ReadyPlanet.com


อาวุธปืน


ขอถามว่า

คดีอาญา พรบ อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน มีโทษจำและปรับอย่างไร

คดี พรบอาวุธปืน ลหุโทษ มีโทษอย่างไร



ผู้ตั้งกระทู้ ไม่เข้าใจ :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-26 09:18:24


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1956001)

มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืน หรือ เครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่

มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตน ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้

มาตรา 8 ทวิ* ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทาง สาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุ จำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์

ไม่ว่ากรณีใด ห้ามมิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัด ให้มีขึ้น เพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด

*ความในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่

(1) เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทหารและ ตำรวจ ซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

(2) ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจตาม มาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) (ข) หรือ (ค) ซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการป้องกันประเทศ หรือรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือรักษาทรัพย์สินอันสำคัญของรัฐ

(3) ประชาชนผู้ได้รับมอบให้มีและใช้ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) (ง) ซึ่งอยู่ ในระหว่างการช่วยเหลือราชการและมีเหตุจำเป็นต้องมี และใช้อาวุธปืนในการนั้น

*[มาตรา 8 ทวิ เพิ่มความโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ส่วนความในวรรคสามแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522]

มาตรา 9 ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนให้ออกให้แก่ บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน หรือในการกีฬาหรือยิงสัตว์

ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก

มาตรา 10 อาวุธปืนที่ได้ออกใบอนุญาตให้ตามมาตราก่อน ให้นายทะเบียน ทำเครื่องหมายประจำอาวุธปืนนั้นไว้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 11 ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บให้ออกได้สำหรับอาวุธปืน ที่นายทะเบียนเห็นว่าชำรุดจนใช้ยิงไม่ได้หรืออาวุธปืนแบบพ้นสมัย หรืออาวุธปืนซึ่งได้รับ เป็นรางวัลจากการแข่งขันยิงปืนในทางราชการ

มาตรา 12 อาวุธปืนซึ่งได้รับอนุญาตให้มีไว้เพื่อเก็บนั้น ห้ามมิให้ยิงและห้าม มิให้มีเครื่องกระสุนปืนไว้สำหรับอาวุธปืนนั้น

มาตรา 13 ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้แก่

(1) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกสำหรับความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา ดังต่อไปนี้

(ก) มาตรา 97 ถึงมาตรา 111 มาตรา 120 มาตรา 177 ถึงมาตรา 183 มาตรา 249 มาตรา 250 หรือมาตรา 293 ถึงมาตรา 303

(ข) มาตรา 254 ถึงมาตรา 257 และพ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ ถึงวันยื่นคำขอใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีความผิดที่กระทำโดยความจำเป็นหรือเพื่อป้องกันหรือ โดยถูกยั่วโทสะ

(2) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกสำหรับความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิง พุทธศักราช 2477 มาตรา 11 มาตรา 22 มาตรา 29 หรือมาตรา 33 หรือพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 7 มาตรา 24 มาตรา 33 หรือมาตรา 38

(3) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปในระหว่างห้าปีนับย้อนขึ้นไป จากวันยื่นคำขอ สำหรับความผิดอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน (1) และ (2) เว้นแต่ความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ

(5) บุคคลซึ่งไม่สามารถจะใช้อาวุธปืนได้โดยกายพิการหรือทุพพลภาพ เว้นแต่ จะมีไว้เพื่อเก็บตามมาตรา 11

(6) บุคคลซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถหรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือ ปรากฏว่าเป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(7) บุคคลซึ่งไม่มีอาชีพและรายได้

(8) บุคคลซึ่งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง

(9) บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันอาจกระทบกระเทือนถึงความ สงบเรียบร้อยของประชาชน

*สำหรับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ห้ามมิให้ออกให้แก่บุคคลซึ่งมีชื่อ ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ที่บุคคลนั้น ขออนุญาตน้อยกว่าหกเดือน

*[ความในวรรคสองของมาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการ ปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519]

มาตรา 14 บุคคลใดมีความประสงค์ให้ผู้อื่นมีและใช้อาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืน สำหรับรักษาทรัพย์สินของตนอันจักต้องใช้ให้ผู้อื่นดูแล หรือจักต้องสั่งนำเข้า หรือซื้ออาวุธปืนหรือ เครื่องกระสุนปืนเพื่อความประสงค์เช่นว่านั้น อาจขอรับหนังสืออนุญาตพิเศษจากนายทะเบียนท้องที่ ่ที่บุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ หนังสืออนุญาตนี้นายทะเบียนจะออกให้ได้แต่โดยอนุมัติของเจ้าพนักงานซึ่ง รัฐมนตรีแต่งตั้งไว้

ผู้จะรับมอบอาวุธปืนตามความในวรรคก่อน ต้องเป็นผู้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 13

มาตรา 15 ในการสั่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนตามหมวดนี้ให้นำมาตรา 30 และมาตรา 31 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 16 ในการนำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน ให้ผู้นำเข้าแจ้ง เป็นหนังสือและส่งมอบอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนไว้แก่พนักงานศุลกากร ณ ด่านที่แรกมาถึง จากนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ในกรณีซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดให้มอบแก ่พนักงานศุลกากร ณ ด่านอื่น

เมื่อพนักงานศุลกากรได้รับหนังสือแจ้งและรับมอบอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุน ปืนไว้แล้ว ให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังนายทะเบียนท้องที่ที่ใกล้ที่สุด

แต่ถ้าผ่านเข้ามาในท้องที่ที่ไม่มีด่านศุลกากร ให้ผู้นำเข้าแจ้งเป็นหนังสือและ ส่งมอบอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนไว้แก่นายทะเบียนท้องที่ หรือผู้ทำการแทนนายทะเบียน ท้องที่ที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ชักช้า

มาตรา 17 ภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันส่งมอบอาวุธปืนหรือ เครื่องกระสุนปืนแก่พนักงานศุลกากรหรือนายทะเบียนท้องที่ตามมาตรา 16 ในกรณีที่ผู้นำเข้า ยังไม่ได้รับอนุญาต ให้ผู้นำเข้ายื่นคำขอรับใบอนุญาตนำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้น ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีถิ่นที่อยู่

ถ้านายทะเบียนอนุญาตให้นำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนให้ผู้นำเข้า ขอรับใบอนุญาตภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันรับแจ้งความการอนุญาตนั้นเป็นหนังสือ

ถ้านายทะเบียนไม่อนุญาตให้สั่งเป็นหนังสือ ให้ผู้นำเข้าส่งกลับออกนอก ราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นภายในกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และไม่เกินหกเดือน นับแต่วันที่ผู้นำเข้าได้รับคำสั่ง ในกรณีที่ไม่สามารถแจ้งคำสั่งให้ผู้นำเข้า ทราบได้ ให้นายทะเบียนโฆษณาคำสั่งนั้นทางหนังสือพิมพ์และปิดประกาศในที่เปิดเผยเป็น เวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เมื่อพ้นกำหนดให้ถือว่าผู้นำเข้าได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว

มาตรา 18 ถ้าอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนซึ่งได้มอบไว้แก่พนักงานศุลกากร หรือนายทะเบียนท้องที่ตามมาตรา 16 เป็นของสำหรับใช้ส่วนตัวโดยปกติของผู้นำเข้าซึ่งเดินทาง ผ่านหรือจะอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราว ให้พนักงานศุลกากรหรือนายทะเบียนท้องที่แล้วแต่กรณี รักษาไว้จนเมื่อผู้นำเข้านั้นจะออกไปนอกราชอาณาจักรจึงคืนให้ แต่ถ้าผู้นำเข้าประสงค์จะใช้ อาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นระหว่างที่อยู่ในราชอาณาจักร ก็ให้ขอรับใบอนุญาตให้มีและ ใช้ชั่วคราวต่อนายทะเบียนท้องที่หรือเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีจะได้กำหนดขึ้นเพื่อการนี้

มาตรา 19 ถ้าผู้นำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนมิได้ยื่นคำขอรับ ใบอนุญาตภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันส่งมอบ หรือในกรณีที่นายทะเบียนท้องที่อนุญาต ให้นำเข้าแล้ว ผู้นำเข้าไม่มารับใบอนุญาตภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนสั่ง อนุญาตหรือมิได้ส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนตามมาตรา 17 หรือเมื่อได้รับอนุญาตให้นำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนแล้วไม่มารับอาวุธปืนหรือ เครื่องกระสุนปืนนั้นไปจากพนักงานศุลกากรหรือนายทะเบียนท้องที่จนพ้นกำหนดอายุใบอนุญาต หรือผู้นำเข้าซึ่งได้เดินทางผ่านหรือจะอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวไม่รับคืนอาวุธปืนหรือเครื่อง กระสุนปืนไปเมื่อออกนอกราชอาณาจักร ให้อาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

มาตรา 20 อาวุธปืนที่สั่งหรือนำเข้า เมื่อได้รับมอบไปจากพนักงานศุลกากรแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตนำไปขออนุญาตมีและใช้ต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ รับมอบไปจากพนักงานศุลกากร

มาตรา 21 ถ้าอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตแล้วถูกทำลายหรือสูญหายโดยเหตุใด ๆ ก็ดี ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งเหตุและส่งมอบใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ซึ่งตนอยู่หรือที่เกิด เหตุภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบเหตุ

มาตรา 22* ให้เจ้าพนักงานต่อไปนี้ มีอำนาจออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลที่ได้รับ ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน มีอาวุธปืนติดตัวไปได้ตามความที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

(1) อธิบดีกรมตำรวจ สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร และทั่วราชอาณาจักร

(2) ผู้ว่าราชการจังหวัด เฉพาะภายในเขตจังหวัดของตน และเฉพาะผู้ที่มีถิ่น ที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น

เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือถ้าผู้รับใบอนุญาตแสดงตน ให้เป็นที่หวาดเสียวต่อประชาชน ผู้ออกใบอนุญาตจะสั่งพักใช้ใบอนุญาตที่ออกให้ตามมาตรานี้ โดยมีกำหนดระยะเวลา หรือจะสั่งเพิกถอนเสียก็ได้

*[มาตรา 22 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519]

มาตรา 23 ใบอนุญาตสำหรับอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน ตามความในส่วนนี้ จะออกได้แต่ตามประเภทและมีกำหนดอายุ ดังต่อไปนี้

(1) ใบอนุญาตให้ทำ ให้ออกได้เฉพาะสำหรับทำดินปืนมีควันสำหรับใช้เอง และเฉพาะผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนซึ่งใช้ดินปืนมีควัน มีอายุตลอดเวลาที่ผู้นั้น มีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนนั้นอยู่

(2) ใบอนุญาตให้ซื้อ มีอายุหกเดือนนับแต่วันออก

(3) ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน มีอายุตลอดเวลาที่ผู้รับ ใบอนุญาตเป็นเจ้าของอาวุธปืนนั้น

(4) ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนชั่วคราวมีอายุหกเดือน นับแต่วันออก

(5) ใบอนุญาตให้สั่ง หรือนำเข้า มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันออก

(6) ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บ มีอายุตลอดเวลาที่ผู้รับใบอนุญาต มีอาวุธปืนนั้นไว้เพื่อเก็บ

(7) ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวมีอายุหนึ่งปี นับแต่วันออก

 

-------

 

มาตรา 72* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และ ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท ถ้าการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเป็นเพียงกรณีเกี่ยวกับส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง หรือเป็นกรณีมีเครื่องกระสุนปืนผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเป็นเพียงการมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับ ใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และ ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท *ถ้าการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเป็นการทำเครื่องกระสุนปืนที่ทำด้วยดินปืนมีควัน สำหรับใช้เอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท *[มาตรา 72 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ส่วนความในวรรคสี่เพิ่มความโดยพระราช บัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522]

มาตรา 72 ทวิ* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8 มาตรา 12 มาตรา 16 วรรคหนึ่งหรือ วรรคสาม มาตรา 20 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 65 มาตรา 66 หรือมาตรา 70 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา 8 ทวิ วรรคสองด้วย ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

ผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8 ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

*[มาตรา 72 ทวิ เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการ

 

มาตรา 73* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท

*[มาตรา 73 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519]

มาตรา 73 ทวิ* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 มาตรา 33 หรือมาตรา 34 ต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท

*[มาตรา 73 ทวิ เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519]

มาตรา 74* ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุระเบิดตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 41 หรือฝ่าฝืนมาตรา 38 ต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

*[มาตรา 74 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519]

มาตรา 75* ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุระเบิดตาม มาตรา 28 มาตรา 34 มาตรา 35 หรือมาตรา 37 วรรคสอง ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม มาตรา 41 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึง สองหมื่นบาท

*[มาตรา 75 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519]

มาตรา 76* ผู้ใดฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดไว้สำหรับวัตถุระเบิดตามมาตรา 27 หรือมาตรา 29 ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 41 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท

 

 

มาตรา 77* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 47 หรือมาตรา 52 หรือไม่ปฏิบัติตาม คำสั่งนายทะเบียนท้องที่ตามมาตรา 51 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

*[มาตรา 77 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519]

มาตรา 78* ผู้ใดทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือ นำเข้า ซึ่งอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออก ตามมาตรา 55 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงจำคุกตลอดชีวิต

ผู้ใดค้า หรือจำหน่ายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดนอกจากที่ กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 55 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบปีถึงจำคุกตลอด ชีวิต

ผู้ใดใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด นอกจากที่กำหนดใน กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 55 ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 มาตรา 313 มาตรา 337 มาตรา 339 หรือมาตรา 340 ต้องระวางโทษ จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต

การกระทำความผิดตามวรรคสองหรือวรรคสาม ถ้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดนั้น โดยสภาพมีอานุภาพไม่ร้ายแรง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงจำคุก ตลอดชีวิต

*[มาตรา 78 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530]

มาตรา 79* ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งซึ่งออกตามความในมาตรา 57 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

*[มาตรา 79 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519]

มาตรา 80* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 37 วรรคสอง หรือมาตรา 43 หรือฝ่าฝืน เงื่อนไขตามมาตรา 40 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท

 

มาตรา 81* ผู้ใดฝ่าฝืนเงื่อนไขตามมาตรา 27 หรือมาตรา 29 หรือฝ่าฝืน มาตรา 28 มาตรา 30 หรือมาตรา 35 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

*[มาตรา 81 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519]

มาตรา 82* ผู้ใดสั่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 30 ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 15 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าพันบาท

*[มาตรา 82 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519]

มาตรา 83* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 62 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา 69 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

*[มาตรา 83 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522]

มาตรา 84* ผู้ใดฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติเกี่ยวกับดอกไม้เพลิงตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม มาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 35 มาตรา 37 วรรคสอง หรือ ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามมาตรา 27 หรือมาตรา 29 ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 48 หรือมาตรา 49 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

*[มาตรา 84 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519]

มาตรา 85* ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งเทียมอาวุธปืนตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม มาตรา 30 หรือมาตรา 37 วรรคสอง ซึ่งได้นำมาใช้บังคับ โดยอนุโลมตามมาตรา 53 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

 

สำหรับคำว่า "ลหุโทษ"  หมายความว่า ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-06-27 21:38:57



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล