ReadyPlanet.com


การแก้ไขทะเบียนราษฎร


ดิฉันมีความจำนงอยากที่จะแก้ไขสูติบัตรลูกชายอายุ 4เดือน คือการเปลี่ยนชื่อบิดาในสูติบัตร

เพราะตอนแจ้งเกิดได้แจ้งเกิดเป็นลูกของพี่ชายฉัน ซึ่งตอนนั้นเป็นช่วงที่แจ้งกะทันหัน คนที่ไปแจ้งเกิด

ได้แจ้งเป็นชื่อพี่ชายของดิฉันไปก่อน ส่วนเรื่องพ่อเด็ก พ่อจริงๆไม่ได้ยอมรับและทิ้งดิฉันไปตั้งแต่ตอนที่รู้ว่าท้องได้2เดือน พอดิฉันคลอดลูกมาจนอายุประมาณ4เดือน เค้ากลับมาขอคืนดีเพราะเห็นแก่ลูก ซึ่งดิฉันไม่อยากให้ลูกมีปมด้อยเรื่องที่มีลุงเป็นพ่อ สามารถแก้ไขสูติบัตรได้ไหมค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ นัส :: วันที่ลงประกาศ 2009-04-15 12:49:18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1925947)

ตามข้อเท็จจริงที่เล่ามานั้น น่าจะทำได้ครับ คุณควรนำผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนไปที่สำนักงานทะเบียนที่แจ้งเกิดเด็กและแจ้งรายละเอียดให้เขาฟังตามความเป็นจริง อย่างไรก็ตามหากทางนายทะเบียนไม่สามารถดำเนินการให้ได้ ก็ต้องให้บิดาเด็กร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรของตนและนำคำพิพากษาไปจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ครับ

 

มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อ เมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก


ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้า เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การ แจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความ ยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่ง ร้อยแปดสิบวัน


ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ต้องมีคำพิพากษาของศาล


เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำ พิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจด ทะเบียนให้



มาตรา 1549 เมื่อนายทะเบียนได้แจ้งการขอจดทะเบียนขอรับเด็กเป็น บุตรชอบด้วยกฎหมายไปยังเด็กและมารดาเด็กตาม มาตรา 1548 แล้ว ไม่ว่า เด็กหรือมารดาเด็กจะคัดค้านการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรตาม มาตรา 1548 หรือไม่ ภายในกำหนดเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันแจ้งการขอจด ทะเบียนถึงเด็กหรือมารดาเด็ก เด็กหรือมารดาเด็กอาจแจ้งให้นายทะเบียน จดบันทึกไว้ได้ว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือ ทั้งหมด


เมื่อได้มีคำแจ้งของเด็กหรือมารดาเด็กดังกล่าวในวรรคหนึ่งแล้ว แม้จะ ได้มีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรตาม มาตรา 1548บิดาของเด็กก็ยังใช้ อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดตามที่เด็กหรือมารดาเด็กแจ้งว่าบิดาไม่สม สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นไม่ได้ จนกว่าศาลจะพิพากษาให้บิดาของ เด็กใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด หรือกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่ วันที่เด็กหรือมารดาเด็กแจ้งต่อนายทะเบียนว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ไม่สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดนั้นได้ล่วงพ้นไป โดยเด็กหรือ มารดาเด็กมิได้ร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรไม่ เป็นผู้สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด


ในคดีที่ศาลพิพากษาว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรเป็นผู้ไม่สมควรใช้ อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ศาลจะพิพากษาในคดีเดียวกันนั้นให้ผู้ใด เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือเป็นผู้ปกครองเพื่อการปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ก็ได้

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

ถอนการจดทะเบียนรับรองบุตร


แต่งงานกับสามีหลายสิบปีก่อนแต่เราไม่มีบุตรด้วยกันเพราะหมอบอกว่า สามีน้ำเชื้ออ่อน สามีเคยเล่าให้ฟังว่า เขามีญาติพี่น้องที่ตั้งท้องแล้วไม่สามารถหาพ่อให้เด็กในท้องได้ จึงให้ความช่วยเหลือโดยรับเป็นพ่อของเด็กเสียเองและให้ใช้นามสกุลด้วย โดยได้จดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตรไว้ที่อำเภอในขณะที่เด็กเข้าโรงเรียน แต่เด็กยังคงอยู่กับมารดาไม่ได้ติดต่ออะไรกันมากไปกว่าทักทายกันในขณะที่มีการรวมญาติกันแต่ละครั้งหรือสามีช่วยเหลือทางด้านการเงินในยามที่เด็กหรือมารดาเด็กเดือดร้อน เรื่องนี้ใคร ๆ ก็รู้กันในหมู่ญาติทุกคน

ปัญหาคือว่า ฝ่ายญาติพี่น้องของดิฉันเขาตั้งข้อสังเกตกันว่า ดิฉันไม่มีบุตรกับสามี ดังนั้นเด็กคนที่สามีจดทะเบียนรับรองบุตรไว้ย่อมมีกรรมสิทธิในทรัพย์สินของสามีและดิฉันเหมือนกับบุตรที่แท้จริงทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ จึงแนะนำให้สามีไปจดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองบุตรเสียเพราะสามีเป็นนักธุรกิจมีทรัพย์สินมากมาย หากสามีเป็นอะไรไป จะได้ไม่มีเรื่องค้าความมรดกระหว่างดิฉันกับเด็กคนนั้น แต่สามีก็เฉย ๆ ไม่กระตือรือร้นที่จะทำอย่างที่แนะนำจึงอยากถามเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1. สามีจะเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตรได้หรือไม่ 2. ถ้าสามีไม่เพิกถอนการจดทะเบียนรับรองบุตร ต่อมาภายหลังหากมีปัญหายุ่งยากดิฉันจะขอเพิกถอนเสียเองในฐานะที่เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีจะได้หรือไม่ 3. ถ้าฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองบุตรไม่ได้ จะแก้ไขเรื่องนี้ได้อย่างไร พวงชมพู


เรื่องนี้เกี่ยวกับอำนาจการปกครองบุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะบียนสมรสกัน หลักกฎหมายก็คือว่า บุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว ความสัมพันธ์ทางฝ่ายบิดาแม้จะเป็นบิดาที่แท้จริงแต่ก็ถือว่าบิดาที่แท้จริงยังเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเรียกฝ่ายบุตรกันติดปากว่า "บุตรนอกสมรส"

อย่างไรก็ตามแม้บิดาจะไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ แต่ก็สามารถทำให้บุตรที่เกิดมาเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาด้วยได้ หากว่าบิดาและมารดาได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังหรือบิดาจดทะเบียนรับรองบุตร หรือศาลมีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ซึ่งวิธีการทั้งสามอย่างนี้ จะต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญคือ เด็กและชายผู้นั้นเป็นบิดาและบุตรกันในความเป็นจริง

สำหรับปัญหาของคุณพวงชมพูเป็นไปในทางที่ว่า แม่เด็กหาบิดาไม่ได้จึงได้ให้สามีคุณจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรไว้ ซึ่งมีผลทำให้เด็กคนนั้นกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายที่จดทะเบียนรับรองบุตรมีฐานะเท่ากับบุตรที่เกิดจากบิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันทุกประการ ซึ่งรวมถึงสิทธิในฐานะทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของบิดาด้วย

การที่ชายใดได้จดทะเบียนรับรองเด็กคนใดไว้เป็นบุตรของตนนั้น เมื่อจดทะเบียนเป็นบุตรแล้วจะถอนไม่ได้ เว้นเสียแต่จะปรากฏว่าผู้ขอจดทะเบียนนั้นมิใช่บิดาที่แท้จริงของบุตรแล้ว จึงสามารถฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองบุตรได้ ดังนั้นข้ออ้างประการเดียวที่จะฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองบุตรของบิดาได้คือ ผู้ขอจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตรมิใช่เป็นบิดาที่แท้จริงของเด็กเท่านั้น

การที่สามีของคุณไม่ยอมไปเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร หากต่อมาภายหลังสามีได้เสียชีวิต บรรดาผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายซึ่งได้แก่ตัวเด็ก บิดาและมารดาของเด็กและบุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับเด็กหรือบุคคลที่จะต้องเสียสิทธิรับมรดกเพราะการรับรองเด็กเป็นบุตร เช่น ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกก็สามารถฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตรของผู้ตายได้

จึงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าสามีไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของเด็ก คุณจึงสามารถฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตรได้ อย่างไรก็ตามการที่สามีคุณไม่ฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตรเสียเองตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ คุณก็ต้องใช้วิจารณญาณด้วยตนเองด้วยว่าเขาเป็นพ่อลูกกันจริง ๆ หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่มักจะปกปิดความจริงกันไว้กลัวครอบครัวใหม่จะเสียใจ

หรือถ้าสามีของคุณไม่อยากจะทำลายรู้สึกของเด็กแม้จะไม่ใช่บิดาและบุตรที่แท้จริงก็ตาม สามารถหาทางแก้ไขในเรื่องทรัพย์มรดกได้หากจะใช้วิธีการให้สามีทำพินัยกรรมไว้ให้เรียบร้อย เพราะพินัยกรรมจะตัดสิทธิของทายาทโดยธรรมตามกฎหมายที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายให้เป็นไปตามจำนงของผู้ตายที่ได้สั่งการไว้ครั้งสุดท้ายเป็นสำคัญ แต่ถ้าสามีไม่ทำพินัยกรรมและเป็นอะไรไปกะทันหัน คุณในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องโต้แย้งว่าสามีไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของเด็กที่เขาจดทะเบียนรับรองบุตรไว้และความข้อนี้สามารถยกขึ้นต่อสู้ในคดีมรดกได้โดยไม่ต้องเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร

แหล่งที่มา=www.elib-online.com/law.html

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-15 19:19:22


ความคิดเห็นที่ 2 (2126360)

ผมกับแฟนได้จดทะเบียนสมรสกัน และต่อมาหญิงนั้นไปได้สามีใหม่และมีลูกกับสามีใหม่ 2คน ลูกคนแรกเธอใช้ชื่อผมเป็นพ่อ ส่วนลูกคนที่2ของเธอใช้ชื่อพ่อเด็กตามความเป็นจริงคือสามีใหม่ เด็กทั้งสองคนเกิดมาในขณะที่ยังมีทะเบียนสมรสอยู่กับผม และต่อมาภายหลังผมได้ทำการหย่าให้เธอ ผมขอถามคือ ผมสามารถถอนสิทธิความเป็นพ่อได้ไหม และผมสามารถเรียกร้องการถูกละเมิดสิทธิได้หรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น ชาย วันที่ตอบ 2010-11-08 10:49:20


ความคิดเห็นที่ 3 (2129788)

หลักฐานที่ชัดเจนในการแสดงว่าเด็กและบิดาเป็นผู้มีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิตก็คือการตรวจ  ดีเอ็นเอ  ดังนั้นให้พ่อลูกไปตรวจหาสารพันธุกรรมเพื่อยืนยันต่อศาลก็สามารถทำได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-11-19 12:01:59



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล