ReadyPlanet.com


ตัดน้ำตัดไฟเป็นบุกรุกหรือเปล่า


มีการเช่าที่ดินสร้างสำนักงานและใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย ต้อนนี้เป็นคดีฟ้องร้องขับไล่กันอยู่ และมีการขู่

จะตัดน้ำตัดไฟถ้าไม่ออกจากที่ดิน  เลยอยากถามว่าถ้ามีการตัดน้ำตัดไฟจริงจะเป็นบุกรุกหรือเปล่ามี

หมายเลขฏีกาหรือเปล่า



ผู้ตั้งกระทู้ แอ็ด :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-05 10:25:39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1958825)

เมื่อผู้เช่าผิดสัญญา และได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้เช่าย่อมหมดสิทธิที่จะครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าอีกต่อไป การตัดน้ำ ตัดกระแสไฟฟ้า เป็นการกระทำที่ขาดเจตนาบุกรุก

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-05 13:23:55


ความคิดเห็นที่ 2 (1959251)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2537

 

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,364, 365(2)(3), 83

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบมาตรา 362, 83 ลงโทษจำคุกคนละ 1 ปี ปรับคนละ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับจัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า นายบัญญัติเช่าห้องพิพาทซึ่งเป็นห้องพักเลขที่ 406ชามาอพาร์ตเมนต์ ถนนรามคำแหง แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิกรุงเทพมหานคร จากจำเลยที่ 1 มีกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่1 กรกฎาคม 2533 นายบัญญัติและผู้เสียหายได้เข้าอยู่อาศัยในห้องพิพาทมาจนกระทั่งครบกำหนดตามสัญญา และยังคงอาศัยอยู่ในห้องพิพาทตลอดมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นภริยาจำเลยที่ 1 เข้าไปในห้องพิพาทแล้วตัดไฟฟ้า(ถอดสะพานไฟฟ้า) ถอดเครื่องรับโทรศัพท์และกุญแจลูกบิดประตูออกไปคดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์นายบัญญัติและผู้เสียหายเป็นพยานเบิกความสรุปได้ว่า นายบัญญัติและผู้เสียหายเข้าอยู่อาศัยในห้องพิพาทตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2533 ครบกำหนดตามสัญญาเช่าวันที่ 9 มกราคม 2534เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว นายบัญญัติและผู้เสียหายยังคงอาศัยอยู่ในห้องพิพาทต่อมาโดยชำระค่าเช่าห้องพิพาทประจำเดือนมกราคม2534 แล้ว สำหรับค่าเช่าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2534 ได้ตกลงกับจำเลยทั้งสองให้นำเงินประกันการเช่าที่นายบัญญัติวางไว้มาหักชำระทำให้นายบัญญัติและผู้เสียหายมีสิทธิอยู่ในห้องพิพาทได้จนถึงวันที่ 9 มีนาคม 2534 ส่วนจำเลยทั้งสองมีจำเลยทั้งสองและนายอรพล สมุห์เงิน เป็นพยานเบิกความว่า เมื่อสัญญาเช่าห้องพิพาทครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ได้บอกเลิกสัญญาแก่นายบัญญัติแล้วแต่นายบัญญัติและผู้เสียหายไม่ยอมออกไปจากห้องพิพาท และไม่ยอมชำระค่าเช่า จนกระทั่งวันเกิดเหตุนายบัญญัติและผู้เสียหายก็ยังไม่ยอมออกไปทั้งได้เปิดน้ำประปาและไฟฟ้าทิ้งไว้ด้วย จำเลยทั้งสองเข้าไปพูดเรื่องที่มีการเปิดน้ำประปาและไฟฟ้าทิ้งไว้กับเรื่องการออกไปจากห้องพิพาท นายบัญญัติบอกว่าตนจะออกไปจากฟ้องพิพาทดังกล่าวแล้ว ให้จำเลยทั้งสองเอาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกไปได้ จำเลยทั้งสองเข้าใจโดยสุจริตว่ามีสิทธิทำได้ตามที่นายบัญญัติให้ความยินยอมและตามหนังสือสัญญาเช่าห้องพักเอกสารหมาย ล.1

ที่โจทก์ฎีกาว่า หนังสือสัญญาเช่าห้องพักเอกสารหมาย ล.1 ข้อ 3และข้อ 9 กำหนดให้ผู้ให้เช่าขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องเช่าและเข้ายึดครอบครองสถานที่และสิ่งที่เช่าได้โดยพลัน หากผู้เช่าผิดสัญญาเป็นเพียงข้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าไม่ต้องรับผิดในทางแพ่ง มิใช่เป็นการยินยอมที่จะทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดทางอาญานั้น เห็นว่าตามหนังสือสัญญาเช่าห้องพักเอกสารหมาย ล.1 ข้อ 3 ระบุว่า"ผู้เช่ายอมชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าภายในวันที่ 30 ของเดือนทุก ๆ เดือนถ้าไม่ชำระตามกำหนดนี้ ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่ายึดเงินประกันของผู้เช่าได้ และใส่กุญแจห้องผู้เช่าก็ได้ หรือผู้เช่ายินยอมอนุญาตให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องเช่าได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ"ข้อ 9 ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าประพฤติผิดล่วงละเมิดสัญญาแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใด หรือกระทำผิดวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งข้อใดยอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเข้ายึดครอบครองสถานที่และสิ่งที่เช่าได้โดยพลันและมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที" และข้อ 10 ระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าก็ดี หรือผู้เช่าผิดสัญญาเช่าก็ดี ผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่า" ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ นายบัญญัติและจำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามสัญญานี้ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาและจำเลยที่ 1 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่นายบัญญัติด้วยแล้วนายบัญญัติและผู้เสียหายไม่มีสิทธิอยู่ในห้องพิพาทต่อไป เมื่อนายบัญญัติไม่ยอมออกไปจากห้องพิพาท จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทผู้ให้เช่าจึงใช้สิทธิตามหนังสือสัญญาเช่าห้องพักเอกสารหมาย ล.1 ดังกล่าวได้ การกระทำตามฟ้องที่จำเลยทั้งสองเข้าไปในห้องพิพาทแล้วใช้คีมหนีบกุญแจลูกบิดประตู บานพับหน้าต่างถอดเอาสะพานไฟฟ้าและเครื่องรับโทรศัพท์ในห้องพิพาทออกไปจึงไม่มีมูลความผิดทางอาญา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องมานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

( สมพงษ์ สนธิเณร - สมศักดิ์ วิธุรัติ - อัครวิทย์ สุมาวงศ์ )

 

 

หมายเหตุ

 

 

 

(1) นอกจากคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าข้อสัญญาที่ให้ผู้ให้เช่าซื้อไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาได้ย่อมใช้บังคับกันได้ จึงควรพิจารณาว่าข้อสัญญาดังกล่าวจะเป็นโมฆะหรือใช้บังคับกันได้หรือไม่ เพราะคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้วินิจฉัยว่าข้อสัญญาต่าง ๆ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

(2) โดยหลักที่ว่าข้อสัญญาหรือสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาย่อมเป็นกฎหมายระหว่างคู่สัญญา (conventionallaw) ซึ่งมีที่มาจากการตกลงกัน(Salmond,Jurisprudence.1966,pp.114,124) จะตกลงยกเว้นกฎหมายเสียก็ยังได้ ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 151) แต่ถ้าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ก็เป็นโมฆะ (มาตรา 150)

(3) ตามคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ ข้อสัญญาเช่าข้อ 3 ที่ตกลงกันว่า ถ้าไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนด ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่ายึดเงินประกันของผู้เช่าได้นั้น การยึดเงินในที่นี้ก็หมายถึงให้ริบเป็นของผู้ให้เช่านั่นเอง เห็นว่าเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับกันได้ถึงขนาดตกลงให้ริบกันก็ยังได้ มิใช่เป็นการตกลงที่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบ ฯลฯ ไม่ตกเป็นโมฆะ จะเห็นได้จากบทบัญญัติต่าง ๆใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ดูมาตรา 378(2),574 ฯลฯ เป็นต้น)

ข้อสัญญาข้อ 9 ที่ว่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที ข้อ 10 ที่ว่าเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าก็ดี หรือผู้เช่าผิดสัญญาก็ดี ผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่าซึ่งศาลฎีกาเห็นว่าไม่ขัดต่อความสงบฯนั้น ผู้บันทึกก็เห็นด้วยอีก เพราะเมื่อผิดสัญญาผู้ให้เช่าซื้อก็ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้อยู่แล้ว หรือเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าผู้เช่าก็ต้องมีหน้าที่ออกจากที่เช่าอยู่แล้ว จะอยู่ต่อไปไม่ได้

(4) แต่ข้อตกลงข้อ 3 ที่ว่า "และใส่กุญแจห้องผู้เช่าก็ได้ หรือผู้เช่ายินยอมอนุญาตให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องเช่าได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ" ก็ดี ข้อ 9 ที่ว่า "ถ้าผู้เช่าประพฤติผิดล่วงละเมิดสัญญา แม้แต่ข้อหนึ่งข้อใด หรือกระทำผิดวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งข้อใด ยอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเข้ายึดครอบครองสถานที่และสิ่งที่เช่าได้โดยพลัน"

ผู้บันทึกเห็นว่า เป็นข้อตกลงที่เป็นการขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบฯ เพราะเป็นการทำลายสิทธิตามสัญญาโดยให้คู่สัญญาใช้กำลังป้องกันคุ้มครองสิทธิของตนเองโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุน กรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 451เป็นการขัดต่อมาตรา 451 อย่างเห็นได้ชัด จะถือว่าตามพฤติการณ์จะขอให้ศาลหรือเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือให้ทันท่วงทีไม่ได้หาได้ไม่ กรณีเช่นขับไล่ผู้เช่าผู้อาศัยออกจากสถานที่เช่าที่อาศัย จะใช้กำลังเองโดยพลการไม่ได้ ต้องฟ้องร้องให้ศาลบังคับมิฉะนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (ดูฎีกาที่ 910/2477,1353/2482,116/2513,768/2521 ฯลฯ) ถ้าหากให้ใช้กำลังบังคับกันได้เอง บ้านเมืองย่อมจะเกิดความวุ่นวาย

(5) อาจมีข้อแย้งขึ้นมาทันทีว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นความยินยอมของผู้เสียหายต่างหาก ความยินยอมย่อมไม่เป็นละเมิด(olentinonfitinjuria) ตามหลักกฎหมายทั่วไป

เราต้องเข้าใจว่า ความยินยอมเป็นพฤติการณ์หรือข้อเท็จจริงไม่ใช่นิติกรรมสัญญา เป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของบุคคล ถ้าเกิดจากนิติกรรมสัญญาแล้วย่อมตกเป็นโมฆะ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 373) การที่ตกลงกันให้ผู้ให้เช่าทำได้ตามข้อ 3(ใส่กุญแจห้องและให้ผู้ให้เช่าขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่า) ตามข้อ 9(เข้าครอบครองสถานที่) ย่อมเป็นการตกลงกันล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 373 จึงตกเป็นโมฆะเฉพาะข้อตกลงในส่วนดังกล่าว

(6) อย่างไรก็ดี คดีนี้เป็นคดีอาญาโดยโจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาฐานบุกรุก ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62,364,365(2)(3)เมื่อพิจารณาถึงเจตนาในการกระทำความผิด ด้วยเหตุข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยมีความสำคัญผิดว่าตนมีอำนาจเข้าไปได้ แม้จะเป็นการรบกวนการครอบครองก็ตาม ย่อมถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิด ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ศาลควรยกฟ้องโจทก์เสียด้วยเหตุนี้

ไพจิตรปุญญพันธุ์

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-07-06 18:42:57


ความคิดเห็นที่ 3 (1959254)

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2542 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปในสวนอาหารและห้องอาหารชื่อร้านไม้ไทย เลขที่ 663/16 ซอยรามคำแหง 127 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร อันเป็นเคหสถานที่โจทก์ครอบครองและใช้ประโยชน์ โดยจำเลยที่ 1 จ้างวานให้จำเลยที่ 2 นำกุญแจไปปิดล็อกประตูทางเข้าออกห้องอาหารและสถานที่เก็บอาหารโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข จำเลยที่ 2 ได้ข่มขืนใจให้นายจีระศักดิ์ กระฉอดนอก ผู้ดูแลสถานที่ของโจทก์สละการครอบครองทรัพย์สินของโจทก์และให้ออกจากสถานที่ดังกล่าว มิฉะนั้นจะปิดขังไว้ในเคหสถานดังกล่าว นายจีระศักดิ์จึงจำยอมมอบทรัพย์สินต่าง ๆ ของโจทก์ และจำเลยทั้งสองได้ลักเอาทรัพย์สินดังกล่าวไป โดยเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยเจตนาทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการทำการค้าไม่น้อยกว่าวันละ 10,000 บาท และต้องสูญเสียทรัพย์สินเป็นมูลค่า 821,020 บาท ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 364, 365, 337, 334 และ 83

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ประทับฟ้องความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 364, 365 ประกอบด้วยมาตรา 83 ไว้พิจารณา

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ?พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ไปปิดกุญแจร้านอาหารที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 1 ในราคาเดือนละ 45,000 บาท กำหนดชำระค่าเช่าภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน เริ่มทำสัญญาเช่าตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2541 เป็นต้นไป มีกำหนด 3 ปี โจทก์ได้ชำระค่าเช่าเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม 2541 ภายหลังวันที่ 5 ของเดือนดังกล่าว ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็รับเงินค่าเช่าไว้พร้อมกับได้ต่อว่าโจทก์ที่ชำระค่าเช่าไม่ตรงตามสัญญา ส่วนในเดือนมกราคม 2542 โจทก์ก็ไม่ชำระค่าเช่าแก่จำเลยที่ 1 จนกระทั่งวันที่ 22 มกราคม 2542 จำเลยที่ 1 จึงให้จำเลยที่ 2 ไปปิดกุญแจร้านที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 1 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานบุกรุกตามฟ้องหรือไม่ โจทก์อ้างตนเองกับนายจีระศักดิ์ กระฉอดนอก เบิกความเป็นพยานว่า โจทก์ได้เช่าร้านของจำเลยที่ 1 ทำเป็นร้านอาหารเป็นเวลา 3 ปี เริ่มสัญญาตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2541 คิดค่าเช่าเดือนละ 45,000 บาท โดยชำระค่าเช่าภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ยอมรับว่า ในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม 2541 โจทก์ชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยที่ 1 ภายหลังวันที่ 5 ของทุกเดือนและในเดือนมกราคม 2542 โจทก์ยังไม่ชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะยอมรับค่าเช่าจากโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม 2541 ไว้ก็ตามแต่ได้มีการต่อว่าโจทก์เกี่ยวกับเรื่องการชำระราคาค่าเช่าที่ไม่ตรงตามสัญญา ดังนั้นจะถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับเป็นปริยายว่าไม่ถือกำหนดเวลาเรื่องการชำระค่าเช่าให้ตรงเวลาเป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ เมื่อถึงเดือนมกราคม 2542 โจทก์ก็ยังไม่ชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยภายในวันที่ 5 มกราคม 2542 อีก วันที่ 22 มกราคม 2542 จำเลยที่ 1 จึงถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าและให้จำเลยที่ 2 ไปล็อกกุญแจปิดร้านอาหารเพื่อมิให้โจทก์เช่าต่อไป การกระทำของจำเลยที่ 1 คิดว่าตนเองมีอำนาจกระทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 11 ที่ระบุว่าถ้าผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ ผู้ให้เช่าย่อมทรงสิทธิในการกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญานี้โดยพลัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการขาดเจตนาที่จะกระทำผิดฐานบุกรุก ที่โจทก์อ้างว่า ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เห็นว่า ข้อสัญญาดังกล่าวมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและมิได้เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด ส่วนฎีกาข้ออื่นของโจทก์ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว?

พิพากษายืน.

( มงคล ทับเที่ยง - พินิจ บุญชัด - รัตน กองแก้ว )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2549

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-07-06 18:46:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล