามบิน ซึ่งคนไทยสั่งซื้อไว้ จากการไต่สวนได้ความว่ามีการจ่ายเงินก้อนหนึ่งเพื่อเป็นค่านายหน้า เราจึงทราบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น จากการไต่สวนขอปิดกิจการของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นข่าวโด่งดังในประเทศไทย

ดิฉันดิฉันจึงอยากเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายการเลิกนิติบุคคลไทย ให้ร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีการตรวจสอบว่า การดำเนินกิจการก่อนการเลิกนิติบุคคล เชื่อได้หรือไม่ว่าขาดทุนจริง

3. การบังคับจำนอง กฎหมายให้ไปฟ้องศาลบริษัทเป็นกระดาษ กรรมการต่างชาติทั้งหมดอยู่ไต้หวันแม้มีคำพิพากษาว่าให้กรรมการรับผิด ก็ไม่อาจบังคับชำระหนี้ได้ เพราะกรรมการไม่ได้อยู่ในประเทศไทย จึงไม่ต้องใช้หนี้

แม้ธนาคารสามารถนำที่ดินไปขายทอดตลาดได้แต่ธนาคารมิได้ขายทันที ปล่อยให้ดอกเบี้ยเพิ่มทุกวัน เมื่อขายทอดตลาดราคาที่ดินจะถูกตั้งต่ำกว่าหนี้ที่ค้างชำระ และไม่มีส่วนได้เสียของที่ดินไปคัดค้านเพราะกรรมการกลับประเทศไปแล้ว การขายจึงขายในราคาถูกกว่าหนี้ เงินได้ไม่พอชำระหนี้

ธนาคารไปบังคับกับผู้ค้ำประกันซึ่งตามกฎหมายต้องรับผิดชอบเท่ากับลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกันไม่มีเงินสดไปชำระหนี้ ธนาคารรู้ว่าเคยมีที่ดินจำนองไว้แล้วก็อายัดที่ดินผู้ค้ำประกันไปขายทอดตลาด เงินที่ได้นำไปชำระหนี้ของบริษัท

ผู้ค้ำประกันจะเรียกเงินคืนได้ก็ต้องไปฟ้องไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้คือบริษัทต่างชาติ ท่านคิดว่าผู้ค้ำประกันจะได้เงินหรือ

4. ดำเนินคดีอาญากับกรรมการต่างชาตินั้นทำไม่ได้เสียแล้ว เขาถือเงินสดออกไปหมดแล้ว ผู้ค้ำประกันรายนี้ถูกทั้งธนาคารและคนต่างชาติหลอกลวงให้ลงชื่อค้ำประกัน จะบินไปจับตัวมาดำเนินคดีก็ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้

ดิฉันแนะนำให้คนงานหญิงต่อสู้ถ้าธนาคารฟ้องร้องจากเรื่องนี้ดิฉันจึงอยากฝากให้ทุกท่านได้ช่วยกันป้องกันมิให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดอีก ช่วยกันเตือนญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และลูกๆ ของพวกเราที่ไม่รู้เลห์เหลี่ยมทางการค้าว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าไปแก้ปัญหาภายหลัง

มณีรัตน์ (มยุรี) ภัคดุรงค์

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2009-03-07 13:45:58



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล