ReadyPlanet.com


ขอคำปรึกษา หน่อยค่ะอยู่ ดี ๆ ก็มีโทรศัพท์จากบริษัทฯ แห่งหนึ่งบอกว่าเราเป็นหนี้เค้าอยู่ เมื่อ 14 ปีที


ขอคำปรึกษา หน่อยค่ะอยู่ ดี ๆ ก็มีโทรศัพท์จากบริษัทฯ แห่งหนึ่งบอกว่าเราเป็นหนี้เค้าอยู่ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว...

เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อไม่นานมานี้ ดิฉัน ได้สมัครขอเป็นสมาชิกเพื่อขายตรงกับบริษัท เครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่ง (จริง ๆ จะซื้อของใช้เองอะค่ะ แต่คิดว่าเป็นสมาชิก คงได้ราคาถูก)

หลังจากทำการสมัคร ทางเวบดังกล่าว... ไม่นาน ก็มี ผจก. เขต ของบริษัทฯ นั้นมาพบดิฉันให้กรอกใบสมัคร ให้สมบูรณ์
ดิฉันก็ ทำตามอย่างเรียบร้อย 2 วันผ่านไป มีโทรศัพท์ มาจาก Call Center ของบริษัทฯ เครื่องสำอางนี้ โทรฯ มาถามชื่อดิฉัน.. ฉันก็ตอบว่าใช่แล้วเค้า
ก็วางสายไป... ฉันงง นิดหน่อย เพราะถ้ามาเช็คข้อมูล ทำไมถามแต่ชื่อ-สกุล ดิฉันก็เลยโทรไป ถาม ผจก.เขต คนนั้น... เธอแจ้งว่าดิฉัน เคยเป็นหนี้
กับบริษัท เครื่องสำอางนี้เมื่อ 14 ปี ... (ฉันก็งงหล่ะซิค่ะ) แล้วเธอก็แนะนำให้ดิฉัน โทรไป Call Center เพื่อเช็คขอมูลให้ละเอียด.....

หลังจากที่ คุยกับ Call Center ก็พบว่าฉันก็พอเข้าใจแล้วว่าทำไม..แต่ฉันก็ยังงง อยู่ดีว่าเป็นหนี้ เค้าได้อย่างไร

เมื่อ 14 ปีก่อน ดิฉันกำลังเรียน ปีหนึ่งมีวิชาการขาย ซึ่งทางโรงเรียนให้เป็นสมาชิกกับบริษัทฯ เครื่องสำอางนี้แหระ เพื่อทดสอบการขาย.. ซึ่งแน่นอน
ดิฉันไม่ได้ขาย.. เลยค่ะ ซื้อเองซะส่วนใหญ่ (แลกคะแนนปฏิบัติ)
แล้วดิฉันก็ไม่ได้ขายหรือสั่งสินค้านี้อีกเลย นับจากนั้นมา จนวันนี้ผ่านมาได้
14 ปีแล้ว..
ทาง Call Center บอกว่าเค้าได้ส่งหมายศาล ต่าง ๆไปยังที่บ้าน ตจว. หลายครั้งแล้วเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งดิฉันไม่ทราบเลยว่ามี หมายศาล อะไรนี้ด้วย .. จนปัจจุบันนี้.... แล้วทาง Call Center ก็แจ้งให้ฉันไปชำระเงินจำนวนนี้ซะ
เอ่อ ยิ่งไปกันใหญ่ คืออยู่ดี ๆ จะให้ชำระเงิน... เอกสารรายละเอียดอะไร
ก็ไม่มี.... คุณลองวาดภาพซิ อยู่ดี ๆ ก็มีคนมาบอกว่าคุณเป็นหนี้ เมื่อ 14 ปี
ก่อน....

ดิฉันถามว่า ช่วยส่งเอกสารหมายศาล หรือรายละเอียดให้ดูก่อนได้มั้ย
จำนวนหนี้ที่ค้าง ฉันจะชำระให้ (ไม่เยอะหรอกค่ะ) แต่ขอดูเอกสารและ
รายละเอียดได้มั้ย เป็นไปได้ไง ว่ามีหนี้อยู่ เป็นหนี้มาจากอะไร ค้างชำระ
อันไหน... อย่างน้อย ก็มีเอกสารยืนยันว่าหลังจากที่ดิฉันได้ชำระหนี้จำนวนนี้แล้ว จะไม่ฟ้องเป็นคดี ต่อไป.. ไม่ใช่ โทรมาบอกให้ไปจ่ายหนี้ เฉยๆ ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยอย่างนี้... ทาง Call Center บอกว่าเอกสารก็ส่งไปแล้วนี่ค่ะ ส่งไปบ้าน ที่ ตจว. (เมื่อหลายปีก่อน) คงส่งให้อีกไม่ได้....
คือดิฉัน ได้เข้ามาอยู่ กทม.หลายปีแล้ว เพียงแต่เลขที่ตามทะเบียนบ้านนี้ยังใช้ที่ ตจว.อยู่ แต่บ้านหลังนี้ ไม่มีคนอยู่มาเป็น 10 ปีแล้ว... ถ้าอยากให้ฉันชำระก็ ส่งรายละเอียดมาให้กับที่อยู่ใหม่ ที่แจ้งไว้ในใบสมัคร ได้มั้ย
ทาง Call Center ก็ยืนยันว่าไม่ได้ (แต่จะให้จ่ายตังค์อะ....)

ดิฉันอยากทราบว่า กรณีนี้เป็นคดีประเภทไหนค่ะ มีผลต่อธุรกรรมทางการเงินเราหรือไม่ ถ้าฟ้องมาจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ (หนี้ไม่ถึง 2 พันหรอกค่ะ)
มีผลเสีย กับเรื่องไหนบ้าง...

ผู้รู้แนะนำหน่อยนะค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ เมย์ (radius425122-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-05-01 11:28:59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1932176)

เป็นเรียกให้ชำระหนี้ ตามสัญญา ถ้าได้ฟ้องและมีคำพิพากษาแล้ว และคุณในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาเขาก็มีสิทธิบังคับคดีเอากับทรัพย์สินของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือทรัพย์สินอื่น (ถ้าทำแล้วคุ้ม)

เนื่องจากไม่มีข้อมูลว่าได้ฟ้องร้องและมีคำพิพากษาเมื่อใด จึงไม่สามารถบอกได้ว่า ขาดอายุความบังคับคดีแล้วหรือไม่

มาตรา 271 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมด หรือบางส่วนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตาม คำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-05-01 13:36:51


ความคิดเห็นที่ 2 (1932294)

ขอบคุณ คุณลีนนท์....

มีการฟ้องนานแล้วอ่ะค่ะ น่าจะผ่านมาได้ 14 ปีอย่างที่เค้าแจ้ง อ่ะค่ะ

 

อย่างนี้หมดอายุความหรือเปล่าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เมย์ (radius425122-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-05-01 20:20:16


ความคิดเห็นที่ 3 (1932296)

นับจากวันมีคำพิพากษา ถ้าไม่ดำเนินการบังคับคดี เช่น ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระภายในสิบปีก็ถือว่าสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีแล้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-05-01 20:33:39


ความคิดเห็นที่ 4 (1932483)

สิทธิที่จะบังคับคดีภายหลัง 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2538

 

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่ มาตรา 733 บัญญัติไว้ได้เช่นในกรณีที่ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วยังได้เงินไม่พอใช้หนี้ผู้จำนองยอมรับผิดให้ผู้รับจำนองยึดทรัพย์อื่นของตนมาใช้หนี้จนครบเป็นต้นข้อตกลงนี้ย่อมมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะ สัญญาจำนองที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ระบุว่าถ้าในการบังคับจำนองได้เงินไม่พอจำนวนเงินที่ค้างชำระจำนวนอยู่เท่าใดผู้จำนองยอมรับผิดชอบใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวนแต่หนี้ ที่ น. ลูกหนี้ค้างโจทก์หลังจากบังคับคดีแล้วไม่พอชำระนั้นเป็นเวลากว่า 10ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ลูกหนี้อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 แต่ยังคงรับผิดตามทรัพย์ที่จำเลยจำนอง

 

 

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2518 นางนิตยาอัศศิระกุล ได้กู้เงินโจทก์จำนวน 40,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่ 10 กันยายน 2519 และเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2518นางนิตยาได้กู้เงินโจทก์เพิ่มอีกจำนวน 25,000 บาท มีกำหนดระยะเวลา 24 เดือน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยได้เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวและจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 30290ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้นั้นด้วย ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องนางนิตยาและศาลแพ่งมีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 13955/2521ให้นางนิตยาชำระเงินจำนวน 92,139.54 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 65,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่นางนิตยาไม่ชำระเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 113223 แขวงประเวศเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ของนางนิตยาและนำออกขายทอดตลาดได้เงิน 101,000 บาท หักค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีแล้วคงเหลือเงินจำนวน 91,929 บาท ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์หักชำระดอกเบี้ย78,149.35 บาท คงค้างชำระต้นเงิน 51,220.35 บาท หลังจากนั้นนางนิตยาและจำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าวอีกเลย โจทก์บอกกล่าวทวงถามบังคับจำนองไปยังจำเลยแล้ว ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินและดอกเบี้ยก่อนฟ้องจำนวน 43,750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี ของต้นเงิน 25,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ

จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องเกิน10 ปี และโจทก์มิได้บังคับในคดีหมายเลขแดงที่ 13955/2521ให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา สิทธิการขอบังคับคดีหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานย่อมระงับไป จำเลยผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 43,750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 25,000 บาท นับตั้งแต่วันที่9 มีนาคม 2533 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ถ้าจำเลยไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 30290 ตำบลในคลองบางปลากดอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ หากได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ยังขาดจำนวนแก่โจทก์โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาข้อ 5ในข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.7 อันเป็นการตกลงกันอย่างอื่นนอกเหนือจากบทบัญญัติตามมาตรา 733 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับได้ ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ประการใด ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงมาว่า จำเลยได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 30290 ตำบลในคลองบางปลากดอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มาประกันหนี้ของนางนิตยา อัศศิระกุล จำนวน 25,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามหนังสือสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองตามเอกสารหมาย จ.7 มีนายพิสันต์ บุญญกาศลงลายมือชื่อแทนจำเลยในฐานะผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.19 นางนิตยาถูกโจทก์ฟ้องบังคับให้ชำระหนี้แล้วยังคงค้างโจทก์อยู่จำนวน 51,220.35 บาท เมื่อคิดถึงวันที่ 30เมษายน 2533 ตามบัญชีและรายการโอนชำระหนี้เอกสารหมาย จ.11,จ.12 ซึ่งจำเลยต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยค้างชำระก่อนฟ้องในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี เป็นเงิน18,750 บาท และนับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2533 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ก็ย่อมกระทำได้ เช่น ในกรณีที่ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วยังได้เงินไม่พอใช้หนี้ ผู้จำนองยอมรับผิดให้ผู้รับจำนองยึดทรัพย์อื่นของตนมาใช้หนี้จนครบเป็นต้นข้อตกลงนี้ย่อมมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมาย หาตกเป็นโมฆะอย่างใดไม่ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 168/2518 ระหว่างร้านสหกรณ์ร้อยเอ็ดจำกัด สินใช้ โจทก์ นายเสรี อิทธิสมบัติ กับพวก จำเลยนายเถียร นาครวาจา จำเลยร่วม แม้ปรากฎตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยทำไว้กับโจทก์มีระบุไว้ในข้อ 5 ความว่าถ้าในการบังคับจำนองตามสัญญานี้ได้เงินไม่พอจำนวนเงินที่ค้างชำระจำนวนอยู่เท่าใด ผู้จำนองยอมรับผิดชอบใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวนซึ่งหมายความว่า ถึงจะยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอใช้หนี้แก่โจทก์ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่น ๆ ของจำเลยในฐานะผู้จำนองเป็นประกันมาใช้หนี้จนครบก็ตาม แต่หนี้ที่นางนิตยา อัศศิระกุล ลูกหนี้ ค้างโจทก์หลังจากบังคับคดีแล้วไม่พอชำระนั้นเป็นเวลากว่า 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ลูกหนี้อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จำเลยในผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 698 แต่ยังคงรับผิดตามทรัพย์จำนองซึ่งยุติตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล"

พิพากษายืน

( เสริม บุญทรงสันติกุล - อุระ หวังอ้อมกลาง - ปราโมทย์ ชพานนท์ )

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-05-02 14:42:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล