ReadyPlanet.com


การขอเงินค่าเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม


เนื่องจากดิฉันเป็นญาติทางผู้หญิงซึ่งเป็นมารดาของเด็ก ดิฉันได้เลี้ยงเด็กมาตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบัน อายุ 6 ขวบ ย่างเข้า 7 ขวบ แม่ของเด็กได้มีการส่งเงินให้เดือนละ 3,000 บาท ในเดือนแรก ๆ และหลังจากนั้นก็ส่งเดือนละ 2,000 บาท และเมื่องปี 50 - 51 ก็มีการส่งบ้างไม่ส่งบ้าง ครั้งละ 1,000 บาท และณ ปัจจุบันนี้ก็ไม่มีการส่งเสียอีกเลย ดิฉันได้มีการจดรับรองเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เพราะเหตุผลที่ว่าเด็กต้องเรียนหนังสือ ดิฉันอยากจะสอบถามว่า มารดาและบิดาของเด็กจำเป็นไหมที่ต้องสงเสียค่าเลี้ยงดู หรือว่าเขาไม่ต้องรับผิดชอบก็ได้ เพราะดิฉันได้ถวงถามเรื่องเงินที่ส่งให้ ก็ได้รับคำตอบว่า ดิฉันรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้วนี้ เขาก็ไม่จำเป็นต้องสงเสียอีกต่อไป ดิฉันสามารถฟ้องร้องค่าเลี้ยงดูได้หรือไม่ รบกวนช่วยตอบด้วยนะค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ คุณพัชรียา :: วันที่ลงประกาศ 2009-04-02 12:27:05


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1922524)

บิดามารดาที่แท้จริงยังมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อยู่ครับ ดังนั้นตามกฎหมายน่าจะฟ้องได้ แต่ไม่เคยได้ยินครับ เพราะผู้รับบุตรบุญธรรม ถ้าไม่พร้อมที่จะรับเด็กเป็นบุตรเขาก็จะไม่จดทะเบียนรับกัน ฟ้องแล้วศาลจะสั่งให้จ่ายเท่าใดนั้นต้องดูข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป

 

ผลการรับบุตรบุญธรรม

1.การรับบุตรบุญธรรมมีผลทำให้บุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม (ม. 1598/28) ดังนั้นผู้รับบุตรบุญธรรมจึงมีฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรบุญธรรม

2.การรับบุตรบุญธรรมมีผลทำให้บุตรบุญธรรมมีฐานเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรม(ม.1627) หากผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตาย บุตรบุญธรรมจะมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้รับบุตรบุญธรรม(ม.1629(1))

3.การรับบุตรบุญธรรมไม่ทำให้บุตรบุญธรรมสูญสิทธิและหน้าที่ ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา

สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตร

1.พ่อแม่ต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่บุตรตามสมควร ในระหว่างที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ (อายุไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์) ถ้าบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว พ่อแม่ก็ไม่จำเป็นต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร เว้นแต่บุตรจะเป็นคนพิการ และหาเลี้ยงตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ก็ยังมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูต่อไป

2.บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลของพ่อ

3.บุตรจะฟ้องบุพการีของตน เป็นคดีแพ่ง หรือคดีอาญาไม่ได้ แต่สามารถร้องขอให้อัยการเป็นผู้ดำเนินคดีแทนได้ กฎหมายห้ามเฉพาะการฟ้องแต่ไม่ห้ามในกรณีที่บุตรถูกฟ้อง แล้วต่อสู้คดี กรณีนี้ย่อมทำได้

4.สิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร

5.สิทธิทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน

6.สิทธิที่จะให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป

7.สิทธิเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักขังบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

8.สิทธิที่จะติดต่อบุตรของตนเอง

9.ในกรณีบุตรเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

10.การจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์นั้นต้องจัดการด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชน

11.การจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1574 บิดามารดาจะให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ หรือยินยอมให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมไม่ได้ ต้องขออนุญาตศาลก่อน
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มา ซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจาก ทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
(7) ให้กู้ยืมเงิน
(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อ การกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่ รับการให้โดยเสน่หา
(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับ ชำระหนี้ หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)
(12) ประนีประนอมยอมความ
(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-02 23:10:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล