ReadyPlanet.com


การสละมรดก


การสละมรดกโดยการทำเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น จะต้องมีการมอบให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่คะ ขอตัวอย่างหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความที่ว่านี้ด้วยค่ะ อยากทราบว่า การสละมรดกของพ่อ เพื่อให้หลานนำมรดกไปชำระหนี้ของพ่อนั้น เป็นการสละมรดกโดยลักษณะใดคะ และจะต้องมีการมอบให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่คะ และหากหลานอายุต่ำกว่า 15 แล้ว (เป็นทายาทโดยธรรมของพ่อ) อยากทราบว่า สามารถลงนามในหนังสือที่ว่านี้หรือไม่คะ หรือจะต้องให้แม่ทำแทนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของลูกคะ


ผู้ตั้งกระทู้ นักศึกษา :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-18 18:43:48


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1916080)

การสละมรดกต้องทำเป็นหนังสือหรือสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้า ผ.อ. เขต/หรือ นายอำเภอ ทำอย่างไรนั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ทางเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำเอง

การสละมรดกจะสละโดยเจาะจงให้แก่ผู้ใดไม่ได้ ทรัพย์มรดกส่วนที่ตนเองสละก็จะกลับเข้าสู่กองมรดกก่อนที่จะตกแก่ทายาทที่มีอยู่โดยผลของกฎหมาย

ผู้เยาว์ที่อายุยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน จึงจะสละได้

มาตรา 1611

"ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ตามความหมายแห่งมาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะทำการดั่งต่อไปนี้ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณีและได้รับอนุมัติจากศาลแล้ว คือ
(1) สละมรดก
(2) รับมรดกอันมีค่าภาระติดพันหรือเงื่อนไข"

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-18 22:15:57


ความคิดเห็นที่ 2 (1916443)
หากผู้สละมรดกแก่ชรา และมีสุขภาพไม่แข็งแรง จะสละมรดกอย่างไรคะ เนื่องจากคงไม่สามารถไปทำหนังสือต่อหน้านายอำเภอค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษา วันที่ตอบ 2009-03-19 17:49:31


ความคิดเห็นที่ 3 (1916554)

ถ้าไปไม่ไหวก็รับมรดกไปเถอะครับ เพราะรับมรดกก็ไม่ทำให้คนชรา เสียหายแต่อย่างไรครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-19 21:20:25


ความคิดเห็นที่ 4 (1916642)
ก็ให้นายอำเภอมาบ้านสิคับ ไม่จำเป็น ต้อง ทำในวัน ราชกาล หรือ ทำที่อำเภอ เท่านั้น นะคับ
ผู้แสดงความคิดเห็น กั๊ก-นิติราม วันที่ตอบ 2009-03-20 04:52:13


ความคิดเห็นที่ 5 (1916643)
การสละ มรดก ทำได้2 แบบ ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้ง และจะทำเพียงบางส่วน หรือมีเงือนไข หรือเงื่อนเวลามิได้ 1.ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ 2.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ การสละมรดก มีผลย้อนหลัง ตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้ที่สละมรดก จะไม่มีสิทธิในมรดกที่สละแล้ว แต่อย่างใด
ผู้แสดงความคิดเห็น กั๊ก-นิติราม วันที่ตอบ 2009-03-20 04:56:21


ความคิดเห็นที่ 6 (1917209)

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับนางสุนทร เกตุจิตร ผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารหมาย ร.6 ไว้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นเงิน 10,000 บาทเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2540 โดยบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ อีก ตามเอกสารหมายร.12 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า พินัยกรรมเอกสารหมาย ร.6 เป็นโมฆะหรือไม่ เห็นว่า พินัยกรรมตามเอกสารหมาย ร.6 ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ไว้ ซึ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 บัญญัติว่า พินัยกรรมต้องทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ดังนั้น แม้พินัยกรรมดังกล่าวจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคนแต่มิได้ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรมก็ต้องถือว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1656 ย่อมเป็นโมฆะ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705 เมื่อพินัยกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ ผู้ร้องจึงมิใช่ทายาทของผู้ตายตามพินัยกรรมไม่มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ที่ศาลล่างทั้งสองให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น

มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกอันจะทำให้มีสิทธิเรียกร้องขอถอนผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตามบันทึกเอกสารหมาย ร.12 มีข้อความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกของนางสุนทร เกตุจิตร ไปในวันนี้แล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ เห็นว่า ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกรายนี้ ที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป โดยผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายในขณะนั้นยอมจ่ายเงินให้ผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 10,000 บาท แล้วผู้คัดค้านที่ 1 จะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850นอกจากนี้เงินจำนวน 10,000 บาท ที่ผู้ร้องจ่ายให้ผู้คัดค้านที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้ความจากพยานผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสองว่าเป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ของลูกค้า ธกส. อำเภอสรรพยาซึ่งผู้ตายระบุไว้ในใบสมัครว่า เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมแล้วให้ผู้ร้องเป็นผู้รับเงินสงเคราะห์เงินดังกล่าวย่อมมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับเงินดังกล่าวไป 10,000 บาท แล้ว ทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก จึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกเพียงบางส่วนการประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย ร.12 ดังกล่าวจึงมีผลเป็นการสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 สละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีอำนาจมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ที่ศาลล่างทั้งสองให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านที่ 2 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ฟังขึ้น"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ตั้งนางเฉลียว คงดิษฐ์ ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของนางสุนทร เกตุจิตร ผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวให้ยกคำร้องของนางชำเรือง มาใหญ่ผู้คัดค้านที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

( วสันต์ ตรีสุวรรณ - ชาญชัย ลิขิตจิตถะ - จำรูญ แสนภักดี )

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-21 10:02:46



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล