ReadyPlanet.com


การแบ่งเขตที่ดิน


การที่เราให้เจ้าหน้าที่มารังวัดเขตที่ดินตาม นส 3 เราเป็นเจ้าของที่ดินมาก่อนคู่กรณี และเขาใช้รถดันหัวขันนาจะทำให้ต้นนาและท้ายนาตรงกัน  ซึ่งก็จะทำให้กินเนื้อที่ของเรา เพราะในใบที่ดินเราเป็นแนวโค้งออกตรงกลางที่ดิน  และเจ้าหน้าที่ก็รังวัดแล้วก็เราปักเสาตามที่เจ้าหน้าที่วัด  ส่วนคู่กรณีเป็นเพียงพี่ชายของเจ้าของที่ดิน แต่ก็ได้มีหนังสือมอบอำนาจดูแลในการจัดการรังวัดที่ดินด้วย และเขากำลังซื้อที่ดินจากน้องชายแต่ยังไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามกฎหาย  เพราะเจ้าหน้าที่รังวัดโทรสอบถามทางที่ดินจังหวัดใครเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็นชื่อของน้องชายเขา   และเขาได้จ้างทนายความ  และมีหนังสือให้ลื้อถอนเสาหลักที่นั้นออก

อยากทราบว่าเราควรทำการอย่างไรดี  กรุณาช่วยแนะนำและแนวทางแก้ไขด้วยค่ะ  ขอบคุณค่ะ

และต่อมาคู่กรณีไม่ยอม



ผู้ตั้งกระทู้ ขอคำแนะนำและแนวทางแก้ไข (minttra-at-windowslive-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-29 14:15:46


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1920565)

เมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการปักเขตให้แล้วก็คงเป็นไปตามนั้นครับ หากฝ่ายใดได้รับความเสียหายอย่างไร ก็ต้องไปว่ากันอีกโดยฟ้องร้องต่อศาลตามที่ตนได้รับความเสียหายต่อไปครับ

เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ให้มานั้นไม่ค่อยชัดเจนจึงตอบได้เท่านี้ครับ

ถ้าเขามีหนังสือมาให้เรารื้อถอนเสาหลักคงทำไม่ได้เพราะเสาปักเขตดังกล่าวได้ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าทึ่ของรัฐ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-29 18:22:32


ความคิดเห็นที่ 2 (1921067)

การรังวัดสอบเขตที่ดิน

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2531

 

จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะบรรยายฟ้องสับสน ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าโจทก์ได้ที่ดินมาอย่างไร และครอบครองที่ดินของโจทก์อย่างไร เขตที่อ้างว่าจำเลยบุกรุกอยู่ตรงไหนแต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าคำฟ้องเคลือบคลุมแม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าคำฟ้องเคลือบคลุมแต่ก็อ้างเหตุแห่งการเคลือบคลุมว่าฟ้องโจทก์มิได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายและค่าขาดประโยชน์ซึ่งเป็นคนละเหตุกับเหตุที่จำเลยที่ 1 อ้างในฎีกา ถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยไม่เคยเข้าไปกระทำการใด ๆ ในที่ดินของโจทก์เพียงแต่ในการขอรังวัดสอบเขตที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดกัน จำเลยนำชี้เขตที่ดินของตนว่าอยู่เลยแนวรั้วเข้าไปในที่ดินของโจทก์ซึ่งโจทก์ก็คัดค้าน เมื่อโจทก์ขอรังวัดสอบเขตที่ดินบ้าง จำเลยที่ 1 ก็ไประวังแนวเขตและชี้ว่าที่ดินของตนอยู่เลยแนวรั้วเข้าไปในที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้รังวัดสอบเขตไม่สำเร็จไม่มีการเปลี่ยนแปลงเขตที่ดินในโฉนด ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินส่วนที่เลยแนวรั้วในที่ดินของโจทก์

 

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วกั้นเขตที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยและก่อสร้างตึกรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ตามแนวรั้วที่ถูกถอนเป็นรูปชายธง โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำแล้ว จำเลยที่ 2 เพิกเฉย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินของโจทก์มีเขตตามเส้นสีแดงในแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง ให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์พร้อมทั้งขนสิ่งที่จำเลยที่ 2 นำมากองไว้ในที่ดินโจทก์ออกไป ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ในการรับรองแนวเขตในการรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมทั้งดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินที่จำเลยที่ 1ครอบครองทั้งหมดเป็นของจำเลยที่ 1 โจทก์นำชี้เขตที่ดินรุกล้ำเข้ามาในเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 และสร้างรั้วของโจทก์รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยที่ 1 ทางด้านเหนือคิดเป็นเนื้อที่ 16ตารางวาเศษ จำเลยที่ 1 บอกกล่าวให้โจทก์รื้อแล้วโจทก์ไม่รื้อขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์รื้อรั้วดังกล่าวออกไป จำเลยที่ 2ให้การว่า ได้ปลูกสร้างอาคารในเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 มิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะมิได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายและค่าขาดประโยชน์ โจทก์ให้การแก้คำฟ้องแย้งทำนองเดียวกับคำฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่ดินของโจทก์มีเขตตามเส้นสีแดงในแผนที่วิวาท ให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่าทางด้านตะวันตกของที่ดินโฉนดที่ 1102 ของโจทก์ติดกับที่ดินโฉนดที่ 1080 ของนางบุญนาค มีลำกระโดงคั่นเป็นแนวเขตตลอดแนวต่อมาทางราชการตัดถนนสุขสวัสดิ์ผ่านด้านตะวันตกของที่ดินโฉนดที่ 1080 และตัดถนนแยกจากถนนสุขสวัสดิ์เข้าอำเภอพระประแดงผ่านที่ดินโฉนดที่ 1080 และโฉนดที่ 1102 เมื่อทางราชการตัดถนนดังกล่าวแล้ว ระหว่างพุทธศักราช 2498-2500 ได้มีการรังวัดที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเพื่อแบ่งแยกโฉนดเพราะต้องแบ่งที่ดินให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์ในการแบ่งแยกโฉนด ช่างแผนที่ไม่สามารถปักหลักเขตคอนกรีตตรงแนวเขตที่ที่ดินทั้งสองแปลงติดต่อกันได้เพราะแนวเขตติดต่ออยู่กลางลำกระโดง จึงปักหลักไม้ไว้กลางลำกระโดงตรงที่เป็นเขตติดต่อที่แท้จริง ส่วนหลักเขตคอนกรีตปักลึกเข้ามาในที่ดินของทั้งสองฝ่ายมุมที่ดินด้านเหนือปักหลักเขตคอนกรีตหมายเลข ก.156345 ลึกเข้าในที่ดินโฉนดที่ 1102 ห่างหลักไม้ .102 เส้น ปักหลักเขตคอนกรีตหมายเลข ย.477305 ลึกเข้ามาในที่ดินโฉนดที่ 1080 ห่างหลักไม้ .075 เส้น มุมที่ดินด้านใต้ปักหลักเขตคอนกรีตหมายเลข ก.156415 ลึกเข้ามาในที่ดินโฉนดที่ 1102 ห่างหลักไม้ .054 เส้น ปักหลักเขตคอนกรีตหมายเลข ย.483515 ลึกเข้ามาในที่ดินโฉนดที่ 1080 ห่างหลักไม้.070 เส้น พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกโฉนดที่ดินของนางบุนนาคส่วนที่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ใหม่เป็นโฉนดที่ 6267 ส่วนที่ดินของโจทก์คงใช้โฉนดเดิม โฉนดทั้งสองฉบับได้แสดงหลักไม้ซึ่งเป็นหลักเขตที่แท้จริงกับจุดที่ปักหลักเขตคอนกรีตดังกล่าวไว้ด้วยที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะบรรยายฟ้องสับสน ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าโจทก์ได้ที่ดินมาอย่างไรและครอบครองที่ดินของโจทก์อย่างไร เขตที่อ้างว่ามีการบุกรุกอยู่ตรงไหนจำเลยทั้งสองไม่อาจเข้าใจได้ ทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบและหลงข้อต่อสู้นั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้เลยว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม ส่วนจำเลยที่ 2 แม้จะให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม แต่ก็อ้างเหตุแห่งการเคลือบคลุมว่าคำฟ้องของโจทก์มิได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายและค่าขาดประโยชน์ซึ่งเป็นคนละเหตุกับเหตุที่จำเลยที่ 1 อ้างอิงในฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยฎีกาข้อนี้ให้"

"ศาลฎีกาพิเคราะห์คำเบิกความของนายเสริมเกียรติดังกล่าวแล้วเชื่อว่าที่ดินภายในเส้นสีแดงในแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.36เป็นที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 2 ปลูกตึกในที่ดินของจำเลยที่ 1รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์เป็นเนื้อที่ 2/10 ตารางวา ปรากฏตามพื้นที่สีเหลืองในแผนที่วิวาท ในปัญหาว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในเส้นสีเขียวในแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.36ส่วนที่เลยแนวรั้วสังกะสีเข้าไปในที่ดินโฉนดที่ 1102 ของโจทก์กับที่ดินตามพื้นที่สีเหลืองในแผนที่วิวาทดังกล่าวซึ่งเป็นที่ดินที่จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 1102หรือไม่นั้น เห็นว่า การที่จะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยทางครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้ครอบครองจะต้องครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ไม่เคยเข้าไปกระทำการใด ๆ ในที่ดินโฉนดที่ 1102 ของโจทก์เลยเพียงแต่ในการขอรังวัดสอบเขตที่ดินโฉนดที่ 6267 ของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 นำชี้เขตที่ดินของตนว่าอยู่เลยแนวรั้วสังกะสีเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 1102 ของโจทก์ซึ่งโจทก์ก็ได้คัดค้านและเมื่อโจทก์ขอรังวัดสอบเขตที่ดินโฉนดที่ 1102 บ้าง จำเลยที่ 1ไประวังแนวเขตก็ได้ชี้ว่าเขตที่ดินโฉนดที่ 6267 ของจำเลยที่ 1อยู่เลยแนวรั้วสังกะสีเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 1102 ของโจทก์เป็นเหตุให้การขอรังวัดสอบเขตไม่สำเร็จ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเขตที่ดินในโฉนดดังกล่าวทั้งสองแปลง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ครอบครองที่ดินตามพื้นที่สีเขียวในแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.36ส่วนที่เลยแนวรั้วสังกะสีซึ่งเป็นเขตติดต่อของที่ดินเข้าไปในที่ดินโฉนดที่ 1102 ของโจทก์ ส่วนที่ดินตามพื้นที่สีเหลืองในแผนที่วิวาทดังกล่าวซึ่งเป็นที่ดินที่จำเลยที่ 2 ปลูกตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดที่ 1102 ของโจทก์ คดีได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 เช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2521 เมื่อเช่าที่ดินจากจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 2 ก็ได้ปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดที่ 1102ของโจทก์ ตามพื้นที่สีเหลืองในแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.36โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2521 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ยกขึ้นกล่าวในฎีกาข้อนี้ทั้งหมด ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเพราะจำเลยที่ 1 ครอบครองที่พิพาทโดยสุจริตด้วยความสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ไม่ได้โต้แย้งตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2511 นั้น ฎีกาข้อนี้พอเข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินภายในเส้นสีเขียวในแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.36 ส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดที่ 1102 ของโจทก์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี จำเลยที่ 1จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1384 โจทก์จึงหมดสิทธิในที่ดินดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ดังนั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้นเช่นกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย"

พิพากษายืน

( บุญส่ง คล้ายแก้ว - ธีรศักดิ์ กรรณสูต - ถวิล ทองสว่างรัตน์ )

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-30 21:12:47



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล