ReadyPlanet.com


เด็ก (ญ)เสียหาย


หาก เด็ก ญ อายุไม่เกิน13 ปี  อยู่กินอย่างฉันสามีภรรยาโดยบิดามรรดายินยอม

แต่ภายหลังผิดข้องหมองใจกัน  เรียนถาม  ญ หรือ บิดามรรดา  เป็นผู้เสียหาย ตามวิ.อาญาม.2(4)ม.5

และมีอำนาจดำเนินคดีได้ไหม  

   ขอบคูณคับ



ผู้ตั้งกระทู้ 222 :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-17 14:57:52


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1964257)

กระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี จะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มีความผิดครับ หากอยู่กินฉันสามีภริยากัน อาจขาดเจตนาได้ แต่เป็นเรื่องยากจะพิสูจน์ครับ ในความเป็นจริงเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี เพิ่งจะเลิกนมไม่กี่วันเอง

หากถามในทางตัวบทก็น่าจะไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ทุกวันนี้มีคดีประเภทนี้มาสู่ศาลไม่มีใครรอดเพราะพิสูจน์ไม่ได้ ผู้ปกครองอ้างว่าไม่ยินยอม

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-18 07:15:47


ความคิดเห็นที่ 2 (1964654)

การที่ผู้เสียหายโทรศัพท์และมีจดหมายแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ แต่ผู้ปกครองมิได้ทักท้วงห้ามปรามเท่ากับเป็นการยินยอมโดยปริยายให้จำเลยและผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากัน กระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อภริยาของตนเอง

 

 

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277, 310, 317, 91

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก, 317 วรรคสาม เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 7 ปี ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 8 ปี รวมจำคุก 15 ปี จำเลยให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปี ข้อหาอื่นให้ยก

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 4 ปี และฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 9 ปี ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุก 6 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก, 317 วรรคสาม เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 7 ปี ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 8 ปี รวมจำคุก 15 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นจำคุกจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 4 ปี และฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 9 ปี ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุก 6 ปี ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่า จำเลยสำคัญผิดว่าเด็กหญิงเสาวณีผู้เสียหาย มีอายุสิบเจ็ดปีและสำคัญผิดว่าผู้เสียหายเป็นภริยาของตนก่อนเกิดเหตุแล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดนั้น เป็นฎีกาที่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีหรือไม่ และการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อภริยาของตนเอง ซึ่งเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยเป็นยุติแล้วเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้จำเลยไม่มีความผิดและการกระทำของจำเลยจะครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนฎีกาว่าพยานโจทก์มีพิรุธไม่อาจฟังลงโทษจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี และการที่ผู้เสียหายโทรศัพท์และมีจดหมายแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ แต่ผู้ปกครองมิได้ทักท้วงห้ามปรามเท่ากับเป็นการยินยอมโดยปริยายให้จำเลยและผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากัน ก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการรับรองหรืออนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

พิพากษายกฎีกาของจำเลย.

( สดศรี สัตยธรรม - วิรัช ลิ้มวิชัย - มานะ ศุภวิริยกุล )

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2546

 

 

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-07-19 12:46:03


ความคิดเห็นที่ 3 (1964663)

แม้ผู้เสียหายพักอยู่กับยาย แต่เมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาที่สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย พฤติการณ์ที่จำเลยให้ผู้เสียหายไปทำความสะอาดห้องนอนของจำเลย แล้วตามไปกระทำชำเราผู้เสียหายให้ห้องนอนของตนในครั้งแรกก็ดี และเมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยที่บ้านเพื่อสอบถามถึงเหตุที่จำเลยไม่รับผิดชอบ จำเลยกลับกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นครั้งที่สองก็ดี ล้วนเป็นการกระทำอันล่วงล้ำอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหายทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา แต่การที่จำเลยยังมิได้มีภริยาจึงอยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันสามีภริยาได้ ทั้งหลังเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันโดยได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยได้ว่าประสงค์จะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยาการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารแต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก

 

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือจำเลยได้พรากเด็กหญิง ก. ผู้เสียหายซึ่งมีอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากนางบังอร เจริญชัย ผู้เป็นมารดา (ที่ถูกนางบังอรและนายทวีศักดิ์ เจริญชัยผู้เป็นบิดามารดา) เพื่อการอนาจาร จากนั้นจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งมิใช่ภรรยาของตน จำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากนางบังอรผู้เป็นมารดาเพื่อการอนาจาร จากนั้นจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอีกครั้งหนึ่ง โดยในการกระทำชำเราทั้งสองครั้ง จำเลยได้ผลักผู้เสียหายให้นอนลงแล้วขึ้นคร่อมทับตัวผู้เสียหายไว้ จนผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้จากนั้นจำเลยถอดเสื้อผ้าของตนเองและของผู้เสียหายออกแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ เหตุเกิดที่ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิจังหวัดสกลนคร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277,317 วรรคสาม, 91

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก, 317 วรรคสาม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปี รวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 4 ปี ฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารรวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปีรวมทุกกระทงจำคุก 18 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุก 9 ปี

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องทั้งข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี และข้อหาพรากผู้เยาว์

โจทก์ฎีกา เฉพาะข้อหาพรากผู้เยาว์

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ก. ผู้เสียหายอายุ 14 ปีเศษ พักอาศัยอยู่กับยายที่บ้านเลขที่ 170หมู่ที่ 6 ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 13เมษายน 2542 เวลาประมาณ 19 นาฬิกา ผู้เสียหายไปดูภาพยนต์ที่งานวัดราษฎร์นิยมจนเวลา 1 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น พบกับจำเลยแล้วพากันไปเดินเล่นใต้ถุนบ้านพี่ชายของจำเลย จำเลยบอกให้ผู้เสียหายช่วยทำความสะอาดห้องนอน เมื่อผู้เสียหายเข้าไปภายในห้องนอน จำเลยตามเข้าไปกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอมจนสำเร็จความใคร่ 1 ครั้ง ต่อมาวันที่ 5กรกฎาคม 2542 เวลาประมาณ 21 นาฬิกา ผู้เสียหายเดินทางไปพบจำเลยที่บ้านเพื่อสอบถามว่าเหตุใดจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วไม่รับผิดชอบจำเลยดึงแขนผู้เสียหายเข้าไปในห้องนอน แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอมจนสำเร็จความใคร่อีก 1 ครั้ง หลังเกิดเหตุบิดามารดาของผู้เสียหายทราบเรื่องจึงพาผู้เสียหายไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกัน สำหรับข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 โดยโจทก์ไม่ได้ฎีกาคงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารหรือไม่ เห็นว่า ขณะเกิดเหตุแม้ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่กับยาย แต่เมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาซึ่งสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายพฤติการณ์ของจำเลยที่ให้ผู้เสียหายไปทำความสะอาดห้องนอนของจำเลยแล้วตามไปกระทำชำเราผู้เสียหายในห้องนอนของตนในครั้งแรกก็ดี และเมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยที่บ้านเพื่อสอบถามว่าเหตุใดจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วจึงไม่รับผิดชอบ จำเลยกลับกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นครั้งที่สองก็ดี ล้วนเป็นการกระทำอันล่วงล้ำต่ออำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหายทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา อย่างไรก็ดีการที่จำเลยยังมิได้มีภริยา จึงอยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันสามีภริยาได้และได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายที่ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยด้วยว่า หลังจากเกิดเหตุคดีนี้แล้ว ผู้เสียหายประสงค์ที่จะขออนุญาตทำการสมรสกับจำเลย แสดงว่าผู้เสียหายและจำเลยต่างก็รักใคร่ชอบพอกัน ทั้งต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยก็ได้จดทะเบียนสมรสโดยได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยได้ว่าประสงค์ที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยา พฤติการณ์ของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารแต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคแรก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน"

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคแรก การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา รวมสองกระทงจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวม 2 ปี 12 เดือน โทษที่จำเลยได้รับแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 2 ปี จำเลยเป็นนักศึกษาและเป็นญาติของผู้เสียหาย ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่จดทะเบียนสมรสกับผู้เสียหาย ทั้งได้เยียวยาความเสียหายให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายแล้ว จึงถือเป็นเหตุอื่นควรปรานี ให้รอการลงโทษจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4

( วิชา มหาคุณ - วิชัย วิวิตเสวี - สุภิญโญ ชยารักษ์ )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2545

 

 

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-07-19 12:58:10


ความคิดเห็นที่ 4 (1964669)

การที่จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมี เจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลย ขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม

 

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277, 317, 91

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก และมาตรา 317 วรรคสามเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 19 ปี 3 วัน ลดมาตราส่วนโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 กระทงละหนึ่งในสาม ฐานกระทำชำเรา จำคุก 3 ปี 4 เดือน ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจาร จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 7 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 3 ปี 8 เดือน

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 ส่วนโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ว่าตามสูติบัตรเอกสารหมาย จ.1 เด็กหญิงนิตยา พรมดีเกิดวันที่ 9 มกราคม 2526 อายุ 13 ปี 8 เดือน และรับว่ามีจิตใจรักจำเลย เมื่อจำเลยชวนไปอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาจึงตกลงยินยอมและเอาเสื้อผ้าไปอยู่ด้วยกัน นายจันทร์เพ็ญบิดาของเด็กหญิงนิตยาไม่ประสงค์ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญากับจำเลย ต่อมาในระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกา ศาลจังหวัดมุกดาหาร มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและเด็กหญิงนิตยา พรมดี สมรสกันและมีบุตรชาย 1 คน บิดามารดาของเด็กหญิงนิตยายินยอมให้ทำการสมรส ปรากฏตามคำสั่งศาลจังหวัดมุกดาหาร ลงวันที่4 ธันวาคม 2541 และใบสำคัญการสมรสลงวันที่ 8 ธันวาคม 2541คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลชั้นต้นลงโทษทุกกรรม ซึ่งประมวลกฎหมายอาญามีบทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับเพศ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำเลยตามมาตรา 277 วรรคแรกนั้น มาตรา 277 วรรคท้าย บัญญัติว่า "ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรก ถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและหญิงนั้นสมรสกันผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำความผิดนั้นไป" ที่โจทก์ฟ้องอ้างมาตราในกฎหมายขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 277 นั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยชี้ขาดพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 277 วรรคแรก จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามที่มาตรา 277 วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 บัญญัติว่า"ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดก็ดี การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป"จำเลยแก้ฎีกาว่า มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษในมาตรา 277 วรรคแรก ศาลฎีกาจึงต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามมาตรา 277 วรรคแรก

คดีมีปัญหาวินิจฉัยความผิดต่อเสรีภาพและชื่อเสียง ซึ่งความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 317 ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยนั้นเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ ตามมาตรา 317 วรรคแรกที่บัญญัติว่า"ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุก"และวรรคสาม บัญญัติว่า "ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจารผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก"ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า พราก หมายความว่า แยกออกจากกัน อนาจารหมายความว่า ความประพฤติชั่ว ความประพฤติน่าอับอาย ความประพฤตินอกรีตนอกแบบทำให้เป็นที่อับอาย เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่นในด้านความดีงาม นั้น เห็นว่า ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียงที่จะวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำของจำเลยว่า จำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ กฎหมายให้ศาลใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง และบัญญัติว่าอย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้นความมุ่งหมายของมาตรา 317 เพื่อเอาโทษแก่ผู้ที่พรากเด็กแม้เด็กเต็มใจไปด้วย การพรากเด็กไปเสียจากบิดามารดาไปตามความในมาตรานี้มิได้จำกัดไว้ว่าพรากไปโดยวิธีการอย่างใดถ้าเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีแล้วย่อมเป็นความผิดแม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต มีความรู้สึกผิดชอบเกินกว่าปกติก็ตาม การพรากก็มิได้จำกัดว่าพรากไปเพื่อประสงค์ใดหรือประโยชน์อย่างใด เพียงแต่มีเจตนาพรากเด็กไปเสียจากบิดามารดาก็เป็นความผิดแล้วกรณีของจำเลยจึงเป็นการพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ถ้าจำเลยพรากเด็กไปโดยมีเหตุอันสมควรแล้วก็ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ กรณีจะถือว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่นั้นข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้ว่า ผู้เสียหายกำลังศึกษาเล่าเรียนยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาขณะที่บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์และมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรอันเป็นสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การกระทำของจำเลยจึงปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรกแต่ข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาฟังได้ว่าจำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้สมรสและมีบุตรด้วยกันการกระทำของจำเลยขาดเจตนากระทำเพื่อการอนาจาร จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 นั้นไม่ถูกต้อง

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคแรก จำเลยอายุกว่าสิบเจ็ดปี แต่ยังไม่เกินยี่สิบปี เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 จำคุก 2 ปี จำเลยเข้ามอบตัวและรับสารภาพตั้งแต่ชั้นสอบสวน ตลอดจนชั้นพิจารณาคดีของศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนเมื่อคำนึงถึงอายุ สติปัญญา ประกอบกับจำเลยถูกคุมขังมาบ้างแล้ว ภาวะแห่งจิตที่มีบุตร 1 คน อันควรปรานีสมควรรอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก

( ธีระจิต ไชยาคำ - บัญชา สหเกียรติมนตรี - สุรพล เจียมจูไร )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542

 

 

 

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-07-19 13:06:14


ความคิดเห็นที่ 5 (1964670)

รีบให้ไวเลยครับพี่น้อง ง้อฝ่ายหญิงเข้าไว้ ไม่เช่นนั้น คุกๆๆ ครับพี่น้อง

แต่ก็มาทางแก้ถ้าหากว่าคุณต้องถูกดำเนินคดี คดีต้องให้ศาลอนุญาตให้เด็กสมรสกับคุณ

ตอนนั้นยิ่งยุ่งยากมาก ถ้าไม่อยากให้มันยากก็ ง้อๆๆ สถานเดียว ครับพี่น้อง

ผู้แสดงความคิดเห็น รอยเปลื้อน วันที่ตอบ 2009-07-19 13:09:44


ความคิดเห็นที่ 6 (1968545)

การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี แม้เด็กจะยินยอม ถือว่าเป็นการกระทำอันล่วงล้ำต่ออำนาจปกครองของบิดามารดาเป็นการพรากผู้เยาว์ ตาม มาตรา 317 วรรคแรก

 

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือจำเลยได้พรากเด็กหญิง ก. ผู้เสียหายซึ่งมีอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากนางบังอร เจริญชัย ผู้เป็นมารดา (ที่ถูกนางบังอรและนายทวีศักดิ์ เจริญชัยผู้เป็นบิดามารดา) เพื่อการอนาจาร จากนั้นจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งมิใช่ภรรยาของตน จำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากนางบังอรผู้เป็นมารดาเพื่อการอนาจาร จากนั้นจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอีกครั้งหนึ่ง โดยในการกระทำชำเราทั้งสองครั้ง จำเลยได้ผลักผู้เสียหายให้นอนลงแล้วขึ้นคร่อมทับตัวผู้เสียหายไว้ จนผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้จากนั้นจำเลยถอดเสื้อผ้าของตนเองและของผู้เสียหายออกแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ เหตุเกิดที่ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิจังหวัดสกลนคร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277,317 วรรคสาม, 91

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก, 317 วรรคสาม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปี รวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 4 ปี ฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารรวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปีรวมทุกกระทงจำคุก 18 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุก 9 ปี

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องทั้งข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี และข้อหาพรากผู้เยาว์

โจทก์ฎีกา เฉพาะข้อหาพรากผู้เยาว์

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ก. ผู้เสียหายอายุ 14 ปีเศษ พักอาศัยอยู่กับยายที่บ้านเลขที่ 170หมู่ที่ 6 ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 13เมษายน 2542 เวลาประมาณ 19 นาฬิกา ผู้เสียหายไปดูภาพยนต์ที่งานวัดราษฎร์นิยมจนเวลา 1 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น พบกับจำเลยแล้วพากันไปเดินเล่นใต้ถุนบ้านพี่ชายของจำเลย จำเลยบอกให้ผู้เสียหายช่วยทำความสะอาดห้องนอน เมื่อผู้เสียหายเข้าไปภายในห้องนอน จำเลยตามเข้าไปกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอมจนสำเร็จความใคร่ 1 ครั้ง ต่อมาวันที่ 5กรกฎาคม 2542 เวลาประมาณ 21 นาฬิกา ผู้เสียหายเดินทางไปพบจำเลยที่บ้านเพื่อสอบถามว่าเหตุใดจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วไม่รับผิดชอบจำเลยดึงแขนผู้เสียหายเข้าไปในห้องนอน แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอมจนสำเร็จความใคร่อีก 1 ครั้ง หลังเกิดเหตุบิดามารดาของผู้เสียหายทราบเรื่องจึงพาผู้เสียหายไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกัน สำหรับข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 โดยโจทก์ไม่ได้ฎีกาคงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารหรือไม่ เห็นว่า ขณะเกิดเหตุแม้ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่กับยาย แต่เมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาซึ่งสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายพฤติการณ์ของจำเลยที่ให้ผู้เสียหายไปทำความสะอาดห้องนอนของจำเลยแล้วตามไปกระทำชำเราผู้เสียหายในห้องนอนของตนในครั้งแรกก็ดี และเมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยที่บ้านเพื่อสอบถามว่าเหตุใดจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วจึงไม่รับผิดชอบ จำเลยกลับกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นครั้งที่สองก็ดี ล้วนเป็นการกระทำอันล่วงล้ำต่ออำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหายทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา อย่างไรก็ดีการที่จำเลยยังมิได้มีภริยา จึงอยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันสามีภริยาได้และได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายที่ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยด้วยว่า หลังจากเกิดเหตุคดีนี้แล้ว ผู้เสียหายประสงค์ที่จะขออนุญาตทำการสมรสกับจำเลย แสดงว่าผู้เสียหายและจำเลยต่างก็รักใคร่ชอบพอกัน ทั้งต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยก็ได้จดทะเบียนสมรสโดยได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยได้ว่าประสงค์ที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยา พฤติการณ์ของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารแต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคแรก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน"

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคแรก การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา รวมสองกระทงจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวม 2 ปี 12 เดือน โทษที่จำเลยได้รับแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 2 ปี จำเลยเป็นนักศึกษาและเป็นญาติของผู้เสียหาย ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่จดทะเบียนสมรสกับผู้เสียหาย ทั้งได้เยียวยาความเสียหายให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายแล้ว จึงถือเป็นเหตุอื่นควรปรานี ให้รอการลงโทษจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4

( วิชา มหาคุณ - วิชัย วิวิตเสวี - สุภิญโญ ชยารักษ์ )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2545

 

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-07-27 16:57:41



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล