ReadyPlanet.com


ยกเลิกการให้


ขอเรียนถามคุณทนายคุณพ่อยกที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้พิ่ชายโดยการให้ ต่อมาคุณพ่อเป็นอัมพาสพี่ชายไม่ได้มาดูแลช่วยเหลือค่าให้จ่ายและพี่ชายได้ขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินนี้ให้กับบุคคลภายนอกไปในราคาประมาณ๘ล้านบาท ในกรณีเช่นนี้ผมลูกชายคนเล็กที่ดูแลค่าให้จ่ายที่บ้านจะสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้างจากพี่ชาย



ผู้ตั้งกระทู้ ลูกชายคนเล็ก :: วันที่ลงประกาศ 2009-04-02 20:02:17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1922827)

เป็นการให้โดยเสน่หา คงเรียกร้องอะไรจากเขาไม่ได้เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ถอนคืนการให้

มาตรา 531 อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติ เนรคุณนั้น ท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ
(2) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้าย แรง หรือ
(3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลา ที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้

 


มาตรา 532 ทายาทของผู้ให้อาจเรียกให้ถอนคืนการให้ได้แต่เฉพาะ ในเหตุที่ผู้รับได้ฆ่าผู้ให้ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ ได้กีดกันผู้ให้ไว้มิให้ถอนคืนการให้
แต่ว่าผู้ให้ได้ฟ้องคดีไว้แล้วอย่างใดโดยชอบ ทายาทของผู้ให้จะว่า คดีอันนั้นต่อไปก็ได้


มาตรา 533 เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้น แล้วก็ดีหรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้วหกเดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบ ถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่าหาอาจจะ ถอนคืนการให้ได้ไม่

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-03 18:02:01


ความคิดเห็นที่ 2 (1922829)

บทความเกี่ยวกับการถอนคืนการให้

 

ถอนคืนการให้ต้องฟ้องภายใน 6 เดือน

 

ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาศาลฎีกา 6962/2550 เรื่องอายุความเรียกถอนคืนการให้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เพื่อนสมาชิกสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก

อายุความเรียกถอนคืนการให้

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบที่ดินทั้งห้าแปลงดังกล่าว คืนให้แก่โจทก์โดยให้ไปจดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของจากชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

รายละเอียดคำพิพากษาของศาลฎีกา

แม้คำให้การของจำเลยจะไม่ระบุระยะเวลาที่เป็นอายุความตามข้อต่อสู้ไว้ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเณรคุณเพียงเรื่องเดียว ซึ่งตาม ป.พ.พ. บัญญัติเรื่องอายุความถอนคืนการให้ไว้ในลักษณะให้ มาตรา 533 เพียงมาตราเดียว ซึ่งเมื่ออ่านคำให้การของจำเลยโดยตลอดแล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่ได้ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ได้ด้วยการด่าว่า และหมิ่นประมาทโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะมิฉะนั้นโจทก์คงไม่โอนที่ดินแปลงที่ 5 ให้แก่จำเลยในวันที่ 10 เมษายน 2539 อย่างแน่นอน และหากศาลฟังว่าจำเลยประพฤติเนรคุณดังที่โจทก์ฟ้องอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์มีสิทธิถอนคืนการให้ได้ ฟ้องโจทก์ก็ขาดอายุความแล้ว จำเลยยังได้แสดงเหตุแห่งการปฎิเสธและการขาดอายุความให้ปรากฏว่าเหตุใดฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ คำให้การของจำเลยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงมีประเด็นเรื่องอายุความ

คำฟ้องของโจทก์อ้างว่า จำเลยประพฤติเนรคุณด่าว่าและหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. 2538 ถึงปี 2539 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 ซึ่งเหตุประพฤติเนรคุณที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อนับถึงวันฟ้องเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ได้ทราบถึงเหตุเหล่านั้นฟ้องโจทกึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 533 วรรคหนึ่ง

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง

มาตรา 533 เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแล้วก็ดี หรือ

เมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้วหกเดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่าหาอาจจะถอนคืนการให้ได้ไม่

อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น

มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน

ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น

จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก

ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไปหรือสั่งไม่รับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18

บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตามมาตรา 57 (3) โดยอนุโลม

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา พ.ศ. 2550 เล่น 9 บริการสำนักงานศาลยุติธรรม

http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=2326

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-03 18:06:13


ความคิดเห็นที่ 3 (1922830)

มาตรา 535 การให้อันจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอนคืนเพราะเหตุ เนรคุณไม่ได้ คือ
(1) ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้
(2) ให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน
(3) ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
(4) ให้ในการสมรส

ผู้แสดงความคิดเห็น *** วันที่ตอบ 2009-04-03 18:08:29



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล