ReadyPlanet.com


การค้ำประกัน


ค้ำประกันโดยใช้หลักทรัพย์เป็นที่ดินค้ำประกันบุคคลต่อศาล  เมื่อบุคคลนั้นชดใช้หนี้เรียบร้อยแล้ว  ผู้ค้ำประกันมาทราบภายหลังว่าคดีสิ้นสุดแล้ว  ประมาณ  1  - 2 ปี  และจะขอหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันคืน จะต้องเสียค่าปรับต่อศาลหรือไม่  ถ้าเสียจะต้อง เสียประมาณเท่าไร



ผู้ตั้งกระทู้ คนที่ไม่รู้เรื่องกฏหมาย :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-02 13:47:26


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1957917)

ค้ำประกันบุคคล คืออะไรครับไม่เข้าใจครับ ขอให้เล่ารายละเอียดแบบให้เข้าใจความเป็นมา ว่าการค้ำประกันเพราะเหตุใด ทำไมต้องต่อศาล เพราะไม่ใช่คดีอาญาที่ต้องประกันตัวจำเลยใช่หรือไม่ ที่ถามมานั้นไม่เข้าใจครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-02 16:29:21


ความคิดเห็นที่ 2 (1958103)
หมายถึง  นาย  ก. จ่ายเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีหรือเช็คเด้ง ให้กับนาย  ข.    นาย  ข. แจ้งความดำเนินคดีกับนาย ก.    นาย ก.  ขอร้องให้นาย ค.  ,  ง.  และ  จ.  ช่วยค้ำประกันโดยทั้ง  3  คนใช้โฉนดที่ดินเป็นหลักประกันที่ศาล   ต่อมานาย ก.  นำเงินไปชำระหนี้ให้กับนาย ข.  ซึ่งมีเพียงนาย ค. เท่านั้นที่ทราบเรื่องจึงขอหลักทรัพย์ค้ำประกันคืน  นาย ง. และ จ.  มาทราบภายหลังจึงไปขอหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันคืน  แต่เจ้าหน้าที่ศาลบอกว่าจะต้องเสียค่าปรับ  จึงอยากทราบว่าจะต้องเสียค่าปรับด้วยหรือ  และคิดค่าปรับเท่าไร  และทำไมต้องเสีย  ขอขอบคุณที่กรุณาตอบ
ผู้แสดงความคิดเห็น คนที่ไม่รู้เรื่องกฎหมาย วันที่ตอบ 2009-07-03 08:31:44


ความคิดเห็นที่ 3 (1958226)

เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลบอกว่าจะต้องเสียค่าปรับ เจ้าหน้าที่ศาลก็ควรที่จะต้องบอกเหตุผลที่จะต้องเสียด้วยว่าเสียค่าปรับในกรณีใด เพราะเหตุใด ทำไมต้องเสีย และทางเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่จะต้องชี้แจงให้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทราบด้วย จะบอกว่าต้องเสียค่าปรับอย่างเดียวคงไม่ได้

เพราะการที่คดีถึงที่สุดเพราะจำเลยชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ครบถ้วนแล้ว และหนี้ระงับไปแล้ว ก็จะทำให้หนี้ที่ผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้ระงับไปด้วย จึงเห็นว่าไม่มีเหตุใดต้องเสียค่าปรับให้ศาลครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-03 12:20:11


ความคิดเห็นที่ 4 (1961068)

สิทธิของผู้ค้ำประกัน ตาม มาตรา 688

 

มาตรา 688 เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ ผู้ค้ำประกัน จะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อนก็ได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษา ให้เป็นคนล้มละลายเสียแล้ว หรือไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดใน พระราชอาณาเขต

 

คดีนี้ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1ไว้ต่อศาล ซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐ เพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาของศาลมิใช่ทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคลจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องค้ำประกันที่ให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงบังคับเอาแก่ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันในภายหลังมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้อง

 

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าซื้อสินค้าจำนวน 9,221,794.60 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้อง ให้จำเลยที่ 2 ร่วมกันชำระเงินให้โจทก์เป็นเงิน2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งว่า "พิเคราะห์แล้ว ถ้าจำเลยที่ 1หาประกันสำหรับต้นเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี มาให้จนเป็นที่พอใจและภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ มิฉะนั้นให้ยกคำร้อง" ศาลชั้นต้นอนุญาตตามที่จำเลยที่ 1 เสนอหลักประกันที่ดินโฉนดเลขที่ 108363 และ 100425 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีนายอมรเนติพิพัฒน์ ผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยผู้ร้องได้ทำสัญญาค้ำประกันตามคำสั่งศาลไว้แล้ว ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินเพิ่มอีก 256,779 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ฎีกา และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งว่า "พิเคราะห์แล้วถ้าจำเลยที่ 1 หาประกันสำหรับจำนวนเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับถึงวันฟังคำสั่งนี้ให้จนเป็นที่พอใจและภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างฎีกามิฉะนั้นให้ยกคำร้อง" ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาหลักประกัน จำเลยที่ 1ไม่มาศาลและไม่นำหลักประกันมาวางภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งศาลฎีกา ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 แพ้คดี

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า คดีนี้ผู้ร้องได้เสนอหลักประกันต่อศาลเพื่อขอทุเลาการบังคับของจำเลยที่ 1 ในชั้นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิ่มหลักประกัน มิฉะนั้นให้ยกคำร้องขอทุเลาการบังคับชั้นฎีกา ผู้ร้องไม่สามารถหาหลักประกันได้จึงถือว่าศาลชั้นต้นยกคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งศาลฎีกา ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 แพ้คดี เมื่อผู้ร้องไม่สามารถหาหลักประกันมาเพิ่มได้ และศาลได้ยกคำร้องขอทุเลาการบังคับชั้นฎีกาแล้ว อีกทั้งผู้ร้องมิได้เข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ชั้นฎีกา ผู้ร้องจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้หนี้ตามคำพิพากษาแทนจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลคืนหลักประกันของผู้ร้อง และขอให้เพิกถอนคำบังคับฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน2541 และให้โจทก์ไปบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องยังคงต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกันฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2538 ไม่มีเหตุต้องคืนหลักทรัพย์และเพิกถอนการบังคับคดีตามที่ขอ ให้ยกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ผู้ร้องยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยระบุว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นฎีกาแต่เมื่ออ่านฎีกาทั้งฉบับ รวมทั้งผู้ลงชื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทั้งทนายจำเลยที่ 1 และทนายผู้ร้องในขณะเดียวกัน ก็พออนุโลมได้ว่าเป็นฎีกาของผู้ร้องโดยโต้แย้งว่า หนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1ที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ย่อมมีผลบังคับเฉพาะในชั้นอุทธรณ์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นฎีกาและยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำหลักประกันมาวางมิฉะนั้นให้ยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และผู้ร้องไม่สามารถหาหลักประกันมาวางได้ศาลชั้นต้นจึงสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับ แสดงว่าผู้ร้องมิได้เข้าทำสัญญาค้ำประกันในชั้นฎีกาแล้ว ความรับผิดของผู้ร้องย่อมหมดไป ผู้ร้องจึงควรหลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ทำสัญญาค้ำประกันกับศาลนั้นเห็นว่า ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "ข้าพเจ้า นายอมร เนติพิพัฒน์ ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้" ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ แม้จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน เช่นนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องในฐานะของผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับนี้จะสิ้นไป ก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องนั้นชอบแล้ว

ที่ผู้ร้องฎีกาเป็นข้อสุดท้ายว่า โจทก์ชอบที่จะบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1ก่อน เมื่อบังคับคดีไม่ได้หรือไม่เพียงพอแล้ว จึงบังคับเอากับผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันนั้น เห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1ไว้ต่อศาล ซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐ เพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาของศาลมิใช่ทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคลจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องค้ำประกันที่ให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงบังคับเอาแก่ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันในภายหลังมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้องโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ดังที่ผู้ร้องฎีกาโต้แย้ง"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้นำเงินจำนวน 2,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 2ชำระแก่โจทก์ ตามที่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับวันที่ 26มิถุนายน 2538 หักออกจากหนี้ตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องจะต้องชำระตามสัญญาค้ำประกัน

( วิชา มหาคุณ - พูนศักดิ์ จงกลนี - ปัญญา สุทธิบดี )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2543

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-07-11 09:43:04


ความคิดเห็นที่ 5 (2056645)

ขอสอบถามเพิ่มเติมคล้ายๆ คดีของเพื่อน

เรื่องเหมือนกันเลยกับความเห็นที่ 2

ตอนนี้คดีความจบแล้ว นาย ก ชำระหนี้ให้นาย ข เสร็จสิ้นแล้ว แต่ทางผู้ค้ำประกันไม่สามารถนำโฉนดที่ดินออกมาได้ เนื่องจากศาลบอกว่าจะต้องเสียค่าปรับกรณีที่ จำเลย (หรือผู้คำประกัน ไม่แน่ใจอะครับ) ไม่มาขึ้นศาล ที่ผ่านมา ศาลบอกประมาณว่าผู้ค้ำประกันจะต้องเสียค่าปรับ เป็นจำนวนเงินที่ประเมินจากราคาของที่ดินทั้งหมด ประมาณ 1,200,000 บาท และนาย ค ได้ทำเรื่องขออุทธรณ์ต่อศาลในเรื่องราคาประเมินที่ดินแล้ว

ขอถามหน่อยครับ  สรุปว่าผู้ค้ำประกันจะต้องเสียค่าปรับหรือป่าวครับ  ไม่รู้เรื่องกฎหมายจริงๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น ไม่รู้เรื่องกฎหมาย วันที่ตอบ 2010-04-21 10:35:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล