ReadyPlanet.com


ขอคำชี้แนะให้เข้าใจครับ


การชี้สองสถาน วันนัดพร้อม ยื่นคำให้การ สืบพยานโจทก์ สืบพยานจำเลย ผมยังสับสนในเรื่องของขั้นตอนครับว่า อย่างนี้มาก่อนหลัง ช่วยชี้แนะให้เข้าใจด้วยครับ ขอบคุณครับ


ผู้ตั้งกระทู้ นุภาพ :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-11 18:38:07


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1961510)

แบ่งเป็นสองอยางน่ะครับว่าเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา

คดีอาญา  ก็จะไม่มีการชี้สองสถาน แต่ศาลจะนัดพร้อมก่อนเพื่อสอบคำให้การจำเลยว่าจะให้การอย่างไร เมื่อนัดพร้อมแล้ว ศาลจึงจะกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ก่อน แล้วก็กำหนดนัดสืบพยานจำเลย ขั้นตอนการกำหนดนัดก็นัดในวันเดียวกันนั้นแหละ แต่นัดขึ้นศาลคนละวัน

คดีแพ่ง  ก็แบ่งเป็นสองอย่างอีกนั้นแหละอย่าเพิ่งงง

** ถ้าเป็นคดีที่ไม่ข้อยุ่งยาก ทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท เขตอำนาจก็จะอยู่ที่ศาลแขวงก็ไม่ต้องมีการนัดชี้สองสถาน ศาลก็จะกำหนดนัดพร้อมและนัดสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกัน หากจำเลยไม่มาศาลก็พิจารณาฝ่ายเดียว (ที่มีแต่ฝ่ายโจทก์) ได้เลย ไม่ต้องนัดสืบพยานจำเลยอีก

***ถ้าเป็นคดีอื่นเช่นคดีไม่ทุนทรัพย์ หรือมีทุนทรัพย์เกิน 300,000 บาท เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้วศาลก็จะกำหนดนัดพร้อมก่อน และเมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้วต้องยื่นคำให้การภายในกำหนด 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับ เมื่อถึงกำหนดนัดโดยจำเลยได้ยื่นคำให้การแล้ว ศาลอาจกำหนดวันนัดชี้สองสถานหรือกำหนดนัดวันสืบพยานโจทก์และจำเลยไปเลยก็ได้  จะงงไหมละเนี่ยพี่น้อง ??????

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณปู่ยังหนุ่ม วันที่ตอบ 2009-07-12 12:17:31


ความคิดเห็นที่ 2 (1961593)

- การชี้สองสถานเป็นกระบวนพิจารณาสำหรับคดีแพ่งสามัญ เป็นขั้นตอนที่ศาลจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีจากคำฟ้องและคำให้การที่คู่ความยื่นต่อศาล และอาจสอบถามคู่ความ ประเด็นตามคำฟ้องใด จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ถือเป็นยุติ ประเด็นข้อพิพาทคงเหลือเฉพาะในข้อที่จำเลยปฏิเสธ เมื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้ว ศาลจะกำหนดหน้าที่นำสืบในแต่ละประเด็น โดยหลัก ป.วิ.พ. มาตรา ๘๔ คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใดเพื่อสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตน ย่อมมีหน้าที่นำสืบในประเด็นข้อนั้น หรือมีข้อกฎหมายสันนิษฐานเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายนั้นมีหน้าที่พิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานนั้นแล้ว หน้าที่นำสืบอาจตกแก่ฝ่ายโจทก์หรือจำเลยก็ได้ สรุปการชี้สองสถานคือการที่ศาล ๑ กำหนดประเด็นข้อพิพาท ๒ กำหนดหน้าที่นำสืบ

คำฟ้องต้องมีข้ออ้าง คำให้การมีข้อเถียง หากข้อที่อ้างว่าจำเลยทำผิดมีหลายข้อแต่ละข้อมีข้อเท็จจริงยุ่งยากและยาว และในคำให้การจำเลยก็เถียง ศาลก็ต้องชี้สถานแรกก่อนว่าคดีมีประเด็นอย่างไรและประเด็นพิพาทมีอย่างไร
การชี้สถานที่สอง ศาลต้องชี้ว่าให้ฝ่ายใดมีหน้าที่นำสืบ(ภาระพิสูจน์ในแต่ละประเด็นตกอยู่แก่ฝ่ายใด) คดีที่จำเลยไม่สู้(ฝ่ายเดียว) หรือคดีง่ายๆ ที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องชี้สองสถาน

วันนัดชี้สองสถาน คือ วันที่จะกำหนดประเด็นข้อพิพาท ที่จะต้องนำสืบพยาน โดยศาลจะต้องพิจารณาจากคำให้การและคำฟ้องของคู่ความ โดยต้องดูว่ามีประเด็นพิพาทเกิดขึ้นคือคู่ความไม่ยอมกัน หรือเป็นประเด็นที่คู่ความไม่รับกัน หากประเด็นใดรับกันหรือไม่สู้กันก็ไม่ต้องนำมาสืบพยาน คดีที่จะมีการชี้สองสถานจะเป็นคดีแพ่งครับ คคีอาญาไม่ต้องมี แต่แพ่งก็ไม่ทั้งหมดครับที่จะมีวันชี้สองสถาน

 

 

วันนัดพร้อม เป็นวันที่ศาลนัดคู่ความเพื่อมาศาลพร้อมกันทั้งสองฝ่ายหรือกว่านั้นอาจเป็นการนัดมาเพื่ออะไรก็ได้แล้วแต่กรณี อย่างเช่น คู่ความขอเจรจากันโดยขอเวลาคุยกัน ขอเลื่อนคดีไป ถ้าตกลงกันได้ก็จะมาทำยอมกัน อย่างนี้ศาลอาจให้เลื่อนคดีไปแล้วนัดพร้อมให้คู่ความมาแถลงว่าการเจรจาเป็นอย่างไรบ้าง

หรืออย่างกรณีมีปัญหาว่าคดีเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ก็จะมีการส่งสำนวนไปให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แล้วศาลก็จะเลื่อนคดีไปนัดพร้อมเพื่อฟังผลคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ อย่างนี้เป็นต้น



วันนัดชี้สองสถาน ก็เป็นวันนัดเพื่อศาลจะได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี และกำหนดหน้าที่นำสืบกันแต่สำหรับวันนัดพร้อม เป็นกรณีที่มีเหตุการณ์อยางใดอย่างหนึ่งขึ้นในระหว่างพิจารณาคดีของศาลแล้วยังไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆต่อไปได้ อย่างเช่นระหว่างพิจารณาสืบพยานโจทก์ จำเลยเกิดตายขึ้นมา อย่างนี้เราจะสืบพยานต่อไปไม่ได้ ต้องให้มีการเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะก่อน โจทก์จะต้องเขอลื่อนคดีไปเพื่อสืบหาทายาทของจำเลยเพื่อจะขอให้เรียกเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ อย่างนี้ศาลก็จะเลือ่นคดีไปนัดพร้อมในนัดหน้าเพื่อสอบถามโจทก์เกี่ยวกับทายาทของจำเลยที่จะเข้ามาแทนที่จำเลยผู้มรณะและยังมีอีกหลายสาเหตุมากมายเลย ที่ศาลสามารถที่จะนัดพร้อมคู่ความได้ เช่น นัดวันกันผิดพลาดปรากฏว่าเป็นวันหยุด ศาลก็ใช้อำนาจนัดพร้อมให้คู่ความทั้งสองฝ่ายมาศาลเพื่อกำหนดวันนัดใหม่ก็ได้

วัน "นัดพร้อม" เป็นคำพูดที่ทนายและเจ้าหน้าที่ศาลพูดกันจนติดปาก ซึ่งถ้าเปิดประมวลกฎหมายหา จะไม่พบคำว่า "นัดพร้อม" ในตัวบทเลย แต่สิ่งที่กระทำในวันนัดพร้อมนั้น จะแยกเป็น

ในคดีอาญา (โดยปกติซึ่งทำกันทุกศาล อาจยกเว้นบางศาลขึ้นอยู่กับนโยบายของหัวหน้าศาล) คือ วันนัดตรวจพยานหลักฐาน กำหนดประเด็นและนัดวันสืบพยาน ตาม มาตรา 172 , 173 ,173/1 (ในกรณี 173/1 อาจทำในวันนัดพร้อมก็ได้ หรือจะนัดต่างหากออกไปอีกก็ได้)

ส่วนในคดีแพ่ง
คดีมโนสาเร่ หรือคดีผู้บริโภค คือ มาตรา 193 เป็นวันนัดไกล่เกลี่ย ยื่นคำให้การ(อาจยื่นก่อนก็ได้) และกำหนดวันสืบพยาน (คดีผู้บริโภค สืบพยานวันนี้เลย)
คดีสามัญ คือ มาตรา 183 เป็นวันชี้สองสถาน และกำหนดวันสืบพยาน มาตรา 184

ยื่นคำให้การ เป็นไปตาม มาตรา 177 (ปรมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง)

มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลย ทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น


จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่อง อื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก


ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไป หรือสั่ง ไม่รับตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18


บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียก เข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตาม มาตรา 57 (3) โดยอนุโลม

 


 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-07-12 18:29:55



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล