ReadyPlanet.com


บุตรนอกกฎหมาย


สามีภรรยา อยู่กินฉันสามีริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่  และลุงป้าน้าอา ของผู้ตาย จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับบุตรหรือร้องคัดค้านให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่

 



ผู้ตั้งกระทู้ สุพัต :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-24 17:45:43


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1955974)

บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นเมื่อบุตรนอกกฎหมายเป็นทายาทลำดับที่ 1 แล้ว ทายาทลำดับรองลงมาจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-06-27 20:36:57


ความคิดเห็นที่ 2 (1956162)

คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นได้แต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นภรรยาของ พ. โดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่ง พ. เจ้ามรดกได้รับรองว่าเป็นบุตรโดยพฤตินัย ผู้ร้องอ้างว่า พ. ไม่มีบุตรและภรรยา เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้าน ผู้ร้องทราบดีอยู่แล้วว่า ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นบุตรและภรรยาของเจ้ามรดก การกระทำของผู้ร้องจึงมิได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกให้ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกมาเสนอต่อศาลเป็นการแสดงเจตนาฉ้อฉลเอาทรัพย์มรดกเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยสุจริตไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกนี้ต่อไป

ผู้ร้องให้การว่า แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะเป็นบุตรเจ้ามรดกจริงก็เป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิได้รับมรดกและไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีส่วนได้เสีย ไม่มีสิทธิรับมรดกและไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก คำร้องของผู้คัดค้านเป็นคำร้องซ้ำกับคำร้องที่เคยยื่นต่อศาลซึ่งศาลได้สั่งยกคำร้องไปแล้ว ขอให้ยกคำร้องคัดค้าน

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิร้องคัดค้านได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ พ. เป็นบิดาของผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้คัดค้านที่ 1 มีคำสั่งให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก และมีคำสั่งตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ พ.

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำร้องฉบับแรกของผู้คัดค้านที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องไปเป็นคนละประเด็นกับคำร้องฉบับหลัง เพราะฉบับแรกเป็นประเด็นเรื่องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งเพราะสั่งไปโดยผิดหลงว่า ผู้ร้องแถลงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดความจริงหรือไม่ ส่วนฉบับหลังนั้นมีประเด็นขึ้นใหม่ว่า ผู้ร้องมิได้ปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกให้ถูกต้องในการสืบหาทายาท มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกมาเสนอศาลและฉ้อฉลทรัพย์มรดกไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว จึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปหรือไม่ ประเด็นที่จะวินิจฉัยในคำร้องทั้งสองฉบับเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการร้องซ้ำ

เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรนอกกฎหมายที่ พ. บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายทายาทที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 หมายความถึงทายาทผู้มีสิทธิรับทรัพย์มรดกเท่านั้น ไม่หมายความถึงผู้ที่อยู่ในลำดับทายาททุกลำดับตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1629 ผู้ร้องเป็นเพียงทายาทลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ พ. เจ้ามรดก ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก จึงไม่มีสิทธิจัดการทรัพย์มรดก

ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทคนเดียวของ พ. เจ้ามรดก และผู้คัดค้านที่ 2ได้อยู่กินร่วมกับ พ. จน พ. ถึงแก่ความตาย เมื่อมีทรัพย์สินได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยาย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียผู้คัดค้านที่ 2 สมควรเป็นผู้จัดการมรดก

พิพากษายืน

( ขจร หะวานนท์ - จรัญ สำเร็จประสงค์ - แถมชัย สิทธิไตรย์ )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2523

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-06-28 14:15:20


ความคิดเห็นที่ 3 (1958260)

บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วโดยพฤตินัย

 

1. การ"รับรอง"บุตรนอกกฎหมายคือบิดาจะต้องปฏิบัติต่อบุตรโดยเปิดเผยจนเป็นที่รู้กันทั่วไป

2. สูติบัตรของเด็กซึ่งบิดาไปแจ้งไว้พฤติการณ์เช่นนี้ฟังได้ว่าบิดาได้รับรองบุตรนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1627แล้ว

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-03 13:23:28


ความคิดเห็นที่ 4 (2128769)

ลูกนอกกฏหมายพ่อไม่ได้รับรองบุตร แต่ให้สำเนาบัตรไปแจ้งเกิด

สามารถได้รับมรดกหรือไม่ และเขาไม่มีลูกกับภรรยาเก่าด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ส้ม วันที่ตอบ 2010-11-16 12:54:40


ความคิดเห็นที่ 5 (2128775)

ดิฉันเป็นภรรยาลับๆ ของ มรว. คนหนึ่งต่อมาได้ท้อง เขาให้เอาเด็กออกแต่ดิฉันไม่ยอม ต่อมาได้คลอดเป็นชาย เขาไม่รับรองบุตรให้แต่ได้ให้สำเนาบัตรมาพร้อมเขียนว่าไว้เพื่อแจ้งเกิดและให้ใช้นามสกุลแม่ได้ส่งเสียให้เงินมาได้ประมาณสองปี แล้วก็ไม่ส่งเสียอีกเลยไม่ติดต่อมาเลย โทรหาก็ไม่ยอมรับ ตอนนี้ลูกก็โต ได้ 6 ขวบและต้องใช้จ่ายมากขึ้น ดิฉันควรทำอย่างไรดี โดยไม่ให้กระทบกับภรรยาเขาก่อนหน้านั้นทราบว่าเขาไม่มีลูกกัน แต่ต่อมาเห็นมีเด็กอายุประมาณ 10 ขวบอยู่ด้วยไม่ทราบว่าเขาจะรับมาเป็นบุตรบุญธรรมหรือเปล่า แล้วลูกชายดิฉันจะมีสิทธิอะไรบ้างค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อุรา วันที่ตอบ 2010-11-16 13:05:04


ความคิดเห็นที่ 6 (2193773)

1. ลูกนอกกฏหมายพ่อไม่ได้รับรองบุตร แต่ให้สำเนาบัตรไปแจ้งเกิดสามารถได้รับมรดกหรือไม่ และเขาไม่มีลูกกับภรรยาเก่าด้วย

2. ดิฉันเป็นภรรยาลับๆ ของ มรว. คนหนึ่งต่อมาได้ท้อง เขาให้เอาเด็กออกแต่ดิฉันไม่ยอม ต่อมาได้คลอดเป็นชาย เขาไม่รับรองบุตรให้แต่ได้ให้สำเนาบัตรมาพร้อมเขียนว่าไว้เพื่อแจ้งเกิดและให้ใช้นามสกุลแม่ได้ส่งเสียให้เงินมาได้ประมาณสองปี แล้วก็ไม่ส่งเสียอีกเลยไม่ติดต่อมาเลย โทรหาก็ไม่ยอมรับ ตอนนี้ลูกก็โต ได้ 6 ขวบและต้องใช้จ่ายมากขึ้น ดิฉันควรทำอย่างไรดี โดยไม่ให้กระทบกับภรรยาเขาก่อนหน้านั้นทราบว่าเขาไม่มีลูกกัน แต่ต่อมาเห็นมีเด็กอายุประมาณ 10 ขวบอยู่ด้วยไม่ทราบว่าเขาจะรับมาเป็นบุตรบุญธรรมหรือเปล่า แล้วลูกชายดิฉันจะมีสิทธิอะไรบ้างค่ะ

ตอบ  บุตรนอกกฎหมายที่จะมีสิทธิได้รับมรดกของบิดา นั้น ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบิดาได้รับรองโดยพฤตินัยแล้วว่าเป็นบุตร เช่น ส่งเสียเลี้ยงดู ให้การศึกษา บอกคนทั่วไปว่าเป็นบุตร

สำหรับกรณีของผู้ถาม อาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งว่าเด็กเป็นบุตรของสามีได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-07 16:28:41


ความคิดเห็นที่ 7 (2193774)

บุตรนอกกฎหมาย กับสิทธิตามกฎหมายประกันสังคม

คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนด้วย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2545)

ผู้แสดงความคิดเห็น ** วันที่ตอบ 2011-07-07 16:32:57



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล