ReadyPlanet.com


ไม่อยากส่งงบแล้ว


บริษัทฯ ไม่มีธุรกรรมใดๆ แล้ว ไม่ได้ส่งแบบภาษีมูลค่าเพิ่มเลย แต่ส่งงบการเงินที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ เลยติดต่อกันมา 4 ปีแล้ว แสดงเพียงค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงานเล็ก ๆ น้อยๆ ทรัพย์สินชิ้นใหญ่ของบริษัทฯ มีเพียงรายการเดียวคือรถยนต์หนึ่งคัน ราคาตลาดปัจจุบันประมาณห้าแสนบาท ถ้าหยุดส่งงบการเงินต่อนับจากนี้ บริษัทฯ จะถูกปิดไปเองหรือไม่ และจะส่งผลกระทบต่อการครอบครองรถยนต์หรือไม่  (ไม่อยากทำเรื่องปิดบริษัทฯ เพราะขั้นตอนยุ่งยากและค่าใช้จ่ายแพง)


ผู้ตั้งกระทู้ ภายล :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-05 22:25:41


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1910673)

ตราบใดที่นิติบุคคลยังไม่ได้ชำระบัญชีและจดทะเบียนเลิก ผู้แทนยังมีหน้าที่ยื่นบัญชีงบดุลประจำปี มิฉะนั้นอาจมีโทษตามกฎหมายครับ

สำหรับขั้นตอนยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายก็คงต้องทำใจครับเพราะการจดทะเบียนนิติบุคคลเมื่อจดแล้วย่อมมีสภาพบุคคลต่างห่างจากผู้ถือหุ้น ดังนั้นเมื่อเลิกกิจการก็ต้องจดทะเบียนเลิกเช่นกันครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-06 15:05:36


ความคิดเห็นที่ 2 (1910859)

โทษตามกฎหมายคืออะไรคะ  การขีดชื่อบริษัทเป็นบริษัทร้าง เขาจะทำในกรณีไหนคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ภายล วันที่ตอบ 2009-03-06 22:19:59


ความคิดเห็นที่ 3 (1910994)

อ่านบทความนี้อาจมีคำตอบสำหรับคุณ

คำถาม

บริษัทไม่ได้ยื่นงบปี 45 และ 46 แต่จะยื่นปี 47
1.
ถ้าเกิดจะไม่ยื่นปี 45 และ 46 ยื่นแต่ปี 47 ได้หรือเปล่า
2.
แล้วถ้าเกิดยื่นปี 45 และ 46 จะต้องโดนค่าปรับหรือเปล่า ทั้งที่สรรพากร และกระทรวงพาณิชย์

 

 

คำตอบ

 

 

1. ทางกรมสรรพากร จะมีความผิด
1.1 ในเรื่องของการไม่ยื่นแบบ ภงด.50 จะมีค่าปรับแบบที่ไม่ยื่น ปีละ 2,000 บาท แต่อายุความ 1 ปี ดังนี้ ประมวลรัษฎากร กำหนดให้ยื่นแบบ ภงด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นงวด เช่น บริษัทปิดงวด 31 ธ.ค. 45 จะต้องยื่นแบบ ภงด. 50 ภายในวันที่ 30 พ.ค. 46 แต่ไม่ได้นำยื่น อายุความ 1 ปี ครบกำหนด 30 พ.ค. 47 ดังนั้นหากมายื่นแบบ ภงด.50 ปี 45 หลังวันที่ 30 พ.ค. 47 ก็จะไม่เสียค่าปรับแบบของปี 45 ครับ
1.2 แต่ใน 1.1 นั้นเป็นเรื่องของค่าปรับแบบครับ ไม่เกี่ยวกับตัวภาษีตามแบบ ภงด. 50 ( ถ้ามี ) ถ้าปี 45 เกิดมีภาษีที่ต้องชำระก็จะต้องชำระครับแม้ว่าจะผ่านมากี่ปีก็ตาม รวมถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่มต่างหาก
1.3 การยื่นแบบ ภงด. 50 ตามเขตนั้น ทางเจ้าหน้าที่สรรพากรที่รับเรื่อง จะไม่ทราบว่า เรายื่นงบของปี 45 และ ปี 46 หรือไม่ ดังนี้นถ้าจะไม่ยื่นของปี 45-46 แล้วมายื่นของปี 47 ก็สามารถทำได้ครับ และเจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธ ไม่รับการยื่นแบบของเราครับ

2. ทางกระทรวงพาณิชย์ จะมีความผิด
2.1 ตาม พรบ. การบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดว่า ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ปฏิบัติตามในการยื่นงบการเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีที่อธิบดีกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นนิติบุคคล และไม่ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน หรือไม่จัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนยื่นต่อสำนักงานกลางบัญชี { ภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี ( กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ) แต่ถ้าเป็นบริษัทจำกัด ต้องส่งงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ซึ่งที่ประชุมใหญ่นี้ต้องจัดประชุมภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ( ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ) } ไม่เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคล ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับโทษที่กำหนดไว้สำหรับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นด้วย ( อายุความ 1 ปี ) ในเรื่องของจำนวนเงินจะต้องเช็คอีกครั้งว่า วันที่จะยื่นนั้นทางเจ้าหน้าที่กำหนดค่าปรับเท่าใด เพราะกฏหมายกำหนดว่าไม่เกิน 50,000 บาท
2.2 ในการยื่นงบกับทางกระทรวงพาณิชย์นั้น ทางเจ้าหน้าที่จะทวงติง และจะให้ทางบริษัทต้องยื่นงบทั้งหมด ที่ยังไม่นำส่งแต่ทางเจ้าหน้าที่อาจผ่อนปรนรับงบของปี 47 ไปก่อน ( ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของทางกระทรวง ณ ขณะนั้น ) ดังนั้นรีบดำเนินการจัดทำงบและรีบติดต่อเจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์อีกครั้ง

http://www.avaccount.com/wb/account_update122.htm

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-07 14:00:29



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล