ReadyPlanet.com


การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในสัญญากู้ยืมเงิน


เด็กอายุ 14 ปี สามารถลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้ยืมในสัญญากู้ยืมเงินได้หรือไม่

 



ผู้ตั้งกระทู้ **** :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-07 13:05:49


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1947592)

จำเลยฎีกาว่า เด็กหญิงสุนีย์ อายุ 14 ปี จะรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยไม่ได้นั้น เห็นว่าไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ เมื่อโจทก์มีพยานรับรองลงลายมือชื่อครบถ้วนตามกฎหมายแล้วก็เป็นอันใช้ได้

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2511

 

ชั้นแรกจำเลยขอกู้เงิน 4,000 บาท รวมกับจำนวนที่กู้เดิม 2,000 บาท เป็น 6,000 บาท เมื่อผู้เขียนสัญญาเขียนจำนวน 6,000 บาทไปแล้ว จำเลยขอเพิ่มอีก 1,000 บาทรวมเป็น 7,000 บาท ผู้เขียนจึงแก้เลข 6 เป็นเลข 7 และแก้ตัวอักษรด้วย ดังนี้ เป็นการแก้ให้ตรงตามความประสงค์ของจำเลย ก่อนที่จำเลยจะพิมพ์ลายนิ้วมือในสัญญากู้ และคู่กรณีมีเจตนาจะให้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ตามจำนวนที่แก้ไปแล้ว คือ 7,000 บาทฉะนั้นแม้ตัวเลขและตัวอักษรที่แก้ไปจะไม่ได้ลงชื่อกำกับ ก็ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยสมบูรณ์

ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ

ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม

 

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินต้นที่กู้ไป 7,000 บาทรวมทั้งดอกเบี้ยเป็น 10,412.50 บาท ฯลฯ

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินตามฟ้อง

จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาฟังว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไปจริงตามฟ้อง

จำเลยฎีกาว่า รอยแก้ไขจำนวนเงินกู้ไม่ได้ลงชื่อกำกับ คดีได้ความว่า ชั้นแรกจำเลยขอกู้เงิน 4,000 บาท กับที่กู้เดิม 2,000 บาท เป็น 6,000 บาท เมื่อนางประจวบผู้เขียนสัญญาเขียนเลขจำนวน 6,000 บาทไปแล้ว จำเลยขอเพิ่มอีก 1,000 บาท รวมเป็น 7,000 บาท นางประจวบจึงแก้ตัวเลข 6 เป็นเลข 7 และแก้ตัวอักษรด้วย ศาลฎีกาเห็นว่า การแก้ตัวเลขและตัวอักษรดังกล่าวนี้เป็นการแก้ให้ตรงตามความประสงค์ของจำเลย ก่อนที่จำเลยจะพิมพ์ลายนิ้วมือในสัญญากู้เห็นได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะให้เอกสารฉบับนี้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ตามจำนวนที่แก้ไขแล้วคือ 7,000 บาท หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำมาแก้ไขเองในภายหลังโดยจำเลยไม่รู้เห็นยินยอมไม่ ฉะนั้น แม้ตัวเลขและตัวอักษรที่แก้ไขจะไม่ได้ลงชื่อกำกับ หนังสือสัญญาฉบับนี้ก็เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยสมบูรณ์

จำเลยฎีกาว่า เด็กหญิงสุนีย์ อายุ 14 ปี จะรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยไม่ได้นั้น เห็นว่าไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ เมื่อโจทก์มีพยานรับรองลงลายมือชื่อครบถ้วนตามกฎหมายแล้วก็เป็นอันใช้ได้

จำเลยฎีกาเป็นประการสุดท้ายว่า จำเลยไม่ต้องใช้ค่าพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลย เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์หาพยานหลักฐานของโจทก์เอง จำเลยไม่ได้ตกลงจะเป็นผู้รับผิด เห็นว่า แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายขอให้ส่งเอกสารสัญญากู้ไปตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเพื่อประโยชน์แก่คดีของโจทก์ แต่ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์นี้ก็เป็นค่าฤชาธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 152 ซึ่งตามธรรมดาความรับผิดย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายแพ้คดี เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 เฉพาะคดีนี้จำเลยปฏิเสธว่าลายพิมพ์นิ้วมือในสัญญากู้ไม่ใช่ของจำเลย แต่เมื่อผลของการพิสูจน์ปรากฏว่าเป็นของจำเลย จำเลยจึงตกเป็นผู้แพ้ และไม่มีเหตุพิเศษอย่างอื่นที่จะไม่ให้จำเลยต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนนี้

พิพากษายืน

( อาจิต ไชยาคำ - กิตติ สีหนนทน์ - แถม สิริสาลี )

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

 

 

มาตรา 9 เมื่อมีกิจการอันใด ซึ่ง กฎหมายบังคับ ให้ทำเป็นหนังสือ บุคคล ผู้จะต้องทำหนังสือ ไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่ หนังสือ นั้น ต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น


ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือ เครื่องหมายอื่น ทำนองเช่นว่านั้น ที่ทำลงในเอกสาร แทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยาน ลงลายมือชื่อ รับรองไว้ด้วย สองคน แล้ว ให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ


ความในวรรคสอง ไม่ให้ใช้บังคับแก่ การลง ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือ เครื่องหมายอื่น ทำนองเช่นว่านั้น ซึ่ง ทำลงในเอกสาร ที่ทำต่อหน้า พนักงานเจ้าหน้าที่

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-06-07 13:16:08


ความคิดเห็นที่ 2 (1971157)

ภรรยาติดการพนัน เอาเงินที่สามีหามาได้ไปเล่นการพนัน(สามีรับราชการ)โดยเงินเดือนนั้นสามีไว้ใจภรรยาจึงให้เป็นคนดูแลเรื่องเงินแต่ผู้เดียวต่อมาสามีรู้ว่าภรรยาเอาเงินไปเล่นการพนัน(ตอนแรกได้นัดวันหย่าแล้ว)แต่พอดีมีเหตุให้ไม่ได้ไปหย่ากัน  สามีเลยบอกว่าอยู่ห่างๆกันไปก่อนสักพักหนึ่ง  กรณีที่อยากถามคือมี คนภายนอกมายุแยง แต่งเรื่องราวคอยที่จะไม่ให้สามีภรรยาคู่นี้ได้กลับมาอยู่ด้วยกันอีก ยุในเรื่องเสียเสียหายหายอีก ทั้งๆที่ภรรยาไม่ได้ไปทำ(ส่วนที่เล่นการพนันนั้นภรรยาได้ยอมรับกับสามีแล้ว)ภรรยาจะเรียกร้องใด้ได้จากผู้มายุแยงให้แตกกันและเรียกค่าเสียหายจากทำให้เสียชื่อเสียงและทางทำมาหาได้ได้หรือไม่     ช่วยบอกหน่อยนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น patompong lovelaw50 (lovelaw50-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-08-04 21:48:15



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล