ReadyPlanet.com


เมื่อส่วนหนึ่งของบ้านเราต้องตกไปเป็นส่วนหนึ่งบนที่ดินผู้อื่น


เคยตั้งกระทู้เข้ามาครั้งหนึ่ง  แต่ก็สักพักหนึ่งแล้วค่ะ อยากรบกวนขอข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรณีที่บ้านของเราซึ่งไปปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของคุณยาย (คุณแม่เป็นผู้ลงทุนต่อเติมบ้านออกจากส่วนเดิมซึ่งเป็นบ้านของยาย) ปัจจุบันทั้งคุณแม่และคุณยายเสียชีวิตแล้ว ดังนั้นบ้านและที่ดินที่เราอาศัยอยู่มาตั้งแต่ปี 2526 จึงต้องตกเป็นส่วนหนึ่งของมรดกของคุณยายไปด้วย (ไม่มีพินัยกรรม) โดยจะต้องแบ่งออกเป็นสามส่วน (ส่วนของลูกที่ยังมีชีวิตของยาย 2 ส่วนกับส่วนที่เรารับแทนที่คุณแม่ 1 ส่วน)

คำถามคือ เมื่อมีการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็นสามส่วนดังกล่าวแล้ว ถ้าสิทธิ์ในส่วนของคนอื่นกินเข้ามาในส่วนตัวบ้านของเรา เราจำเป็นต้องรื้อถอนทันทีเลยไหม (นอกจากเขาจะได้ในส่วนที่เราใช้เป็นพื้นที่สวนหย่อมเล็กๆ แล้ว ยังน่าจะเข้ามาถึงส่วนตัวบ้าน อีกราว 1.5 เมตร) จะมีวิธีใด เช่น ร้องขอความเห็นใจต่อศาลหรือใดๆ ที่เราไม่ต้องรื้อถอนส่วนที่เป็นตัวบ้านเลยได้หรือไม่  เพราะถือเป็นเรื่องใหญ่และต้องใช้เงินมากทีเดียวค่ะ  และพื้นที่ส่วนที่เป็นด้านหน้าบ้านของยาย ลูกสาวคนโตของยายก็มาอ้อนขอแบ่งและฉลาดที่จะจดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อไปเรียบร้อยแล้ว แล้วพอคุณยายเสียชีวิต ก็ยังจะรักษาสิทธิ์มารับมรดกแบ่งในส่วนที่คุณแม่ของเราต่อเติมนี่อีก (คุณแม่เราไม่ฉลาดรอบคอบอย่างเขา จึงต่อเติมโดยไม่มีเอกสาร ไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อ) อยากรู้นักว่าถ้าในส่วนที่เขาขอคุณยายไว้ ถ้ายังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อ แล้วอยู่ๆ คุณยายมาตายไปซะก่อน เขาจะยอมให้ส่วนนั้นตกเป็นส่วนหนึ่งของมรดกด้วยไม๊ คนสมัยนี้เค้าไม่มีการเห็นใจผู้อื่นกันแล้วใช่ไม๊คะ นี่ขนาดเป็นญาติกันนะ..

ขอรบกวนความคิดเห็นเรื่องการรื้อถอนด้วยนะคะ ขอบคุณมากมากเลย

 



ผู้ตั้งกระทู้ หญิงหัวเดียวกระเทียมลีบ :: วันที่ลงประกาศ 2009-04-10 12:21:12


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1925109)

//ถ้าจำหม่ผิดผมก็เคยตอบกระทู้นี้มาครั้งหนึ่งนานแล้วล่ะมั้งครับ คุณหญิงหัวเดียวกระเทียมลีบ แต่ผมจำไม่ได้แล้วว่าตอบกระทู้ว่าอย่างไร เพราะมีความสามารถไม่เท่าคุณลีนนท์

//คุณช่วยเพิ่มมาอีกสักเล็กน้อยว่าคุณยายเสียชีวิตไปตั้งแต่เมื่อไรครับอยากรู้เฉยๆ น่า

//คุณยายคุณน่าจะเสียชีวิตก่อนหรือประมาณปี 2526 ตามที่คุณบอกว่าเข้าไปอยู่อาศัย กรณีนี้ทุกคนต่างก็เป็นทายาท ในส่วนของคุณก็เป็นผู้รับมรดกแทนที่ ทุกคนจึงอยู่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงนี้หรือจะมีอีกหลายแปลงก็แล้วแต่ หากเมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมต่างเข้าครอบครองตามสัดส่วนของตนแล้ว ศาลฎีกาถือว่าได้มีการแบ่งการครองครองแล้วครับพี่น้อง แต่ทั้งนี้ถ้าเรื่องไม่จบเพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจก็ต้องให้ศาลไปผู้ตัดสินครับ เรื่องก็เป็นเช่นนี้แหละครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น รอบเปลื้อน วันที่ตอบ 2009-04-10 20:30:32


ความคิดเห็นที่ 2 (1925259)

คุณรอบเปลื้อนคะ

ขอบคุณที่สนใจค่ะ คุณยายเสียชีวิตหลังคุณแม่ค่ะ คุณแม่เสียชีวิตเมื่อปี 2526  ส่วนคุณยายเสียชีวิตในปี 2546 โดยไม่มีพินัยกรรม ผ่านมาร่วม 5 ปีแล้วแต่ยังไม่มีการร้องผู้จัดการมรดก ซึ่งป้ากับน้าน่าจะต้องเป็นผู้เริ่มดำเนินการ    ณ ตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าพวกเขาจะยอมรับว่าเรามีสิทธิ์ด้วย  (ตอนแรกเขาบอกว่าแม่เราตายแล้ว เราไม่มีสิทธิ์) แต่ก็ไม่ค่อยวางใจเท่าไหร่ค่ะ  เคยมีการเกริ่นกับน้าว่าเราอยากจะขายสิทธิ์ส่วนของเรา แต่ตกลงกันเรื่องราคาซื้อ-ขายไม่ได้  ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงคิดว่าเราควรจะขาย(ให้ใครก็ได้) หรือควรจะอยู่ต่อไปโดยหาข้อมูลว่าถ้าไม่ต้องรื้อถอนส่วนบ้านได้หรือไม่ และถ้าเราต้องร้องขอต่อศาล จะต้องมีค่าใช้จ่ายมากน้อยอย่างไร (ส่วนที่จะร้องขอไม่น่าเกิน 5 ตารางวาค่ะ)

คงต้องรบกวนความคิดเห็นจากคุณแล้วล่ะค่ะ  ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น หญิงหัวเดียวกระเทียมลีบ วันที่ตอบ 2009-04-11 12:39:12


ความคิดเห็นที่ 3 (1925736)

การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ที่ไม่มีพินัยกรรม ทายาททุกคนมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากัน และตามข้อเท็จจริงที่คุณแจ้งมา เขาก็ยอมรับว่าคุณมีสิทธิได้รับมรดกแทนที่มารดาของคุณ ดังนั้นมรดกจึงถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนตามที่คุณเข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว

แต่ปัญหาตามคำถามของคุณอยู่ที่ว่า ถ้าได้แบ่งที่ดินออกเป็นสามส่วน เท่าๆ กันแล้ว มีที่ดินส่วนหนึ่งในที่ดินส่วนของทายาทอื่นกินเนื้อที่ดินที่ปลูกสร้างบ้านที่คุณมีสิทธิเป็นเจ้าของ จะทำอย่างไร ขอแนะนำว่า ต้องเจรจาขอซื้อที่ดินส่วนที่กินเนื้อที่สิ่งปลูกสร้างของเราจากทายาทผู้มีสิทธินั้นเสีย หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป คงไม่มีทางใดที่จะร้องต่อศาลตามที่คุณถามมาครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-14 16:11:29



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล