ReadyPlanet.com


ทำเรื่องขอครอบครองปรปักษ์


การทำเรื่องขอครอบครองปรปักษ์ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างคะ    ที่ดินเป็น น.ส.3  ซื้อขายกันมานานกว่า  15 ปีแล้ว ไม่ได้โอนทางทะเบียน แต่มีหนังสือสัญญาซื้อขาย ระบุว่าได้จ่ายเงินกันเรียบร้อยแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้โอนทางทะเบียนให้เรียบร้อย เนื่องจาก  เจ้าของ(ปู่)เสียชีวิต ทรัพย์ เป็นทรัพย์มรดก  และมีทายาทหลายคน ทั้งเป็นผู้เยาว์ด้วย  ผู้ขายเป็นทายาทคนหนึ่งที่เป็นผู้ใหญ่(พ่อ) ของทายาททั้หมด  จึงตกลงกันว่า เมื่อ ผู้เยาวที่เป็นทายาท สามารถทำนิติกรรมได้แล้วจึงจะโอนกัน   แต่ต่อมาครอบครัวที่ขายให้ ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น และกระจัดกระจายกันไปหลายแห่ง แต่ละคน ก็ มีลูก มีภรรยา มีสามีกัน ออกมาอีก ทำให้ยุ่งยากในการติดตามมาจดทะเบียนโอน  และรู้สึกว่าทายาทแต่ละคนทำตัวหัวหมอด้วยอีกต่างหาก   สำหรับผู้ซื้อครอบครัวของดิฉัน เมื่อซื้อแล้วก็เข้าทำสวนปาล์ม  ได้รับผลแล้วหลายปี เข้าไปเก็บผลประโยชน์มาตลอด  ที่ดินข้างเคียงก็รู้เห็น  เสียภาษีบำรุงท้องที่ให้ อบต. มาตลอด   กรณีอย่างนี้  ถ้าเราจะร้องขอครอบครองปรปักษ์  โดยไม่ต้องสนใจสัญญาซื้อขายนั่นเลย ก็ทำได้แล้วใช่ไหมคะ เพราะครอบครองมาโดยสุจริต และมีเจตนาเป็นเจ้าของ  หรือว่ายังติดเงื่อนไขอะไรอีก   เพราะว่าเคยปรึกษา เพื่อนที่เป็น ผู้พิพากษา เขา เคยบอกว่า  กรณีอย่างนี้ ศาลไม่สั่งให้กรอก มันไม่เป็นธรรม  จริงหรือเปล่าคะ  ช่วยแนะนำทางออกหน่อยคะ   เพราะจะเอาที่ดินเข้าค้ำประกันเงินกู้แต่ติดที่ไม่มีเอกสาร


ผู้ตั้งกระทู้ เกลียดคนหัวหมอ :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-23 16:20:47


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1918050)

มาตรา 456 การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไซร้ ท่านว่าเป็นโมฆะวิธีนี้ให้ ใช้ถึงซื้อขายเรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะ ด้วย

เมื่อการซื้อขายระหว่างครอบครัวคุณกับคุณปู่ เมื่อไม่ได้ไปจดทะเบียนกันที่สำนักงานที่ดิน จึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เป็นโมฆะ

เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบการครอบครองแล้ว จึงเป็นการสละการครอบครองและคุณได้ครอบครองที่ดินด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงได้สิทธิครอบครองเพราะที่ดินมีหนังสือ น.ส. 3 เป็นที่ดินที่ไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ได้เพราะไม่ใช่ที่ดินมีโฉนด

เมื่อคุณและครอบครัวได้สิทธิครอบครอง จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองและรับรองสิทธิของคุณโดยให้คุณมีสิทธิครอบครองและให้จดชื่อของคุณลงในสารบบทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียน (ที่ดิน)

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-23 18:46:09



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล