ReadyPlanet.com


การสมรสในต่างประเทศ


คู่สมรสคนไทยที่ทำการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายต่างประเทศ โดยที่ไม่มีหลักฐานในประเทศไทย จะถือว่ามีผลบังคับได้หรือไม่ และหากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกลับเมืองไทยโดยยังไม่ได้มีการจดทะเบียนหย่ากัน และได้ทำการสมรสใหม่ตามกฎหมายไทย อย่างนี้คู่สมรสที่อยู่ต่างประเทศจะสามารถฟ้องเพิกถอนการสมรสได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ นาดี :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-20 17:27:07


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1953056)

มาตรา 1459 การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้

ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จดทะเบียนตามแบบไทย ให้พนักงานฑูตหรือกงสุลไทยผู้รับจดทะเบียน 

มาตรา 1459 บัญญัติให้การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้ การสมรสที่กระทำในต่างประเทศนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บัญญัติรับรองไว้แต่เฉพาะการสมรสระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยเป็นคู่สมรส โดยจะเป็นคนไทยทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายเดียวก็ได้ และในการณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูต หรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน ส่วนการสมรสระหว่างคนต่างประเทศนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มิได้บัญญัติถึง แต่มีบั้ญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 20

สำหรับการสมรสในต่างประเทศซึ่งคู่สมรสเป็นคนไทยทั้งคู่หรือคนไทยสมรสกับคนต่างชาตินั้น มาตรา 1459 บัญญัติว่าจะทำตามแบบที่กฎหมายไทยกำหนดหรือจะทำตามกฎหมายท้องที่ที่ทำการสมรสก็ได้แล้วแต่จะเลือกแบบใดแบบหนึ่งตามความสะดวก การสมรสนั้นสมบูรณ์ตามกฎหมายไทยทุกประการ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 20 วรรคสอง ก็ได้รับรองว่า “การสมรสระหว่างคนในบังคับสยามหรือคนในบังคับสยามกับคนต่างด้าวซึ่งกระทำในต่างประเทศโดยถูกต้องตามแบบที่กฎหมายสยามกำหนดไว้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์ ” อีกด้วย

กรณีที่การสมรสของคนไทยได้กระทำขึ้นในต่างประเทศตามแบบของกฎหมายต่างประเทศนั้นแล้ว เนื่องจากมิได้มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย จึงไม่มีทะเบียนสมรสอยู่ในประเทศไทย อาจจะมีข้อขัดข้องและเป็นที่เสียหายในการที่ไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายแล้วได้ พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 17 จึงได้ให้สิทธิแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการสมรสดังกล่าว เช่น สามีภริยาคู่นั้นในอันที่จะขอให้บันทึกการสมรสนี้โดยการจดข้อความลงในทะเบียนเพื่อเป็นหลักฐานในการพิสูจน์ได้

ดังนั้นเมื่อการสมรสชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาจดทะเบียนสมรสใหม่ในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว ดังนี้การสมรสครั้งหลังในประเทศไทยจึงเป็นการสมรสซ้อง เป็นโมฆะ คู่สมรสที่ร้องเสียหายจึงมีอำนาจฟ้องได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-06-20 18:07:29


ความคิดเห็นที่ 2 (1953069)

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2514 โจทก์จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายกับนายสากล วนสินธุ์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2532 จำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับนายสากล วนสินธุ์ สามีโจทก์ ในขณะที่โจทก์เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนแล้วการสมรสระหว่างจำเลยกับนายสากลเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและเป็นโมฆะ ขอให้โจทก์ว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับนายสากล วนสิทธุ์ เป็นโมฆะ

จำเลยให้การว่า จำเลยกับนายสากล วนสินธุ์ จดทะเบียนสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนโจทก์มิใช่คู่สมรสของนายสากล จนสินธุ์ตามกฎหมาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับว่า การสมรสระหว่างจำเลยกับนายสากล วนสินธุ์ เป็นโมฆะ

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2532 จำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับนายสากล วนสินธุ์ ผู้ตาย ที่สำนักทะเบียนเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสากลตามกฎหมายของรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ โจทก์อ้างตนเองเบิกความว่าเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2514 โจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกับนายสากลที่เมืองคลาร์ด รัฐเนววาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้มีการรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของเมืองคลาร์ค รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกาเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นผู้รับรองสำเนาถูกต้อง ต่อมาได้มีการแปลเป็นภาษาไทยโดยศูนย์ภาษาและการแปลอาเซียนและเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติกรกระทรวงการต่างประเทศได้รับรองว่ามีการแปลถูกต้อง นอกจากนี้โจทก์ยังมีนายไพโรจน์ รัศมีวิเชียรทองซึ่งเป็นพยานรู้เห็นเหตุการณ์ในการที่โจทก์และนายสากลเข้าร่วมพิธีสมรส และเป็นพยานที่ระบุในใบสำคัญการสมรสว่าเป็นพยานด้วยเบิกความสนับสนุนว่าโจทก์และผู้ตายได้ทำการสมรสกันจริง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญการสมรสเอกสารหมาย จ.1 (หรือ จ.12) จ.2 และคำแปลเอกสารหมาย จ.3 (หรือ จ.13) ประกอบซึ่งเอกสารดังกล่าวดังกล่าวเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ในรัฐแคลิฟอร์เนียรับรอง เชื่อได้ว่าใบสำคัญการสมรสเป็นเอกสารแท้จริงและถูกต้องทั้งข้อความในใบสำคัญการสมรสเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่าเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักบ้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังว่าการสมรสระหว่างโจทก์และนายสากลผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนวาดาประเทศสหรัฐอเมริกา และชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1459 วรรคหนึ่ง แล้ว ดังนั้นในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับนายสากลตามกฎหมายไทยจึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่นายสากลมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้วเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1496ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

พิพากษายืน

( สมปอง เสนเนียม - จารุณี ตันตยาคม - กอบเกียรติ รัตนพาณิช )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6051/2540

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-06-20 19:28:02



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล