ReadyPlanet.com


สินสมรส


เมื่อรู้ว่าสามีเอาเงินสินสมรสไปซื้อบ้านให้เมียน้อย โดยการผ่อน โดยที่ผู้กู้เป็นสามีคนเดียว เรียนถามว่า กรณีนี้ อายุความในการฟ้องร้องขอมีส่วนในทรัพย์สินนี้มีว่าอย่างไรคะ และหากภายหลังเมื่อการผ่อนครบ และสามีโอนให้ลูกเมียน้อยแล้ว ถามว่า ภรรยา (จดทะเบียน) สามารถฟ้องกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่งอีกได้หรือไม่ (สมมติว่า ผ่อนไป 15 ปี แล้วค่อยโอนกรรมสิทธิให้แก่ลูกเมียน้อย) เรียนถามควรทำอย่างไรดีคะ ขอคำแนะนำค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ ผู้ไม่รู้กฎหมาย :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-21 16:00:03


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1917339)

ปพพ. มาตรา 1475
ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ใน มาตตา 456 แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยา จะร้องขอ ให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกัน ในเอกสารนั้น ก็ได้

อายุความ       

เมื่อเป็นสินสมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่งตามกฎหมายจึงขอให้ลงชื่อตนเองเป็นเจ้าของร่วมโดยไม่มีอายุความ

แต่ถ้าสามีนำสินสินรสไปโดนให้โดยเสน่หา โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส อีกฝ่ายหนึ่งย่อมขอเพิกถอนได้ภายใน 1 ปีนับแต่รู้ แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่โอน

มาตรา 1476 "สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน หรือ ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
ในกรณีต่อไปนี้
1. ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือ
สังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
2. ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บ
กิน หรือภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์
3. ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน ๓ ปี
4. ให้กู้ยืมเงิน
5. ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตาม
หน้าที่ธรรมจรรยา
6. ประนีประนอมยอมความ
7. มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
8. นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล


การจัดการสินสมรส นอกจากที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับ
ความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง"

 

มาตรา 1476 "สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน หรือ ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
ในกรณีต่อไปนี้
1. ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือ
สังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
2. ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บ
กิน หรือภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์
3. ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน ๓ ปี
4. ให้กู้ยืมเงิน
5. ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตาม
หน้าที่ธรรมจรรยา
6. ประนีประนอมยอมความ
7. มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
8. นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล


การจัดการสินสมรส นอกจากที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง"

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-21 17:50:40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล