ReadyPlanet.com


ฟ้องแบ่งมรดก


หากเจ้ามรดกเสียชีวิตภายใน 1 ปี และได้จัดตั้ง ผจก.มรดกแล้วผจก.มรดกไม่ทำหน้าที่กหน้าที่จะดำเนินการฟ้องแบ่งทรพัย์สินได้หรือไม่และจะมีวิธีแนะนำในทางปฏบัติอย่างไรซึ่งให้ได้ตามสิทธิ์นั้นช่วยแนะนำทายาทด้วยขอขอบพระคุณยิ่ง


ผู้ตั้งกระทู้ ทายาท :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-27 11:59:17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1920022)

มาตรา 1727 ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอน ผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือ เพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดก เสร็จสิ้นลง

วรรคสอง
แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจาก ตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล

-----------------

ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดกเพราะไม่ทำการตามหน้าที่ได้ วิธีการก็ต้องให้ทนายความดำเนินการให้ครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-27 20:59:25


ความคิดเห็นที่ 2 (1920030)

คำพิพากษาฎีกา เกี่ยวกับการเพิกถอนผู้จัดการมรดก

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2534

 

สัญญาประนีประนอมยอมความจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851ซึ่งรวมถึงการต่อสู้คดีด้วย เมื่อจำเลยสู้ว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังไม่ได้ ไม่ว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาแล้วหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยโอนทรัพย์มรดกเป็นของตน เป็นการละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และมีพฤติการณ์แสดงว่าจะจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายเป็นเหตุสมควรจะถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และเมื่อโจทก์เป็นบุคคลไม่ต้องห้ามเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย ก็สมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทนจำเลย.

 

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นบุตรของนายอยู่เจ้ามรดกเมื่อนายอยู่ตายศาลได้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนายอยู่แต่จำเลยไม่ยอมแบ่งมรดกให้ทายาทกลับโอนทรัพย์มรดกบางส่วนเป็นของตนขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเพิกถอนการโอนที่ดินกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของนายอยู่ตามเดิม กับให้ส่งมอบที่ดินอีกสองแปลงเข้าเป็นกองมรดกเพื่อแบ่งปันแก่โจทก์และทายาท หากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แล้วตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลย

จำเลยให้การว่า ทรัพย์มรดกมีที่ดินแปลงเดียวซึ่งโจทก์กับบรรดาพี่น้องทุกคนร่วมกันยกให้จำเลยโดยให้จำเลยจัดการศพผู้ตายตอบแทน ส่วนที่ดินอีกสองแปลงผู้ตายได้ขายไปและยกให้บุตรบางส่วนตั้งแต่มีชีวิตอยู่แล้วจึงมิใช่ทรัพย์มรดก จึงไม่มีเหตุจะถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนเพิกถอนการโอนที่ดินกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของนายอยู่ผู้ตายตามเดิม กับให้จำเลยส่งมอบที่ดินอีกสองแปลงเข้าเป็นกองมรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท หากจำเลยไม่ยอมให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก และตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแทน

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกตามฟ้องให้โจทก์ 1 ใน 7 หากไม่ยอมแบ่งให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ส่วนคำขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลยกับขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินนั้นให้ยก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 บัญญัติว่า "อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" ซึ่งหมายความรวมถึงการต่อสู้คดีด้วยเมื่อจำเลยต่อสู้คดีว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงรับฟังตามข้อต่อสู้ของจำเลยไม่ได้ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาแล้วหรือไม่ก็ตาม

ส่วนฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น เห็นว่า เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วปรากฏว่าจำเลยได้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 30868 อันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของตนเอง เป็นการละเลยไม่ทำการตามหน้าที่และมีพฤติการณ์แสดงว่าจะจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายอันเป็นเหตุที่สมควรจะถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 โจทก์ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกได้เมื่อปรากฏตามฟ้องว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อประโยชน์ของทายาททุกคนทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 จึงสมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายอยู่ โนใหม่ ผู้ตาย แทนจำเลย

ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องส่งมอบที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 62 และ 63 ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา เข้าเป็นกองมรดกของผู้ตายนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายแจ่ม โนใหม่ บุตรของผู้ตายซึ่งเกิดกับนางอ่อนครอบครองทำประโยชน์เพื่อตนเองในที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 62มานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว และที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 63 มีทายาทของผู้ตายทำกินอยู่เช่น นางสายม่าน เตียนพลกรังนางเลี่ยม ศิริปรุ นายสง่า โนใหม่ เป็นต้น เมื่อจำเลยมิได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวทั้งสองแปลงจึงบังคับให้จำเลยส่งมอบให้แก่กองมรดกของผู้ตายไม่ได้

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนายอยู่ โนใหม่ ผู้ตาย แล้วตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแทน โดยให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ให้จำเลยไปจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 30868 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา กลับคืนมาเป็นกองมรดกของผู้ตายตามเดิม ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้ยกคำขอของโจทก์ที่ให้จำเลยส่งมอบที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 62 และ 63 ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1.

( พนม พ่วงภิญโญ - จองทรัพย์ เที่ยงธรรม - อุดม มั่งมีดี )

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-27 21:15:15


ความคิดเห็นที่ 3 (1924241)

ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกแล้วแต่ยังไม่ทำการอันใดเลยอยากทราบว่าคำพิพากษาให้เป็นผู้จัดการมรดกมีอายุกี่ปี

ผู้แสดงความคิดเห็น บุณฑริกา เพลงอินทร์ วันที่ตอบ 2009-04-08 16:12:29


ความคิดเห็นที่ 4 (1934604)

ไม่มีหมดอายุครับ จนกว่าจะแบ่งปันทรัพย์มรดกให้ทายาทเสร็จ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-05-08 08:23:31



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล