ReadyPlanet.com


กู้เงินซื้อบ้านกับธนาคาร


เมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อน ผมไดกู้ร่วมกับภรรยาซื้อบ้านหลังหนึ่งแต่ช่วงก่อนหน้านั้นเราส่งค่าบ้านไม่ไหวเลยปล่อยให้ธนาคารยึดไป ยอดที่กู้ 1300000บาทขายทอดตลาดแล้วได้ 950000 ก็เท่ากับเราต้องเป็นหนี้ธนาคารอีก 300000กว่าบาท แต่ตอนนั้นผมเข้าใจว่าถ้าธนาคารยึดไปแล้วเราก็เป็นหนี้ธนาคารแค่ส่วนที่เหลือและ เวลาต่อมาผมก็ได้ย้ายบ้านมาอยู่ที่ใหม่ซึ่งไม่มีจดหมายทวงจากธนาคารมาเลยผมก็นึกว่าเรื่องมันน่าจะจบไปแล้ว และเมื่อ1 ปีก่อนธนาคารได้ส่งรายละเอียดการเป็นหนี้มาให้ปรากฎว่าผมต้องเป็นหนี้ธนาคาร ล้านกว่าบาทซึ่งเงินล้านกว่าบาทผมไม่มีปัญญาไปจ่ายหมดหรอก และผมก็เลยไม่ได้สนใจอะไรแล้ว แต่ณปัจจะบันนี้มีหนังสือหมายสารมา สรุปคือ ผมต้องเป็นหนี้ยอดทั้งหมด 2 ล้านกว่าบาทแล้ว แต่ธนาคารจะฟ้องล้มละลายซึ่งผมก็อยาดจะผ่อนชำระนะแต่ว่ายอดมันมากเหลือเกิน และอีกอย่างตอนนี้ผมก็ได้ซื้อบ้านหลังใหม่ซึ่งเป็นชื่อผมเอง ผมอยากจะถามว่าถ้าผมจะโดนฟ้องล้มละลายแต่ผมไม่อยากให้บ้านโดนยึดผมสามารถโอนบ้านให้เป็นชื่อลูกชายได้หรือปล่าวลูกชายอายุ 18 ปีผมเองก็คงต้องปล่อยให้ธนาคารฟ้องไป


ผู้ตั้งกระทู้ กร :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-12 14:20:49


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1913509)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237

"เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้"

 

จากข้อเท็จจริและคำถามของคุณนั้น การที่คุณโอนทรัพย์สินของคุณให้บุตร โดยรู้อยู่แล้วว่าการโอนนั้นทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ดังนั้นเจ้าหนี้ขอให้เพิกถอนการโอนนั้นได้ครับ

การเพิกถอนต้องดำเนินการภายในหนึ่งปี นับแต่เจ้าหนี้รู้ แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่ได้โอนให้บุตรครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-13 10:43:50


ความคิดเห็นที่ 2 (1913934)

แล้วอีกกรณีหนึ่งละครับถ้าผมจะชำระหนี้ผมมีสิทธิผ่อนผันหรือต่อรองราคาได้มากน้อยเพียงใดแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น กร วันที่ตอบ 2009-03-14 09:39:53


ความคิดเห็นที่ 3 (1914051)

ต่อรองได้ครับ เป็นเรื่องของเจ้าหนี้ กับ ลูกหนี้ โดยปกติเขาจะตกลงอยู่แล้ว ก็ติดต่อเจ้าหนี้ไปตามหนังสือที่คุณได้รับ ซึ่งมีชื่อเจ้าหน้าที่ และเบอร์โทรศัพท์ ให้อยู่แล้ว หรือติดต่อโจทก์หรือทนายความตามคำฟ้องโจทก์ที่คุณได้รับล่าสุดนี้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-14 17:05:07



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล