ReadyPlanet.com


ทางภาระจำยอม


 สอบถามครับ

บ้านผม  ต้องเดินผ่านทางภาระจำยอมครับ (ศาลสั่ง)  แต่ปัจจุบัน ของเจ้าของภารยทรัพย์ชอบเทน้ำ หรือบางที เป็นน้ำมัน ลงบนทางสามยทรัพย์   ทำให้ทางที่ผมผ่าน ทั้งสกปรก และลื่นมาก  จนลูกผมลื่นล้มหลายครั้ง  บอกเค้า  เค้าตอบว่าเค้ามีสิทธทำอะไรก็ได้  เราแค่ผ่านได้อย่างเดียว  (ทั้งที่ทางนั้นผมเป็นคนทำ)  

ถ้าอย่างนี้  เราจะทำหลังคาตรงทางภาระจำยอมได้หรือไม่  กลัวว่าต่อไปจะไม่ใช่แค่น้ำ  แต่อาจจะเป็นอย่างอื่นที่มันอันตราย  แล้วเค้าจะเลือกเวลาทิ่้งมาก คือตอนผมต้องออกไปทำงาน เพื่อให้โดนผมหรือคนในครอบครัวเปียก โดยเค้าอ้างว่า เค้าทำความสะอาดระเบียง

ถามว่า  เรามีสิทธิทำหลังคาป้องกันได้หรือไม่  จากเหตุผลที่กล่าวมาครับ

                ขอบคุณครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ คนน่าสงสาร :: วันที่ลงประกาศ 2013-10-02 14:35:45


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2424011)

การที่เจ้าของที่ดิน(ภารยทรัพย์) ชอบเทน้ำ หรือบางที เป็นน้ำมัน ลงบนทางถนนที่มีสิทธิใช้หรือทางภาระจำยอม (สามยทรัพย์)   ทำให้ทางที่คุณผ่าน ทั้งสกปรก และลื่นมาก  จนลูกของคุณลื่นล้มหลายครั้ง  โดยเจ้าของที่ดินอ้างว่ามีสิทธทำอะไรก็ได้  เราแค่ผ่านได้อย่างเดียว


ผมเห็นว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการที่เจ้าของทางหรือถนนภาระจำยอมประกอบกรรมใดๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกในการใช้สอย จึงไม่สามารถทำได้ ทางคุณย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลบังคับให้เจ้าของที่ดินหยุดการกระทำดังกล่าวได้ครับ

การที่คุณจะทำหลังคาตรงทางภาระจำยอม ผมมองว่าเป็นการกระทำที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงทางภาระจำยอมซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ทางภาระจำยอม จึงไม่สามารถทำได้ครับ ซึ่งมาตรา 1388 ระบุไว้ว่า เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์

มาตรา 1387  อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น
 
มาตรา 1388  เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์
 
มาตรา 1389  ถ้าความต้องการแห่งเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป ท่านว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ให้สิทธิแก่เจ้าของสามยทรัพย์ที่จะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ได้
 
มาตรา 1390  ท่านมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใดๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
 
มาตรา 1391  เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอม แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง ในการนี้เจ้าของสามยทรัพย์จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ภารยทรัพย์ได้ก็แต่น้อยที่สุดตามพฤติการณ์
เจ้าของสามยทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเองรักษาซ่อมแซมการที่ได้ทำไปแล้วให้เป็นไปด้วยดี แต่ถ้าเจ้าของภารยทรัพย์ได้รับประโยชน์ด้วยไซร้ ท่านว่าต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วนแห่งประโยชน์ที่ได้รับ
 
มาตรา 1392  ถ้าภาระจำยอมแตะต้องเพียงส่วนหนึ่งแห่งภารยทรัพย์ เจ้าของทรัพย์นั้นอาจเรียกให้ย้ายไปยังส่วนอื่นก็ได้ แต่ต้องแสดงได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่ตนและรับเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง
 
มาตรา 1393  ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระจำยอมไซร้ ท่านว่าภาระจำยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ซึ่งได้จำหน่าย หรือตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่น
ท่านว่าจะจำหน่าย หรือทำให้ภาระจำยอมตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่นต่างหากจากสามยทรัพย์ไม่ได้
 
มาตรา 1394  ถ้ามีการแบ่งแยกภารยทรัพย์ ท่านว่าภาระจำยอมยังคงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกออก แต่ถ้าในส่วนใดภาระจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการ ท่านว่าเจ้าของส่วนนั้นจะเรียกให้พ้นจากภาระจำยอมก็ได้
 
มาตรา 1395  ถ้ามีการแบ่งแยกสามยทรัพย์ ท่านว่าภาระจำยอมยังคงมีอยู่เพื่อประโยชน์แก่ทุกส่วนที่แยกออกนั้น แต่ถ้าภาระจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อประโยชน์แก่ส่วนใดไซร้ ท่านว่าเจ้าของภารยทรัพย์จะเรียกให้พ้นจากภาระจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนนั้นก็ได้
 
มาตรา 1396  ภาระจำยอมซึ่งเจ้าของรวมแห่งสามยทรัพย์คนหนึ่งได้มา หรือใช้อยู่นั้น ท่านให้ถือว่าเจ้าของรวมได้มาหรือใช้อยู่ด้วยกันทุกคน
 
มาตรา 1397  ถ้าภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดท่านว่าภาระจำยอมสิ้นไป
 
มาตรา 1398  ถ้าภารยทรัพย์และสามยทรัพย์ตกเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน ท่านว่าเจ้าของจะให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมก็ได้ แต่ถ้ายังมิได้เพิกถอนทะเบียนไซร้ ภาระจำยอมยังคงมีอยู่ในส่วนบุคคลภายนอก
 
มาตรา 1399  ภาระจำยอมนั้น ถ้ามิได้ใช้สิบปี ท่านว่าย่อมสิ้นไป
 
มาตรา 1400  ถ้าภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ไซร้ ท่านว่าภาระจำยอมนั้นสิ้นไป แต่ถ้าความเป็นไปมีทางให้กลับใช้ภาระจำยอมได้ไซร้ ท่านว่าภาระจำยอมนั้นกลับมีขึ้นอีกแต่ต้องยังไม่พ้นอายุความที่ระบุไว้ในมาตราก่อน
ถ้าภาระจำยอมยังเป็นประโยชน์แก่สามยทรัพย์อยู่บ้าง แต่เมื่อเทียบกับภาระอันตกอยู่แก่ภารยทรัพย์แล้ว ประโยชน์นั้นน้อยนักไซร้ ท่านว่าเจ้าของภารยทรัพย์จะขอให้พ้นจากภาระจำยอมทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ค่าทดแทน
 
มาตรา 1401  ภาระจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-10-20 11:48:43


ความคิดเห็นที่ 2 (2424028)

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม


          ภาระจำยอม เป็น ทรัพยสิทธิชนิดหนึ่ง  เมื่อเกิดภาระจำยอมในที่ดินแปลงใด ของใคร ย่อมทำให้เจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าวนั้นต้องยอมรับกรรมบางอย่าง หรือแบกรับภาระบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนถึงการใช้สิทธิในที่ดินของตน  หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่น (ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิ ติดไปกับตัวที่ดินที่แม้เปลี่ยนเจ้าของที่ดินก็ติดไปกับที่ดินเสมอ)

จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย

ที่ดินของโจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมให้เป็นทางเดินให้จำเลยใช้เป็นทางเข้าออกไปสู่ทางสาธารณะ แต่จำเลยได้ก่อสร้างหลังคา ชั้นวางของ นำวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่าย ทำที่จอดรถในทางภาระจำยอม ศาลเห็นว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยในเรื่องทางเดิน การกระทำของจำเลยเป็นการก่อภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์
 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-10-20 15:44:54


ความคิดเห็นที่ 3 (3713530)

ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย-สิ่งปลูกสร้างต่อเติมขึ้นทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ต้องรื้อถอน

เจ้าของโครงการผู้จัดสรรที่ดินได้กันทางเดินพิพาทไว้เป็นทางเข้าออกสำหรับตึกแถวที่แบ่งขายในการก่อสร้างตึกแถวเจ้าของโครงการได้ก่อสร้างตึกแถวทำกันสาดปูนซิเมนต์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินแปลงที่เป็นทางเดินยื่นออกไป 1.5 เมตรต่อมาเจ้าของโครงการถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย โจทก์ในคดีนี้ซื้อที่ดินทางเดินจากการขายทอดตลาดและฟ้องขับไล่ผู้ซื้อตึกแถว ศาลฎีกาเห็นว่า ทางเดินตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายแล้ว รวมถึงกันสาดที่ยื่นออกไปด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2014-09-28 10:41:33



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล